วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเปิดบัญชีการซื้อขายตราสารทุน

การเปิดบัญชีการซื้อขายตราสารทุน
 
 
ImageImage
เมื่อนักลงทุนตัดสินใจที่จะซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ นักลงทุนควรติดต่อผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ เพื่อดำเนินการเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งโบรกเกอร์แต่ละแห่งอาจจะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเปิดบัญชีให้กับลูกค้าแตกต่างกันไปในรายละเอียดบ้าง แต่ในหลักการใหญ่ๆ แล้วจะมีมาตรฐานเดียวกัน คือจะพิจารณาฐานะการเงินและความน่าเชื่อถือของผู้ขอสมัครเป็นลูกค้า โดยจะดูจากหลักฐานต่างๆ ที่แสดงถึงทรัพย์สิน กระแสรายได้ ตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกค้า ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการอนุมัติวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์
นอกจากนั้นแล้ว โบรกเกอร์จะต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เพื่อให้รู้จักลูกค้าอย่างเพียงพอ
ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ เป้าหมายการลงทุน ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ และ
ระดับการยอมรับความเสี่ยง รวมถึงข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ภาระหนี้สิน ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าทั้งหมดจะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับโบรกเกอร์ในการให้คำแนะนำแก่ลูกค้าได้อย่าง
เหมาะสม

การเปิดบัญชีการซื้อขายหลักทรัพย์ในส่วนแรกเป็นการเปิดบัญชีการซื้อขาย
ตราสารทุน ซึ่งจะครอบคลุมสามารถซื้อขาย หุ้นสามัญ
, วอร์แรนท์, กองทุนรวมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และกองทุน ETF
Image
ImageImage
Image
Image
ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดนักลงทุนสามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ทางโทรศัพท์หรือเดินทางมาส่งคำสั่งซื้อขายด้วยตนเองที่ห้องค้าของโบรกเกอร์ก็ได้เช่นกัน
Image
ส่งคำสั่งซื้อขายออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต
การสั่งซื้อผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ลูกค้าสามารถทำการสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยตนเองจากเว็บไซด์ของโบรกเกอร์ โดยสามารถส่งคำสั่งซื้อขายผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่อง PDA หรือ โทรศัพท์มือถือ
ImageImage
ประเภทบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์
เมื่อนักลงทุนตัดสินใจได้แล้วว่าต้องการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดหรือส่งคำสั่งซื้อขายทางอินเตอร์เน็ต
ขั้นตอนต่อมาคือการเลือกว่าจะเปิดบัญชีประเภทใด ซึ่งบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
บัญชีเงินสด (Cash Account) เป็นบัญชีสำหรับนักลงทุนที่ต้องการซื้อหลักทรัพย์โดยชำระค่าหลักทรัพย์เต็มจำนวนด้วยเงินสด โดยโบรกเกอร์จะพิจารณาอนุมัติวงเงินที่เหมาะสมกับฐานะการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ ทั้งนี้ การซื้อหลักทรัพย์จะต้องชำระค่าซื้อภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ซื้อหลักทรัพย์ ส่วนในกรณีที่ขายหลักทรัพย์นักลงทุนจะได้รับชำระค่าขายหลักทรัพย์จากโบรกเกอร์การขายหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ขายหลักทรัพย์
บัญชีเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ประเภทเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance) หรือบัญชีมาร์จิ้น (Margin Account) เครดิตบาลานซ์เป็นการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ที่พิจารณาสถานะของลูกค้าในลักษณะเป็นแบบพอร์ตโฟลิโอ โดยไม่คำนึงถึงต้นทุนของแต่ละหลักทรัพย์ โดยกำหนดให้ลูกค้านำเงินสดหรือหลักทรัพย์อื่นๆ ที่โบรกเกอร์กำหนด มาวางเป็นประกันการชำระหนี้ โดยมีมูลค่าอย่างน้อยเท่ากับ อัตราหลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) เช่น ลูกค้าวางเงินสดจำนวน 5 แสนบาท สมมติว่าปัจจุบันอัตราหลักประกันขั้นต้นเท่ากับ 50% ดังนั้น ลูกค้าจะมีวงเงินซื้อหรือขายชอร์ต (อำนาจซื้อหรือขายชอร์ต) เท่ากับ 1 ล้านบาท และโบรกเกอร์จะทำการปรับมูลค่าหลักทรัพย์ด้วยราคาปิด (Mark to Market) ทุกสิ้นวันทำการ จะมีผลทำให้อำนาจซื้อหรือขายชอร์ตของลูกค้าผันแปรตามมูลค่าตลาดของหลักทรัพย์ที่วางไว้เป็นหลักประกันด้วย

การลงทุนด้วยบัญชีมาร์จิ้นนี้ นักลงทุนควรศึกษากฎเกณฑ์ของแต่ละโบรกเกอร์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ทั้งในเรื่องของประเภทและมูลค่าของหลักประกัน และอัตรามาร์จิ้น อนึ่ง นักลงทุนสามารถเลือกเปิดได้เพียงประเภทเดียวเท่านั้น นอกจากนี้นักลงทุนไม่สามารถเปิดบัญชีโดยใช้ชื่อร่วมกับบุคคลอื่นได้
ImageImage
เอกสารที่ต้องใช้เพื่อเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์

สำหรับนักลงทุนที่ตัดสินใจที่จะเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ควรติดต่อโบรกเกอร์เพื่อให้จัดส่งเอกสารเปิดบัญชีมาให้ โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนต้องกรอกข้อมูลส่วนบุคคลในแบบฟอร์มคำขอเปิดบัญชี สัญญาแต่งตั้งตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ และบัตรตัวอย่างลายมือชื่อ สำหรับเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการเปิดบัญชีมีดังต่อไปนี้
กรณีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย
  • สำเนาบัตรประชาชน / บัตรข้าราชการ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาบัญชีธนาคารประเภทใดก็ได้ย้อนหลัง 6 เดือน
    เพื่อประกอบการพิจารณาวงเงิน
  • ค่าอากรแสตมป์จำนวน 30 บาท
  • อาจมีเอกสารอื่นๆ ตามเกณฑ์ของแต่ละโบรกเกอร์
  • กรณีบุคคลธรรมดาสัญชาติอื่นๆ
  • สำเนาหนังสือเดินทาง
  • สำเนา Work Permit / Visa
  • สำเนาบัญชีธนาคารประเภทใดก็ได้ย้อนหลัง 3 เดือน
    เพื่อประกอบการพิจารณาวงเงิน
  • ค่าอากรแสตมป์ จำนวน 30 บาท
  • อาจมีเอกสารอื่นๆ ตามเกณฑ์ของแต่ละโบรกเกอร์
  • ขั้นตอนต่อมาหลังจากที่นักลงทุนกรอกเอกสารและเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่การตลาดซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ข (ผู้ขาย) ซึ่งเป็นผู้ให้คำแนะนำการลงทุนจะสอบถามรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติม อาทิ
    1. ฐานะทางการเงิน วงเงินลงทุนที่นักลงทุนต้องการในการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
    2. วัตถุประสงค์ในการลงทุน เป้าหมายในการลงทุน เพื่อใช้ในการประเมินว่าเป็นนักลงทุนประเภทใด ชอบลงทุนระยะสั้นหรือระยะยาว คาดหวังผลตอบแทนในรูปแบบใด พร้อมรับความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
    3. ประเมินความรู้และทัศนคติในการลงทุนว่าอย่างไร
    หลังจากที่นักลงทุนได้รับการอนุมัติให้เปิดบัญชีแล้วจะได้รับแจ้งหมายเลขสมาชิกหรือรหัสประจำตัวลูกค้า ซึ่งจะใช้ในการ
    ส่งคำสั่งซื้อขาย รวมทั้งการชำระเงิน หรือในการติดต่อใดๆ กับโบรกเกอร์ รหัสนี้นักลงทุนควรเก็บไว้เป็นความลับ เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจมีผู้แอบอ้างทำให้เกิดความเสียหายได้ เพียงเท่านี้นักลงทุนก็สามารถลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้แล้ว แต่ก่อนที่นักลงทุนจะเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ไหน ขอแนะนำให้ทำความรู้จักกับบริการและบทบาทของโบรกเกอร์ เพื่อพิจารณาว่านักลงทุนควรจะเลือกซื้อขายกับโบรกเกอร์ใด
    Imageเปิดบัญชีการซื้อขายตราสารหนี้
    สำหรับการเปิดบัญชีการซื้อขายตราสารหนี้จะใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการเปิดบัญชีการซื้อขายตราสารทุน และเอกสารหลักฐานที่ใช้จะเหมือนกันทุกประการ โดยที่นักลงทุนสามารถเปิดบัญชีซื้อขายประเภทเงินสดได้เพียงอย่างเดียว และมีเอกสารที่นักลงทุนต้องเซ็นให้ความยินยอมเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
    • สัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้
    • หนังสือให้ความยินยอมซื้อขายผ่านระบบ BEX (กรณีต้องการซื้อขายผ่านระบบ BEX)
    • แบบฟอร์มการรับเงินต้นและดอกเบี้ยพันธบัตรคืน
    Image
    ImageImage
    สำหรับการเปิดบัญชีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ประเภทฟิวเจอร์สและออปชั่นจะใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเดียวกันกับการเปิดบัญชีการซื้อขายตราสารทุน ที่แตกต่างกันคือสัญญาที่ใช้ในการเปิดบัญชี ซึ่งในการเปิดบัญชีประเภทฟิวเจอร์สและออปชั่น นักลงทุนต้องกรอกเอกสารดังต่อไปนี้
    • แบบฟอร์มคำขอเปิดบัญชี
    • สัญญาแต่งตั้งตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
    • เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขาย
      สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
    • หนังสือให้ความยินยอมในการฝากทรัพย์สิน
    • ใบสมัครขอหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ (ATS)
    • แบบทดสอบความเข้าใจเพื่อเปิดบัญชีซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สและออปชั่น
    • บัตรตัวอย่างลายมือชื่อ
    Image
    การซื้อขายฟิวเจอร์สและออปชั่นจะเป็นบัญชีแบบมาร์จิ้น โดยที่สัญญาฟิวเจอร์สและออปชันนักลงทุนต้องฝากหลักประกันไว้ที่โบรกเกอร์ก่อนส่งคำสั่งซื้อขาย ปัจจุบัคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ใช้เงินสดเป็นหลักประกันได้เท่านั้น ซึ่งเงินสดที่นักลงทุนฝากเข้ามาเป็นหลักประกันนี้ถือเป็นทรัพย์สินของลูกค้าที่นำมาฝากไว้ที่โบรกเกอร์ ดังนั้น โบรกเกอร์จะจ่ายดอกเบี้ยให้แก่นักลงทุนในอัตราที่โบรกเกอร์กำหนด นอกจากนี้ โบรกเกอร์ยังมีการกำหนดระดับหลักประกันที่นักลงทุนควรทราบไว้ 3 ประเภท คือ
    • หลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) เป็นหลักประกันที่ลูกค้าจะต้องมีก่อนการส่งคำสั่งซื้อหรือขาย
    • หลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin) เป็นระดับหลักประกันที่ลูกค้าจะต้องดำรงไว้


    หากหลักประกันลดลงต่ำกว่าระดับหลักประกันรักษาสภาพขั้นต้น ลูกค้าจะต้องนำเงินสดมาวางเพิ่มในทำการถัดไป เพื่อให้หลักประกันกลับไปอยู่ไม่น้อยกว่าระดับของหลักประกันขั้นต้น (Initial Margin)
    ImageImage
    หลักประกันปิดฐานะระหว่างวัน (
    Intraday Force Close Margin)
    เป็นระดับหลักประกันที่ลูกค้าจะต้องมีภายในเวลาทำการ หากหลักประกันลดลงต่ำกว่าระดับปิดฐานะระหว่างวัน บัญชีของนักลงทุนอาจจะถูกโบรกเกอร์บังคับขาย เพื่อให้หลักประกันกลับไปอยู่ไม่น้อยกว่าระดับของหลักประกันรักษาสภาพ (Intraday Force Close Margin)นอกจากนี้ ทุกๆ สิ้นวันทำการโบรกเกอร์จะคำนวณส่วนต่างของราคาอ้างอิงรายวันของสัญญาฟิวเจอร์สและออปชั่นในสิ้นวันนั้นๆ เทียบกับราคาราคาอ้างอิงรายวันของสัญญาฟิวเจอร์สและออปชันในวันทำการก่อนหน้า โดยหากในวันนั้นเกิดผลกำไร โบรกเกอร์จะบวกผลกำไรเข้าในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้า แต่ถ้าหากเกิดผลขาดทุนขึ้น โบรกเกอร์จะหักผลขาดทุนออกจากบัญชีของลูกค้าเช่นกัน ทำให้บัญชีของลูกค้ามีการปรับสถานะให้ตรงตามราคาตลาดทุกสิ้นวันทำการ
    การลงทุนด้วยบัญชีมาร์จิ้นสำหรับสัญญาฟิวเจอร์สและออปชั่นนี้ นักลงทุนควรศึกษาหลักเกณฑ์ของแต่ละโบรกเกอร์อย่างละเอียดถี่ถ้วนทั้งในเรื่องของ เงินสดที่ฝากเป็นประกัน ประเภทของระดับหลักประกัน และหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่โบรกเกอร์กำหนด
     
     
     
     
    ที่มา :: http://www.tsi-thailand.org/
     
     
     
     
     
     
     
     
















    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น