วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิธีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ผ่านทาง www.TNSitrade.com

วิธีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ผ่านทาง www.TNSitrade.com





วิธีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ผ่านทาง www.TNSitrade.com
 
 
 
 
  • จะเริ่มต้นการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ได้อย่างไร?
ท่านจำเป็นจะต้องมี
  • Username - ชื่อที่ใช้ในการเข้าสู่ระบบในTNSitrade.com จะต้องประกอบด้วยอักษรหรือเลข 6-10 ตัว
  • Password - รหัสผ่านเข้าสู่ระบบ
  • PIN No. - รหัสผ่านที่ใช้ในการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้น จะต้องประกอบด้วยตัวเลขทั้งหมด 6 ตัว

 

  • ท่านสามารถเริ่มต้นการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ผ่านทาง www.TNSitrade.com ดังนี้

  • กรณีลูกค้าเดิม (มีบัญชีหลักทรัพย์กับ บล. ธนชาต)
    • ไปที่หน้าแรกของ www.TNSitrade.com
    • ระบุ Username และ password เดิมสำหรับ Login เข้าสู่ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์
    • ไปที่เมนู Futures Trading
    • จากนั้นจะเข้าสู่เว็บเพจส่วนการซื้อขายตราสารอนุพันธ์
     
    • หมายเหตุ:ท่านสามารถใช้ PIN No. เดิม (ที่ใช้ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์) ในการยืนยันการส่งคำสั่งซื้อขาย ตราสารอนุพันธ์
    • กรณีลูกค้าใหม่ (ยังไม่เคยเปิดบัญชีใดๆ กับ บล. ธนชาต)
      • ไปที่หน้าแรกของ www.TNSitrade.com
      • ระบุ Username และ password ที่ได้ทำการลงทะเบียนสมัครไว้
      • ท่านจะพบกับหน้าบังคับให้กำหนด PIN No. (ตัวเลข 6 ตัวเท่านั้น) เพื่อใช้เป็นรหัสสำหรับยืนยันการส่งคำสั่งซื้อขาย
      • จากนั้นจะเข้าสู่เว็บเพจส่วนการซื้อขายตราสารอนุพันธ์
      หมายเหตุ:
      ท่านสามารถกำหนด PIN No. ได้เมื่อทำการ Login เข้าสู่ระบบครั้งแรก หลังจากที่บัญชีได้ทำการ Activate เรียบร้อยแล้ว
     



 

  • จะส่งคำสั่งซื้อขายตราสารอนุพันธ์ได้อย่างไร?
ท่านสามารถส่งคำสั่งซื้อขายตราสารอนุพันธ์ได้ที่โปรแกรม Streaming Pro, Steaming D และ OneClick โดยมีขั้นตอนดังนี้
  1. ส่งคำสั่ง ซื้อ(Buy) หรือ ขาย(Sell)
  2. ระบุ ชื่อย่อตราสารอนุพันธ์ที่ต้องการส่งคำสั่ง สามารถพิมพ์ชื่อย่อของตราสารอนุพันธ์ หรือเลือกจาก Drop-down list
  3. ระบุ จำนวน Contract ของตราสารอนุพันธ์ที่ต้องการส่งคำสั่ง
  4. ระบุ ราคาของตราสารอนุพันธ์ที่ต้องการส่งคำสั่ง
  5. เลือก สถานะ(Position) เปิดสัญญา(Open) หรือ ปิดสัญญา(Close) และท่านยังสามารถกำหนดสถานะเป็นแบบอัตโนมัติ (Auto) ได้ด้วย
  6. เลือก ลักษณะของราคา(Type)
    • Limit : คำสั่งซื้อขายที่ระบุราคาเสนอซื้อหรือขาย
    • Market : คำสั่งซื้อขายที่ไม่ระบุราคาที่ต้องการซื้อหรือขาย แต่ต้องการให้คำสั่งที่ส่งเข้าไปได้รับการจับคู่ ณ ราคาที่ดีที่สุดในขณะนั้น
  7. เลือก ประเภทของคำสั่งซื้อขาย(Validity)
    • FOK (Fill or Kill) : คำสั่งซื้อขายที่กำหนดให้จับคู่การซื้อขายทันทีและหากไม่สามารถจับคู่การซื้อขาย ดังกล่าวได้ทั้งหมดตามจำนวน ให้ยกเลิการเสนอซื้อขายนั้นทันที
    • FAK (Fill and Kill) : คำสั่งซื้อขายที่กำหนดให้จับคู่การซื้อขายทันที และหากไม่สามารถจับคู่การซื้อขาย ได้เลย หรือจับคู่บางส่วน และมีจำนวนเสนอซื้อขายเหลืออยู่บางส่วน ให้ยกเลิกการ เสนอซื้อขายที่ยังจับคู่ไม่ได้นั้นทันที
    • Day : คำสั่งซื้อขายที่มีผลในระบบซื้อขายภายในวันที่ส่งคำสั่ง
  8. ระบุ ปริมาณสัญญา(P/B Vol.) ที่ต้องการทยอยส่งจนกระทั่งเท่ากับ จำนวน Vol. ที่กำหนด
  9. นอกจากนี้ท่านสามารถส่ง Stop Order (คำสั่งซื้อขายที่ให้การเสนอซื้อขาย ณ ราคาตลาดมีผลในระบบซื้อขาย เมื่อราคาตลาดขณะนั้นเคลื่อนไหวมาถึงเงื่อนไขราคาที่กำหนด) โดยการทำเครื่องหมาย / ที่หน้าข้อความ Stop Order โปรแกรมจะแสดงหน้าจอเพิ่มเติม เพื่อให้ท่านป้อนรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขของการส่งคำสั่ง ตามหน้าจอดังนี้
    • Symbol : ตราสารอนุพันธ์ที่จะใช้เป็นเงื่อนไข
    • Condition : รูปแบบของเงื่อนไข ประกอบไปด้วย
      Bid>=ราคาเสนอซื้อมากกว่า หรือเท่ากับ
      Bid>=ราคาเสนอซื้อน้อยกว่า หรือเท่ากับ
      Ask>=ราคาเสนอขายมากกว่า หรือเท่ากับ
      Ask>=ราคาเสนอขายน้อยก่วา หรือเท่ากับ
      Last>=ราคาล่าสุดมากกว่า หรือเท่ากับ
      Last>=ราคาล่าสุดน้อยกว่า หรือเท่ากับ
    • Price : ราคาของตราสารอนุพันธ์ที่ใช้เป็นเงื่อนไข
  10. เมื่อป้อนคำสั่งเรียบร้อยแล้ว ให้ท่านระบุรหัสซื้อขาย (PIN No.) จากนั้นกดปุ่ม Submit เพื่อส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาดตราสารอนุพันธ์


 


  • หากต้องการยกเลิกคำสั่งซื้อขายตราสารอนุพันธ์ จะทำได้อย่างไร?
ท่านสามารถยกเลิกคำสั่งของท่านได้ตลอดเวลา ตราบใดที่คำสั่งนั้นๆ ยังไม่ได้รับการจับคู่(Matched) ดังต่อไปนี้
  • ทำเครื่องหมาย / ที่ช่องว่างด้านหน้าคำสั่งที่ท่านต้องการยกเลิก
  • กด "Cancel"
  • ใส่รหัส (PIN No.)

 


  • เมื่อเปิดบัญชีซื้อขายอนุพันธ์แล้ว ต้องนำเงินประกันมาวางทันทีหรือไม่?
ไม่ต้อง แต่จะต้องนำเงินประกัน (Initial Margin) มาวางก่อนที่จะส่งคำสั่งซื้อขาย
 


  • ส่งคำสั่งซื้อตราสารอนุพันธ์ที่มีมูลค่าสูงกว่า จำนวนเงินที่สามารถใช้ได้จริง(Excess Equity) ได้หรือไม่?
ระบบจะ Reject คำสั่งของท่านโดยอัตโนมัติ เนื่องจากจำนวนเงินที่สามารถใช้ได้จริง(Excess Equity)ไม่พอ โดยจะปรากฎข้อความว่า Not enough excess equity : Excess Equity[xxxxxxx]
 


  • ต้องการดูรายการซื้อขายย้อนหลังได้ที่ไหน?
คลิกเลือกเมนู “Online Trading” จากนั้นเลือก “Transaction History” ซึ่งสามารถดูรายการซื้อขายย้อนหลังสูงสุด 3 เดือน โดยจะนำขึ้นแสดงบนเว็บไซต์ในวันทำการถัดมาหลังจากวันที่มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์(T+1)  
 


  • ต้องการทราบกำไร/ขาดทุนจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ สามารถตรวจสอบได้ที่ไหน?
ท่านสามารถตรวจสอบยอดกำไร/ขาดทุน ได้จากเมนู Online Trading แล้วเลือก Trading Portfolio จากนั้นเลือก Account Balance หรือเข้าสู่โปรแกรม Real time แล้วเลือก Portfolio ก็จะแสดงยอดกำไร/ขาดทุนของท่าน

หมายเหตุ : การซื้อขายตราสารอนุพันธ์ มีการคำนวนกำไรและขาดทุนในทุกสิ้นวัน เพื่อให้คู่สัญญาสามารถตรวจสอบเงินประกันของตนว่าต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้หรือไม่ หากต่ำกว่าต้องมีการเรียกเก็บเพิ่ม (Call margin) และในทางกลับกันหากมีผลกำไรเกิดขึ้นกำไรจะนำไปรวมกับเงินประกันขั้นต้นที่วางไว้ ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า Mark to Market
 


  • หากบัญชีซื้อขายตราสารอนุพันธ์ของท่านถูกเรียกให้วางหลักประกันเพิ่ม (Call margin) ท่านต้องดำเนินการอย่างไร?
ท่านต้องดำเนินการฝากเงินเป็นหลักประกันเพิ่มเข้ามา โดยจะต้องวางให้ทันภายในวันที่ T+1 ก่อนตลาดอนุพันธ์ปิดทำการ1 ชั่วโมง (หรือภายใน 15.55 น. ของวันที่ T+1) อย่างไรก็ตาม หากผู้ลงทุนยังไม่นำเงินมาวางภายในเวลาที่กำหนด ก็จะไม่สามารถส่งคำสั่งเพื่อสร้างสถานะสัญญาใหม่เพิ่มเติมได้ นอกจากจะทำการส่งคำสั่งเพื่อปิดสถานะ สัญญาที่มีอยู่เดิม
แต่ถ้าหากผู้ลงทุนไม่สามารถนำเงินมาวางเพิ่มเติมได้ทันตามเวลาที่กำหนด โบรกเกอร์สามารถทำการบังคับปิดสัญญา(Force Close) เท่าที่จำเป็น เพื่อรักษาระดับของจำนวนสถานะสัญญาและจำนวนเงินในบัญชีหลักประกันที่เหลืออยู่ โดยการ Force Close จะเริ่มทำในวันที่ T+2 และจะ Force Close ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากตลาดอนุพันธ์เปิดทำการ (หรือภายในเวลา 10.45 น.ของวันที่ T+2)
 


  • ต้องการทราบอัตราหลักประกัน (Margin Rate) สามารถตรวจสอบได้จากที่ไหน?
  • ท่านสามารถตรวจสอบระดับหลักประกัน (Margin Rate) ได้จากเมนู Trading Portfolio จากนั้นเลือกปุ่ม Margin Rate จะแสดงอัตราหลักประกันโดยแบ่งตามสินค้าอ้างอิง






ที่มา    ::    http://www.thanachartsec.co.th/TNB_ATNSCMS/pre/th/faqs/Default.aspx?cat_id=2&เกี่ยวกับการซื้อขายตราสารอนุพันธ์

 

การซื้อขายหุ้นผ่านมือถือ iPhone และ iPad

การซื้อขายหุ้นผ่านมือถือ iPhone และ iPad






การใช้บริการผ่านเครื่อง iPhone และ iPad

 




 

 
 
 
  • จะใช้งานโปรแกรม Streaming ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
 
  • 1. มีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ประเภท อินเทอร์เน็ตกับ บล.ธนชาต จำกัด
     
  • 2. มีเครื่อง iPhone หรือ iPad

    3. มี Username & Password และ PIN เพื่อทำการ Login ดูข้อมูลหุ้น และส่งคำสั่งซื้อขาย




     
  • ต้องใส่ Username และ Password อะไรเพื่อสำหรับเข้าสู่ระบบ?
 
  • ในการเข้าสู่ระบบดังกล่าวจะใช้ Username และ Password ชุดเดียวกับการเข้าสู่ระบบซื้อขายหุ้นทางอินเทอร์เน็ต 
 
       

  • จะดาวน์โหลดโปรแกรม Streaming ได้จากที่ไหน?
 
  • ท่านสามารถดาวน์โหลดโปรแกรม Streaming ได้จาก App Store หรือดาวน์โหลดผ่านโปรแกรม iTunes

 
 
 

 

 

 

  • เมื่อทำการดาวน์โหลดโปรแกรม Streaming แล้ว ขึ้นข้อความว่า “The application Streaming was not installed on the iPhone (iPhone name) because an unknown error occurred [0xE8008015)” ต้องทำอย่างไร?
 
  • จากปัญหาดังกล่าวเกิดจาก Version ของ Firmware ของเครื่อง iPhone ไม่รองรับ ซึ่งในกรณีนี้ต้องตรวจสอบ Firmware version ของเครื่อง iPhone โดยมีขั้นตอนดังนี้
 
    1. เข้า icon Setting จากหน้าจอ iPhone
    2. เข้า Menu General เลือก About
    3. ดู Firmware Version ซึ่งต้องมากกว่า Version 2.2.1

     


  • หากเปิดโปรแกรม Streaming แล้วไม่พบ List รายชื่อโบรกเกอร์ ต้องทำอย่างไร?
 
  • ต้องตรวจสอบว่าเครื่องสามารถต่ออินเทอร์เน็ตได้หรือไม่ โดยทดลองเปิดโปรแกรม Safari แล้วเข้า http://www.settrade.com
 
  • หากไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ได้ ให้ติดต่อ Operator ที่ท่านใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือตรวจสอบ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกครั้ง


  • หากเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้ แต่ไม่สามารถเข้าโปรแกรม Streaming ได้ ให้ Uninstall โปรแกรม Streaming แล้ว Install Program ใหม่อีกครั้ง


ขั้นตอนการ Uninstall Program Streaming มีดังนี้


  1. จากหน้าจอ iPhone หรือ iPad กดที่ Icon Streaming ค้างไว้จนกระทั่ง Icon สั่น
  2. บน Icon จะแสดงเครื่องหมาย (X)
  3. กดที่ (X) ระบบจะแสดงข้อความ
    Delete "Streaming"
    Delete "Streaming" Will also delete all of its Data
  4. กด Delete เพื่อยืนยันการ Uninstall Program
 

  • หากเปิดโปรแกรม Streaming แล้วมีข้อความแสดงว่า “A new version of Streaming iPhone is available. Please uninstall and download the new version(Version….).” ต้องทำอย่างไร?
 
  • จากปัญหาดังกล่าวแสดงว่ามีการ Upgrade โปรแกรม Streaming ซึ่งต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
    1. ทำการ Uninstall โปรแกรม Streaming ตัวเดิมออกก่อน
    2. หลังจากนั้น ให้ทำการ Download โปรแกรม Streaming version ใหม่จาก App Store

     


ที่มา  ::  http://www.thanachartsec.co.th/