วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กองทุนช่วยประหยัดภาษี LTF , RMF

กองทุนช่วยประหยัดภาษี LTF , RMF
 
 
Image
LTF ย่อมาจาก Long Term Equity Fund หรือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว และ RMF ย่อมาจาก Retirement Mutual Fund
หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งเป็นกองทุนแบบพิเศษที่ให้สิทธิผู้ลงทุน นำเงินลงทุนในแต่ละปีมาใช้ลดหย่อนภาษีได้
โดยมีรายละเอียดดังนี้
Image
ข้อ RMFLTF
1
1. RMF คืออะไร?
RMF ย่อมาจากคำว่า Retirement Mutual Fund
หรือเรียกในชื่อไทยว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ”
เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง (กองทุนรวม หมายถึง
การนำเงินของผู้ลงทุนหลายๆ คนมารวมกัน แล้วมีมืออาชีพ
ซึ่งก็คือ บริษัทจัดการ คอยบริหารจัดการเงินตามนโยบาย
การลงทุนที่กำหนดไว้) ซึ่งมีวัตถุประสงค์พิเศษแตกต่างจาก
กองทุนรวมทั่วไป คือ RMF เป็นเครื่องมือหนึ่งในการ
สะสมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ ที่ทางการให้การสนับสนุน
สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจ
LTF คืออะไร?
LTF ย่อมาจากคำว่า Long Term Equity Fund
หรือเรียกในชื่อไทยว่า “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว”
เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น โดยทางการสนับสนุน
ให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน (ซึ่งก็คือ
กองทุนรวม) ที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ฯ
การเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าวจะช่วยให้ตลาดทุนไทย
มีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทุนใน LTF ที่เป็น
บุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็น
แรงจูงใจในการลงทุน
2
RMF เหมาะกับใคร?
เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ยังไม่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อ
วัยเกษียณ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุน
บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มารองรับ หรือมี
สวัสดิการดังกล่าวแต่ยังมีกำลังออมเพิ่มมากกว่านั้นได้อีก
LTF เหมาะกับใคร?
เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการลงทุนในหุ้นระยะยาว
แต่อาจไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น
หรือไม่มีเวลาจึงลงทุนผ่านกองทุนรวม ทั้งนี้ ผู้ลงทุน
จะต้องเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน
และเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการลงทุนได้
3
RMF มีนโยบายการลงทุนเป็นอย่างไร?
มีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลากหลายเหมือนกองทุนรวม
ทั่วไป ตั้งแต่กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ เน้นลงทุนใน
ตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร กองทุนที่มีระดับความเสี่ยง
ปานกลางที่อาจผสมผสานระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้
และตราสารทุน ไปจนถึงกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูง
เน้นลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิ
การซื้อหุ้น (warrant)
LTF มีนโยบายการลงทุนเป็นอย่างไร?
มีนโยบายการลงทุนแบบเดียว คือ ลงทุนในหุ้นที่
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65
ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยอาจเน้นลงทุน
ในหุ้นกลุ่ม SET50 หุ้นตามกลุ่มอุตสาหกรรม หรือลงทุน
ในหุ้นตามที่บริษัทจัดการเห็นควรก็ได้ ขึ้นอยู่กับ
รายละเอียดนโยบายการลงทุนของแต่ละ LTF
4
RMF มีข้อแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วๆ ไปอย่างไร?
1. หากลงทุนครบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
2. ไม่สามารถโอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็น
หลักประกันได้
3. ไม่มีการจ่ายเงินปันผล
LTF มีข้อแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วๆ ไปอย่างไร?
1. หากลงทุนครบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์
ทางภาษี
2. ไม่สามารถโอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็น
หลักประกันได้
3. เป็นกองทุนเปิด ซึ่งกำหนดให้ขายคืนหน่วยลงทุน
ได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง
ข้อ RMFLTF
5
เงื่อนไขการลงทุนของ RMF เป็นอย่างไร?
เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี การลงทุนใน RMF
มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
• ต้องสะสมเงินอย่างต่อเนื่อง โดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง
• ต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ
5,000 บาท (แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า)
• ลงทุนสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือไม่เกิน 500,000 บาท
• ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน
(ยกเว้นปีใดที่ไม่มีเงินไดก็ไม่ต้องลงทุน เนื่องจาก 3%
ของเงินได้ 0 บาท เท่ากับ 0 บาท)
• การขายคืนหน่วยลงทุนทำได้เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่ต่ำกว่า
55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
เงื่อนไขการลงทุนของ LTF เป็นอย่างไร?
เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี การลงทุนใน LTF
มีเงื่อนไขว่า เมื่อผู้ลงทุนซื้อ LTF แล้ว ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับตามปีปฏิทิน โดยเริ่มนับตั้งแต่ปีที่มี
การลงทุนครั้งแรกเป็นปีที่ 1 และนับก้อนเงินที่ลงทุนแยกกันไปในแต่ละปี เช่น ลงทุนในระหว่างปี 2547 จะครบ 5 ปีตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 ลงทุนในระหว่างปี 2548
จะครบ 5 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 เป็นต้นไป)
Image
6
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ RMF มีอะไรบ้าง?
หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนใน RMF จะได้รับ
สิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ
ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน RMF จะได้รับยกเว้นภาษี
เงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน
15% ของเงินได้ในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับ
เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุน
บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้ว
ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
PVD/กบข. + RMF (?15% ของเงินได้) ?ไม่เกิน 500,000 บาท
ทางที่ 2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain)
ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ LTF มีอะไรบ้าง?
หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนใน LTF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ
ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน LTF จะได้รับยกเว้นภาษี
เงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน
15% ของเงินได้ในแต่ละปี ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่
ไม่เกิน 500,000 บาท
ทางที่ 2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain)
ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
7
อย่างไรที่เรียกว่าผิดเงื่อนไขการลงทุนของ RMF?
1. ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน
2. ลงทุนขั้นต่ำไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่ผู้ลงทุนจะอายุครบ 55 ปี
4. ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่จะมีการลงทุนครบ 5 ปี ทั้งนี้ หากเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่งก็ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ยกเว้นกรณีที่ผู้ลงทุนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ทำให้
ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว จะไม่ถือว่าผิดเงื่อนไข
การลงทุน
อย่างไรที่เรียกว่าผิดเงื่อนไขการลงทุนของ LTF?
การขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนด 5 ปีปฏิทิน ถือว่า
ผิดเงื่อนไขการลงทุน ทั้งนี้ กรณีผู้ลงทุนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว
จะไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน
ข้อ RMFLTF
8
จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ลงทุน หากมีการผิดเงื่อนไข
การลงทุน?

ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกต่อไป
และต้องดำเนินการดังนี้
1. กรณีที่ลงทุนไม่ถึง 5 ปี และมีการผิดเงื่อนไข
• ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง
(นับตามปีปฏิทิน)
• เมื่อขายคืนหน่วยลงทุนต้องจ่ายภาษีของกำไรส่วนเกินทุน
(capital gain) โดยนำกำไรที่ได้รับจากการขายคืน
ไปรวมเป็นเงินได้ของปีที่ขายคืนเพื่อเสียภาษีเงินได้
ซึ่งในทางปฏิบัติ เมื่อผู้ลงทุนขายคืน บริษัทหลักทรัพย์จัดการ
กองทุนรวมจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของกำไรส่วนเกินทุน
ไว้ก่อน และเมื่อผู้ลงทุนไปยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ก็จะคำนวณ
อีกครั้งว่าจะต้องจ่ายเงินภาษีเพิ่มอีกหรือไม่ อย่างไร
ลงทุน < 5 ปี และผิดเงื่อนไขการลงทุน
Image
คืนภาษี 5 ปีย้อนหลัง
(ภายใน มี.ค. ของปี
ถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข)
เสียภาษี capital gain
(ภายใน มี.ค. ของปี
ถัดจากปีที่ขายคืน)
Image
หากเกินกำหนดต้อง
เสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม
หากเกินกำหนดต้อง
เสียเงินเพิ่ม
2. กรณีที่ลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และมีการผิดเงื่อนไข
• ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง
(นับตามปีปฏิทิน)
ลงทุน > 5 ปี และผิดเงื่อนไขการลงทุน
Image
คืนภาษี 5 ปีย้อนหลัง
(ภายใน มี.ค. ของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข)
Image
หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม
การชำระภาษีตาม 1. และ 2. ต้องชำระภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข และ/หรือ ขายคืนหน่วยลงทุน
มิฉะนั้นต้องจ่ายเบี้ยปรับเงินเพิ่มอีก
จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ลงทุน หากมีการผิดเงื่อนไข
การลงทุน?

ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกต่อไป
และต้องดำเนินการดังนี้
1. ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไป พร้อมเงินเพิ่มในอัตรา
ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน โดยนับตั้งแต่เดือนมษายนของปีที่
ผู้ลงทุนยื่นขอยกเว้นภาษี จนถึงเดือนที่มีการยื่นคืน
เงินภาษี ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงควรยื่นขอคืนภาษีพร้อม
เงินเพิ่มทันทีที่มีการทำผิดเงื่อนไขการลงทุน
โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงรอบชำระภาษีตามปกติ

2. ต้องจ่ายภาษีของกำไรส่วนเกินทุน (capital gain)
โดยนำกำไรที่ได้รับจากการขายคืนไปรวมเป็นเงินได้
ของปีที่ขายคืนเพื่อเสียภาษีเงินได้ ซึ่งในทางปฏิบัติ
เมื่อผู้ลงทุนขายคืน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม
จะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของกำไรส่วนเกินทุนไว้ก่อน
ลงทุน < 5 ปีและขายคืน=ผิดเงื่อนไขการลงทุน
Image
คืนภาษี+เงินเพิ่ม
(ทันทีที่ผิดเงื่อนไข)
เสียภาษี
capital gain
(ภายใน มี.ค. ของปี
ถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข)
Image
หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม
9
Checklist ก่อนลงทุนใน RMF มีอะไรบ้าง?
ตอบตัวเองว่าต้องการออมเพื่อวัยเกษียณ
มีวินัยในการออมอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และระยะยาว
รู้จักตัวเอง - รู้ว่ามีเป้าหมายการลงทุนเป็น แบบใด สามารถออมเงินได้มากน้อยเพียงไร และยอมรับความเสี่ยง
ในการลงทุนได้ขนาดไหน
รู้จักผลิตภัณฑ์ - รู้ว่านโยบายการลงทุนของ RMF ที่สนใจจะลงทุนเป็นอย่างไร เช่น มีความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง หรือสูง
รู้ผลงานของบริษัท คุณภาพในการให้บริการ รวมทั้งการ
คิดค่าธรรมเนียมจัดการและค่าใช้จ่ายต่างๆ
เลือกลงทุนใน RMF ที่เหมาะสมกับตัวคุณ ทั้งนี้ อย่าลืมใช้หลักการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนที่ว่า “อย่าใส่ไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว” ประกอบการลงทุนด้วย
หากไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไร อาจหาข้อมูลได้จาก CallCenter สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
www.aimc.or.th และ www.thaimutualfund.com
โทร. 0-2264-0900 กด 6 ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
กองทุนรวมได้เป็นอย่างดี

Checklist ก่อนลงทุนใน LTF มีอะไรบ้าง?
ตอบตัวเองว่ายอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้ในระดับสูง
เนื่องจาก LTF จะไปลงทุนในหุ้น มีการจัดสรรเงินมาลงทุนโดยคำนึงถึงหลัก การกระจายความเสี่ยง (asset allocation) มิใช่นำเงินลงทุนทั้งหมดที่มีมาลงทุนใน LTF
พร้อมที่จะลงทุนในระยะยาว ไม่ต่ำกว่า 5 ปี
หากไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไรอาจหาข้อมูลได้จาก
Call Centerสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
www.aimc.or.th และ www.thaimutualfund.com
โทร. 0-2264-0900 กด 6 ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
กองทุนรวมได้เป็นอย่างดี
 
 
 
ที่มา   ::   http://www.tsi-thailand.org/
 
 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น