วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กองทุนรวม

กองทุนรวม
 
 
Image
กองทุนรวม (Mutual Fund) คือ โครงการลงทุนที่ระดมเงินทุนจาก
นักลงทุนหลายๆ รายมารวมกันให้เป็นเงินลงทุนก้อนใหญ่ แล้วนำไป
จดทะเบียนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล จากนั้นก็จะนำเงินที่ระดมได้ไปลงทุน
ในหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินประเภทต่างๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ตามนโยบาย
การลงทุนที่ได้ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายแก่นักลงทุนนั้น
ทั้งนี้ นักลงทุนแต่ละรายจะได้รับ “หน่วยลงทุน (Unit Trust)” เพื่อเป็น
หลักฐานยืนยันฐานะความเป็นเจ้าของในเงินที่ตนได้ลงทุนไป โดยมี
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) เป็นผู้จัดตั้งและทำหน้าที่
บริหารกองทุนรวมให้ได้ผลตอบแทน แล้วนำมาเฉลี่ยคืนให้กับนักลงทุน
แต่ละรายตามสัดส่วนที่ลงทุนไว้แต่แรกในกองทุนรวมนั้น
Image
Image
1. หุ้นสามัญ (Common Stocks หรือ Ordinary Shares)
คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ และเมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปันผลในอัตราที่จัดสรรโดย
ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครอง ทั้งนี้ เงินปันผลอาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลกำไรจากการดำเนินงานประจำปีของกิจการ
2. หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stocks)
คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการที่มีการจดบุริมสิทธิ์ไว้อย่างชัดเจน ไม่สามารถยกเลิกได้เมื่อกิจการมีกำไรจาก
การดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ตามที่จดบุริมสิทธิ์ไว้ อาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้
แต่หากกิจการนั้นต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ

3. ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น (Stock Warrants)
ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น (Stock Warrants) คือ ตราสารสิทธิที่กิจการออกให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อให้สิทธิในการซื้อหุ้นออกใหม่ในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการก็ต่อเมื่อได้ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นของกิจการนั้นแล้วเท่านั้น

4. หน่วยลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน คือ ตราสารสิทธิในการเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ มีนโยบายลงทุนเน้นการ
ลงทุนในตราสารทุน ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการที่กองทุนรวมนั้นลงทุนไว้ตามสิทธิที่เฉลี่ยระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุน
ทั้งหมดในกองทุนรวมนั้นนั่นเอง

5. ตราสารแสดงสิทธิในอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น (Stock Options & Futures)
ตราสารแสดงสิทธิในอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น (Stock Options & Futures) คือ สัญญาที่ผู้ลงทุนสองฝ่ายตกลงกันเพื่อ
ซื้อหรือขายหุ้นในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด
Image
Image
ตราสารหนี้ (Debt Instruments) หมายถึง ตราสารแสดงความเป็นหนี้ หรือ สัญญาเงินกู้ที่บริษัทออกให้แก่ ผู้ลงทุนทั่วไป โดยสัญญาว่าจะใช้เงินตามกำหนด และจ่ายดอกเบี้ยตามกำหนด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นตราสารสิทธิที่แสดง
ความเป็น "เจ้าหนี้ของกิจการ" โดยทั่วไปแล้วการลงทุนในตราสารหนี้จะมี
ความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารทุน ประเภทของตราสารหนี้ ได้แก่
1. ตราสารหนี้ภาครัฐ ได้แก่
  • พันธบัตรรัฐบาล (government bond)
  • พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (state-owned enterprise bond)
  • พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
  • พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
  • ตั๋วเงินคลัง (treasury bill)
  • ตราสารหนี้ภาครัฐ มีความเสี่ยงต่ำสุดในด้านความสามารถในการชำระหนี้








แต่ตราสารหนี้ภาครัฐก็จะมีอัตราผลตอบแทนไม่สูงนัก ส่วนใหญ่จะมีอายุการลงทุนยาว
เพื่อมิให้เป็นภาระของรัฐในด้านการบริหารและการจัดการหนี้ ยกเว้นแต่กรณีของตั๋วเงินคลัง
ซึ่งรัฐบาลออกเพื่อใช้ในการกู้ยืมเงินระยะสั้น (ไม่เกิน 180 วัน) หรือเพื่อดูดซับเงินสภาพคล่องส่วนเกินในตลาดเงิน เพื่อรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น

2. ตราสารหนี้ภาคเอกชน ได้แก่
  • หุ้นกู้ (Debenture) มีลักษณะและคุณสมบัติตามสถานะของการเป็นเจ้าหนี้
  • หุ้นกู้มีประกัน (secured debt) มีการค้ำประกันหนี้โดยบุคคลที่สาม (ส่วนใหญ่ได้แก่ บริษัทแม่หรือ สถาบันการเงิน) หรือมีการวาง
    หลักทรัพย์ไว้เป็นประกันการชำระหนี้ ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็น เจ้าหนี้เหนือกว่าเจ้าหนี้รายอื่น
  • หุ้นกู้ไม่มีประกัน (non-secured debt) ปลอดการค้ำประกัน และปลอดหลักทรัพย์ที่วางไว้เป็นประกันการชำระหนี้ ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ด้อยกว่าหุ้นกู้มีประกัน
  • หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (senior debt) ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็น
    เจ้าหนี้เท่าเทียมกับเจ้าหนี้รายอื่นแต่ด้อยกว่าหุ้นกู้มีประกัน
  • หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (subordinated debt) ผู้ลงทุนทรงสิทธิของ
    ความเป็นเจ้าหนี้ป็นรองเจ้าหนี้รายอื่นที่ไม่ด้อยสิทธิ นั่นคือ
    ได้รับชำระหนี้คืนหลังสุด
Image
ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange)
คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่งจ่ายเงิน
ตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่งในวันที่กำหนด
บนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขาย เปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน
(money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกันหรือ
รับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข

ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory note)
คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่ออกโดยบุคคลรายหนึ่งสัญญากับบุคคลอีกรายหนึ่งว่าจะใช้เงินจำนวนที่ระบุบนหน้าตั๋วสัญญาใช้เงิน พร้อมด้วยดอกเบี้ยให้
ในวันที่กำหนด ตั๋วสัญญาใช้เงินโดยส่วนใหญ่จะแลกเปลี่ยนมือไม่ได้
(non-negotiable) และแสดงข้อความไว้บนหน้าตั๋ว แต่ถ้าไม่มีการแสดงไว้
ดังกล่าว และตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็สามารถนำมาซื้อขายในตลาดเงินได้

บัตรเงินฝากแลกเปลี่ยนมือได้ (Negotiable Certificate of Deposit)
คือ ตราสารแสดงการฝากเงินกับธนาคาร สามารถแลกเปลี่ยนมือได้ในตลาดรอง หากพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมี
ความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้ของภาครัฐ แต่ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมีอัตรา
ผลตอบแทนสูงกว่า และมีอายุการลงทุนให้เลือกมาก ทั้งระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว
Image
  • กองทุนรวมไม่รับประกันผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับ (ยกเว้นกรณีของกองทุนรวมมีประกัน)
    ผู้ลงทุนอาจจะได้รับผลตอบแทนหรือไม่ก็ได้ หรืออาจจะขาดทุนจากการขายหน่วยลงทุนก็ได้
  • เมื่อการลงทุนของกองทุนรวมมีกำไร ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล (Dividend) (ในกรณีที่กองทุนรวมนั้นมีนโยบายที่จะจ่ายเงินปันผล) และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
    ต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้น ผู้ลงทุนก็จะได้รับกำไรส่วนเกินมูลค่าหน่วยลงทุน (Capital Gain) เมื่อผู้ลงทุนนั้น
    ขายคืนหน่วยลงทุน
  • ส่วนความเสี่ยงของกองทุนรวมแต่ละประเภทนั้น มีความเสี่ยงในทำนองเดียวกันกับตราสารหรือ
    หลักทรัพย์ที่กองทุนรวมนั้นๆ เน้นลงทุน เช่น กองทุนรวมตราสารทุนก็จะมีความเสี่ยงแบบเดียวกับความเสี่ยงของตราสารทุน กองทุนรวมตราสารหนี้ก็จะมีความสี่ยงแบบเดียวกับตราสารหนี้ เป็นต้น
Image
Image
  • กองทุนรวมมีลักษณะเป็น "นิติบุคคล" แยกต่างหากจากบริษัทจัดการ ผลประโยชน์ต่างๆ ที่
    กองทุนรวมได้รับ จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี เช่น กองทุนรวมลงทุนในตราสารทุนได้รับเงินปันผล และ/หรือ กำไรส่วนเกินทุน ไม่ต้องเสียภาษี กองทุนรวมลงทุนในตราสารหนี้ได้รับดอกเบี้ย ส่วนลดรับ และ/หรือ กำไรส่วนเกินทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษี เช่นกัน เป็นต้น ส่วนผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมนั้น เมื่อได้รับเงินปันผลหรือกำไรส่วนเกินมูลค่าหน่วยลงทุน จะมีภาระภาษีสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ในลักษณะเช่นเดียวกันกับภาระภาษีจากการลงทุนในตราสารทุนดังกล่าวข้างต้นทุกประการเว้นแต่กรณีผู้ลงทุนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและเลือกที่จะนำเงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวมไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีผู้ลงทุนจะไม่สามารถเครดิตภาษีเงินปันผลได้
Image
 
 
 
 
 
 
 
ที่มา   ::   http://www.tsi-thailand.org/
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น