วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เส้นทางมั่งคั่ง

เส้นทางมั่งคั่ง
 
 
 


เชื่อหรือไม่... คำตอบของคนส่วนใหญ่เกือบร้อยทั้งร้อย จะนึกถึงภาพคนที่มี “รายได้สูงๆ” “มีทรัพย์สินเงินทอง
มากมาย” หรือ “คนที่ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย” เป็นลำดับต้นๆ เพราะรายได้และทรัพย์สินเป็นเหมือนสิ่งที่แสดงฐานะ
ทางสังคม สื่อให้เห็นถึงความมั่งคั่งร่ำรวยของบุคคล

จึงไม่ใช่เรื่องแปลก... ที่ทุกวันนี้ เราเห็นผู้คนวิ่งวุ่นอยู่กับการทำงานอย่างหนัก เพื่อหาเงินมาจับจ่ายใช้สอยซื้อข้าวของ
เครื่องใช้ต่างๆ ไว้สร้างความสุขความสะดวกสบายให้ตนเอง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร หากคนๆ นั้นรู้จักกินอยู่อย่างพอดี
ไม่พยายามก่อหนี้ และมีเงินเก็บออมพอประมาณ แต่สำหรับคนที่ชอบกินอยู่เกินฐานะ ใช้จ่ายมากกว่าที่หาได้ ดิ้นรนกู้หนี้ยืมสิน
ผ่อนทุกอย่างในชีวิตเท่าที่จะผ่อนได้ คนเหล่านี้แม้จะมีเฟอร์นิเจอร์รอบกาย แต่หนี้ก็รอบตัว อย่างนี้เราถือว่ายังไม่มั่งคั่ง
เพราะยังดิ้นรนผ่อนเดือนชนเดือนอยู่


“ความมั่งคั่ง” คือ เงินที่เหลืออยู่ หลังจากที่นำทรัพย์สินทั้งหมดของคุณ ลบด้วยหนี้สินทั้งหมดของคุณ
สรุปง่ายๆ เป็นสมการได้ดังนี้

ยิ่งคุณมีทรัพย์สินสุทธิมากเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะนำเงินไปต่อยอดสร้างความมั่งคั่งได้มากขึ้นเท่านั้น

หลายคนมักจะถามเชิงบ่นว่า “เมื่อไหร่จะรวย” หรือไม่ก็ “เมื่อไหร่จะมั่งคั่ง” เอาเป็นว่า... ก่อนจะมั่งคั่ง
เราต้องอยู่รอดให้ได้ก่อน ดูง่ายๆ จาก
“อัตราส่วนความอยู่รอด”

ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำกว่า 1 แสดงว่าเราไม่สามารถอยู่รอดได้ เพราะมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย แต่ถ้าอัตราส่วนนี้มากกว่า 1
แสดงว่าเราสามารถดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้

หากอยู่รอดได้แล้ว วิธีที่จะทำให้รู้ว่าคุณมั่งคั่งและมีอิสรภาพทางการเงินแล้วหรือยัง ดูได้จาก...
ถ้าคุณมีอัตราส่วนความมั่งคั่งมากกว่า 1 ก็พอจะบอกเป็นนัยๆ ได้ว่าแม้คุณจะไม่ทำงาน คุณก็ยังมีรายได้
้จากทรัพย์สินมากพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายได้โดยไม่เดือดร้อน แบบนี้แหละ... ที่เรียกว่า
“อิสรภาพทางการเงิน” ที่ทุกคนใฝ่ฝันหา

โดย “อิสรภาพทางการเงิน” คือ การมีหลักประกันทางการเงินที่มั่นคงเพียงพอที่จะใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบาย
ตามสมควรแก่อัตภาพ โดยไม่ต้องพึ่งพาใครมากจนเกินไป และไม่ต้องหวาดผวากับเรื่องเงินๆ ทองๆ ว่าจะมีไม่พอกับ
การจับจ่ายใช้สอยเพื่อดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ

แต่อย่าลืมว่า... แม้คุณจะหาเงินได้มากแค่ไหน หากใช้หมด ก็หมดทางมั่งคั่ง ดังนั้น นอกจากการทำงานหาเงิน
แล้ว คุณยังต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนชีวิตและแผนการเงินในทุกๆ ด้านด้วย ไม่ว่าจะเป็น
การควบคุมค่าใช้จ่าย
การบริหารหนี้สิน การออมเงินเพื่อเป้าหมายในอนาคต รวมถึงการทำประกันเพื่อคุ้มครองความเสี่ยง การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างคุ้มค่า และการลงทุนเพื่อต่อยอดเงินออมให้งอกเงยขึ้น
ซึ่งเส้นทางที่จะนำพาคุณไปสู่ความมั่งคั่งอย่างที่ฝันไว้ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนง่ายๆ ได้แก่


การสร้างความมั่งคั่ง
“การสร้างความมั่งคั่ง” (Wealth Creation) เป็นด่านแรกที่คุณจะต้องฟันฝ่าไปให้ได้หากอยากมั่งคั่ง ร่ำรวย
หรือมีอิสรภาพทางการเงินอย่างที่ฝันไว้ ซึ่งคนที่จะสร้างความมั่งคั่งได้ต้อง
“รู้หา รู้เก็บ รู้ใช้ และรู้ขยายดอกผล” อย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นนิสัย

แต่คนส่วนใหญ่ไม่เป็นเช่นนั้น... บางคนหาเงินได้เยอะ ก็ใช้เยอะ เปลี่ยนมือถือเป็นว่าเล่น ใส่เสื้อผ้าอินเทรนด์
ตามกระแส ไม่ใส่ใจที่จะออม ส่วนบางคนบอกอยากออม แต่เงินจะกินในแต่ละเดือนยังแทบไม่พอ จะเอาที่ไหนมาออม

เอาละสิ... ยังไม่ทันเริ่มก็ดูท่าว่าจะแย่เสียแล้ว แบบนี้ความมั่งคั่ง ร่ำรวย คงไม่เฉียดมาใกล้เราเป็นแน่

ถ้าอย่างนั้น... ลองปรับเปลี่ยนวิธีคิดเรื่องการจัดการเงินทองซะใหม่ สลัดความคิดแบบเดิมๆ ให้สิ้นซาก
แล้วหันมาสร้างความมั่งคั่งให้ตนเองด้วยการ “วางแผนใช้จ่ายและบริหารหนี้สิน” ให้มี “เงินเก็บออม” ก่อน
นั่นแหละ... หัวใจสำคัญของการสร้างความมั่งคั่ง

พยายามคิดไว้เสมอว่า “ทุกๆ 1 บาท ที่ประหยัดได้ในวันนี้ เหมือนคุณมีเงินออมเพิ่มขึ้นอีก 1 บาท
ที่สามารถต่อยอดเพิ่มพูนความมั่งคั่งได้ในอนาคต”

แผนการเงินเพื่อเป้าหมายชีวิต


เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยฝันเช่นนี้ เพราะนี่คือความฝันสุดแสนจะเบสิคที่ใครๆ ก็อยากมี แต่ก็ต้องยอมรับว่าความฝัน
แต่ละอย่างไม่ใช่ของถูกๆ และต้องแลกมาด้วย “เงิน” มากมาย แถม “การใช้จ่าย” ก็ดูจะสนุกสนานกว่า “การเก็บออม”เป็นไหนๆ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าเหตุใด... เวลาผ่านไปปีแล้วปีเล่า ความฝันเหล่านั้นก็ยังไม่เป็นจริงเสียที!!!

เอาเป็นว่า... ใครอยากทำให้ฝันเป็นจริง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นวางแผนชีวิตและจัดระบบระเบียบการเงินของตนเอง
จากตรงไหน ลองเริ่มจาก “แปลงความฝันให้กลายเป็นเป้าหมาย” ตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าเราอยากออมเงินไปเพื่ออะไร
เพราะถ้าคุณรู้เป้าหมายว่าจะออมไปเพื่ออะไร คุณก็จะสามารถคาดคะเนได้ว่า...
คุณต้องใช้เงินเท่าใด ต้องออมนาน
แค่ไหน ต้องทำอย่างไร หรือต้องใช้วิธีไหนจึงจะบรรลุเป้าหมายนั้น


วิธีแปลงความฝันให้เป็นเป้าหมายก็ง่ายๆ แค่ถ่ายทอดสิ่งที่คิดและฝันเอาไว้ลงบนกระดาษ อาจเขียนเป็นตัวหนังสือ
หรือหาภาพมาติดไว้ตามที่ต่างๆ ที่คุณจะเห็นอย่างชัดเจน การทำให้เห็นเป็นรูปธรรมเช่นนี้... นอกจากจะช่วยให้
“เป้าหมาย”ไม่กลายเป็น “เป้าหาย” แค่ชั่วข้ามคืนแล้ว ยังช่วยตอกย้ำจิตใต้สำนึกของคุณให้จดจำและช่วยกระตุ้นให้คุณเดินหน้าทำฝัน
ให้เป็นจริงด้วย


เป้าหมายไม่จำเป็น
ต้องมีีเพียงหนึ่งเดียว คุณอาจ
กำหนดเป้าหมายที่แตกต่าง
กันออกไปในแต่ละช่วงเวลา
ได้ เพียงแต่ต้องรู้จักจัดลำดับ
ความสำคัญของเป้าหมาย
ต่างๆ ตามความจำเป็นใน
ชีวิต ไล่เรียงตั้งแต่สิ่งที่ควร
ทำเป็นอันดับแรก อันดับ
รองลงมา และเรื่อยไปจนถึง
อันดับสุดท้าย

แล้วรู้หรือไม่ว่า...
เป้าหมายที่ดีต้อง
มีหน้าตาอย่างไร?


เป้าหมายที่ดีต้อง
มีความชัดเจน วัดผลได้
ทำสำเร็จได้ เป็นไปได้ และ
มีระยะเวลากำหนดไว้อย่าง
ชัดเจน แน่นอน หรือที่
ี่ เรียกง่ายๆ ว่า

“SMART Goals”
นั่นเอง

แต่เอ๊ะ!!! สงสัยจัง...
ทำไมต้อง SMART? แล้ว
SMART ย่อมาจากอะไร?
เรามาดููความหมายที่ซ่อนอยู่
ในคำว่า
“SMART” กันดีกว่า

อ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าคุณยังนึกเป้าหมายที่ดีของตนเองไม่ออก เราจะบอกใบ้ให้คร่าวๆ สมมติว่าเป้าหมายของคุณคือ
“เก็บเงินดาวน์บ้านในฝัน” ก็แล้วกัน

เป้าหมายนี้... จัดว่าเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจ แต่ยังไม่เรียกว่าเป็นเป้าหมายที่ดีหรอกนะจนกว่าคุณจะเติมข้อความ
ที่ชัดเจนกว่านี้ลงไปในเป้าหมาย เช่น...

หากคุณมีเงินเดือน 20,000 บาท เป้าหมายนี้อาจจะดูเป็นไปไม่ได้หรือเป็นไปยากสักหน่อย เพราะคุณจะมี
เงินกินเงินใช้เพียงเดือนละ 5,000 บาทเท่านั้น แต่หากในแต่ละเดือนคุณไม่มีภาระค่าใช้จ่ายใดๆ สามารถใช้จ่ายเดือนละ
5,000 บาทได้อย่างสบายๆ ก็ถือว่าเป้าหมายนี้เป็นเป้าหมายที่ดี มีคุณลักษณะทั้งห้าครบหมดและคุณก็เห็นชัดด้วย
ว่าคุณจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้

เมื่อมีเป้าหมายชีวิตที่ดีและชัดเจนแล้ว คราวนี้... ก็ถึงเวลาลงมือออมให้สอดรับกับเป้าหมายที่วางไว้ แต่สิ่งที่
ขาดไม่ได้เลยเมื่อคิดจะออมก็คือ ความ “ตั้งใจ” ที่จะออมอย่างจริงจัง หลายคนตั้งท่าออมเสียดิบดี แต่พอเอาเข้าจริงๆ
กลับตกม้าตายไปไม่ถึงฝั่งฝัน เพราะออมบ้างไม่ออมบ้าง ท้ายสุดเป้าหมายการออมของคุณก็ล้มลงไม่เป็นท่า เพราะขาด
“วินัย” ทางการเงิน

หมั่นท่องคาถานี้เข้าไว้ “ตั้งเป้า ตั้งใจ มีวินัย” เชื่อสิว่า... เส้นชัยแห่งการออมรออยู่ข้างหน้า ไม่ช้าก็เร็ว สักวันต้องไปถึง
เพราะ “เงิน” มีบทบาทสำคัญไม่เฉพาะการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน หรือเป็นเครื่องวัดค่าสิ่งของต่างๆ
แต่เงินยังสามารถสะสมเพื่อเพิ่มค่าได้ในอนาคต “การวางแผนการเงิน” อย่างเหมาะสมจะช่วยให้เราสามารถ
จัดการกับเรื่องเงินๆ ทองๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการบรรลุเป้าหมายชีวิต

และเพราะ “เงิน” เข้ามามีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการหาซื้อสิ่งของ
จำเป็นสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน เราจึงควรให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงิน
เหมือนเป็นกิจกรรมหนึ่งในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีชีวิตที่ดี และมีความสุข
ในบั้นปลายชีวิต

อาจเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ค้นเคยกับ “การใช้เงิน” ก่อนที่จะ “หาเงินได้”
โดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ให้เงินเราใช้ตั้งแต่เรายังเป็นเด็ก
เราจึงมีความสุขจากการ
ใช้เงินทั้งที่ยังหาเงินไม่ได้
ต่อมาเมื่อเราหาเงินได้เองการจากทำงาน
ปัญหาทางการเงินจึงเกิดขึ้น เพราะคิดว่าการหาเงินได้มากขึ้นจะสร้างความสุข
ความสะดวกสบายในชีวิตได้มากขึ้น แต่กลายเป็นว่าเงินที่หาได้เพิ่มขึ้น
กลับไม่เคยเพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเลย
การไม่รู้จักบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของตนเองให้เหมาะกับเงินที่หามาได้ การใช้เงินโดยไม่มีเป้าหมาย
ทางการเงินอย่างเหมาะสม การไม่รู้จักทางเลือกในการรักษาและเพิ่มมูลค่าของเงิน รวมทั้งความไม่มีวินัยทางการเงิน

อาจทำให้เราต้องทำงานหนักไปตลอดทั้งชีวิตเพียงเพื่อให้มีเงินใช้จ่ายเฉพาะหน้า

การวางแผนการเงินเป็นทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับทุกคน เราควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการวางแผน
การเงินของตนเองอย่างรอบด้าน ทั้งในการหาเงิน การใช้เงิน การเก็บรักษา และการเพิ่มมูลค่าเงินอย่างชาญฉลาด
ทีสำคัญเราต้องลงมือปฏิบัติ เพื่อสร้างนิสัยทางการเงินที่ดี... ใครอยากสบายทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า คงต้องเริ่ม
วางแผนการเงินตั้งแต่เดี๋ยวน
ี้

คุณล่ะ... คิดจะวางแผนการเงินบ้างหรือยัง?
คนส่วนใหญ่พอจะไปเที่ยวก็เริ่มจินตนาการไปไกล... อยากไปเที่ยวไหน จะไปกับใคร จะไปอย่างไร จะพกเงิน
ไปเท่าไหร่ จะไปกี่วัน ฯลฯ สารพัดสารพันคำถามที่ผุดขึ้นมาในสมอง หากใครที่เตรียมตัวและวางแผนมาอย่างดี ย่อมได้
ชมของดี ได้ชิมของดัง ทั้งยังไม่พลาดจุดสำคัญต่างๆ เรียกได้ว่าเที่ยวกันอย่างคุ้มค่าเลยทีเดียว
“การวางแผนการเงิน” ก็เหมือนกับการวางแผน
ท่องเที่ยวที่ต้องมีจุดสตาร์ทในใจก่อน จึงจะสามารถเดินทาง
สู่เป้าหมายที่ต้องการได้โดยไม่หลงทาง ซึ่งขั้นตอนการวางแผน
ก็ไม่่ยากเย็นอะไร เพียงเริ่มจาก...


“สำรวจตนเอง”
เพื่อให้รู้ว่า “ตอนนี้สุขภาพทางการเงิน
ของเราเป็นอย่างไร”
ฟิตหรือฟุบ
“แล้วสถานะทางการเงิน
ล่ะ... เป็นอย่างไร”
เงินออมท่วมหรือหนี้ท่วม
ต่อมาจึงเริ่ม “กำหนดเป้าหมาย” เพราะเป้าหมายจะคอยนำทางให้คุณไปสู่สิ่งที่ฝันไว้ ซึ่งเป้าหมายของ
แต่ละคนจะแตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าเป้าหมายของคุณจะเป็นอะไร อย่าลืมกำหนดเป้าหมายทางการเงินให้สอดคล้อง
กับเป้าหมายชีวิตด้วย เพราะหากไม่มีเงิน เป้าหมายที่ฝันไว้ก็คงจะเป็นไปได้ยาก


จากนั้นก็ถึงเวลา “สร้างแผนการเงิน”
ให้้เป็นรูปธรรม พร้อม
"ปฏิบัติตามแผนอย่าง
มีวินัย”
เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่ฝันไว้
อย่าปล่อยให้กิเลสครอบงำทำลายแผนการเงิน
ให้ล้มลงไม่เป็นท่า

สุดท้าย... ต้องหมั่น “ทบทวนและปรับปรุงแผนอย่างสม่ำเสมอ” เพื่อให้การเดินทางไปยังเป้าหมาย
ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด

คุณคิดว่า... ขั้นตอนไหนยากที่สุดสำหรับคุณ?
คุณเชื่อหรือไม่... การเขียนเป้าหมายลงบนกระดาษ หรือหาภาพมาติดไว้ตามที่ต่างๆ ที่คุณเห็นได้อย่างชัดเจน
จะมีส่วนช่วยกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้คุณเก็บออมเงินเพื่อทำเป้าหมายนั้นกลายเป็นจริงขึ้นมาได้ ลองมาเขียน
เป้าหมายชีวิตในแต่ละช่วงอายุกันดีกว่า!!!


คุณเคยเขียนเป้าหมายที่ต้องการลงบนกระดาษบ้างหรือไม่?

ไม่วางแผนการเงิน
ไม่มีเป้าหมายทางการเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ใช้จ่ายแบบไม่วางแผน
ทั้งการจ่ายซื้อของชิ้นใหญ่และซื้อของกินของใช้ในชีวิตประจำวัน
ไม่รู้ว่ามีเงินสดเท่าไร
เพราะได้เงินมาก็ใช้ไป เงินหมดก็กด ATM ไปเรื่อยๆ
ไม่รู้ว่าใช้เงินเดือนละเท่าไร
ไม่รู้ว่าใช้จ่ายเป็นค่าอะไรบ้าง
เหนียวหนี้
โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต เพราะการจ่ายหนี้ขั้นต่ำจะทำให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยมหาศาล
ใช้ก่อนเก็บ
เพราะมักลงเอยด้วยการใช้เงินจนหมดไม่เหลือเก็บ
จนแต่ไม่เจียม
ชอบใช้จ่ายเงินเกินตัว มีรสนิยมสูงเกินรายได
ไม่สนใจดอกเบี้ย
ค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย
ลงทุนแบบไม่มีความรู้
ลงทุนตามข่าว ตามกระแส ไม่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการลงทุนดีพอ
ไม่มีการจัดสรรสินทรัพย์หรือ Asset Allocation ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มพูนความมั่งคั่ง

คุณล่ะ... มีนิสัยที่ไม่ค่อยดีทางการเงินกี่ข้อ? แล้วคุณจะปรับปรุงอย่างไร?
วางแผนออมเงิน


ความร่ำรวยและชีวิตที่มีอิสรภาพทางการเงิน มักเริ่มต้นมาจากคำว่า “ออม” เสมอ ใครที่เริ่มเก็บออมได้เร็วกว่า
ย่อมรวยเร็วกว่า และโปรดรู้ไว้ว่า... คุณกำลังเดินหน้าสู่ความมั่งคั่ง ขณะเดียวกันก็ยังมีคนอีกนับไม่ถ้วนที่ตัดพ้อว่าอยากออม
เต็มทีแต่กลับมีอุปสรรครายล้อม เงินเดือนน้อยบ้างหละ ภาระทางบ้านล้นมือ ไหนจะผ่อนบ้านผ่อนรถ ต้องสร้างเนื้อสร้างตัว
แถมยังต้องให้เงินพ่อแม่ทุกเดือน แล้วแบบนี้จะเอาจากไหนไปออม

ออมได้แน่นอน เพียงเปลี่ยนจากเดิมที่เคยคิดว่า
“ใช้จ่ายก่อน... เหลือเท่าไหร่ค่อยออม” มาเป็น “ออมก่อน...
เหลือเท่าไหร่ค่อยใช้”
ส่วนจะออมเดือนละเท่าไหร่ก็ตามใจ สูตรใครสูตรมัน

อย่างที่บอกไปแล้วว่าออมเร็ว... รวยเร็ว ออมมาก... รวยมาก หากใคร
ไม่อยากรู้สึกว่าการออมเป็นภาระจนเกินไปลองเริ่มเบาะๆ
แค่เดือนละ 10%
ของรายได้
ก่อน ประมาณว่าได้เงินมา 10,000 บาท ก็อย่าเพิ่งรีบร้อนใช้ ให้หัก
ไว้เป็นเงินออมก่อน 1,000 บาท จากนั้นค่อยนำส่วนที่เหลืออีก 9,000 บาท
ไปใช้ตามอัธยาศัย

แต่หากคุณเป็นคนที่ชอบใช้จ่าย พยายามแก้ยังไงก็ไม่หายสักที
ลองเปลี่ยนมาใช้วิธีนี้... ทุกครั้งที่ใช้จ่าย ต้องเก็บเงินเพิ่มให้ได้ 10%
ของเงินที่ใช้ไป เช่น ซื้อของ 2,000 บาท ก็ต้องออมเพิ่มขึ้นอีก 200 บาท
ด้วยวิธีนี้...ไม่ว่าคุณจะใช้จ่ายมากแค่ไหน คุณก็จะได้เงินออมแถมมาครั้งละนิด ละหน่อยเสมอ
แม้ช่วงแรกๆ คุณอาจรู้สึกอึดอัด ฝืนใจ หรือไม่ก็แอบขี้โกงตัวเองบ้างในบางครั้ง แต่พอลงมือทำไปสักพักคุณจะเริ่ม
คุ้นเคยกับการออมมากขึ้น บวกกับเห็นเม็ดเงินในบัญชีค่อยๆ เพิ่มขึ้นๆ ทีนี้แหละ... หากคุณอยากจะขยับยกระดับการออม
เป็น 20% หรือ 30% ก็ทำได้ไม่ว่ากัน เพราะไม่ว่าจะออมเท่าไหร่ก็ดีทั้งนั้น ถ้ามันทำให้เงินออมของคุณค่อยๆ งอกเงย
ออกดอกออกผลโตวันโตคืน

มาถึงตรงนี้... คุณคงพอเห็นภาพการออมชัดเจนมากขึ้น แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราอยากแนะนำและคุณควรทำเป็นอย่างยิ่ง
คือ “แยกบัญชีเงินออมออกจากบัญชีทั่วไป” ที่คุณใช้บัตรเอทีเอ็มเบิกถอนอยู่เป็นประจำ ซึ่งสาเหตุที่ไม่ควรนำเงินทั้งหมด
มากองรวมไว้ในบัญชีเดียวกัน ก็เพราะธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน เมื่อมีเงินอยู่ในมือก็มักจะมีเรื่องให้ใช้จ่ายได้ตลอดเวลา
หากใช้เพลิน ใช้แล้วยังเห็นว่ามีเงินเหลืออยู่ก็จะใช้อีก สุดท้ายก็หมด

หากคุณไม่อยากให้เงินออมของคุณต้องหมดไป เพียงเพราะความเพลิดเพลินหรือประมาทเลินเล่อในการใช้จ่าย
ให้คุณแบ่งเงินออมเป็น “4 บัญชี” โดยแยกแต่ละบัญชีตามวัตถุประสงค์การออมให้ชัดเจน

บัญชีแรก “บัญชี S.O.S” หรือเรียกง่ายๆ ว่า “บัญชีฉุกเฉิน” เงินก้อนนี้เก็บไว้รับมือกับเรื่องราว
ไม่คาดฝันต่างๆ ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ เจ็บไข้ได้ป่วย ขึ้นโรงขึ้นศาล หรือตกงานกะทันหัน
ทางที่ดี... คุณควรมีเงินก้อนนี้ติดบัญชีไว้บ้างสัก 6 เท่าของค่าใช้จ่าย อย่างน้อยหากเข้าตาจน
เงินก้อนนี้ก็น่าจะพอเยียวยาชีวิตคุณได้บ้าง
บัญชีที่สอง “บัญชีเงินออม : ระยะสั้นถึงระยะกลาง” ถ้าคุณตั้งใจจะเก็บเงินสักก้อนไว้ดาวน์บ้าน
ดาวน์รถ ท่องเที่ยว หรือเก็บเงินไว้เป็นสินสอดทองหมั้นเพื่อแต่งงานกับคนรัก ก็ควรจะเจียดเงินออม
ส่วนหนึ่งมาเข้าบัญชีนี้ เพื่อเป็นบันไดให้คุณก้าวเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมั่นใจ
บัญชีที่สาม “บัญชีเงินออม : ระยะยาว” เป็นบัญชีเงินออมเพื่ออนาคตที่คุณควรเก็บไว้
ใช้หลังเกษียณ หรือไม่ก็เป็นค่าเล่าเรียนของลูกยามที่เขาเติบโต เงินก้อนนี้ต้องใช้ความตั้งใจ
และวินัยในการออมสูง จึงต้องกันเงินไว้ทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญ... เมื่อใส่เงินเข้าไป
ในบัญชีนี้แล้ว “จงลืมมัน” คิดเสียว่าเป็นตายร้ายดี ก็จะไม่ยอมถอนเงินก้อนนี้ไปใช้เด็ดขาด
บัญชีที่สี่ “บัญชีเพื่อการลงทุน” หากชีวิตนี้คุณเคยแต่ฝากเงินไว้กับธนาคารเพียงอย่างเดียว
ลองเปิดหูเปิดตาให้กว้างไกล แล้วแบ่งเงินมาเข้าบัญชีนี้ดูบ้าง วันละนิดวันละหน่อยก็ยังดี เมื่อมี
ีเงินเป็นกอบเป็นกำ ค่อยถอนไปลงทุนในทางเลือกอื่นๆ ที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนมากกว่า
ดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อให้เงินทำงาน สร้างเงินให้กับเรา
ส่วนใครจะจัดสรรเงินออมเข้าบัญชีไหนมาก บัญชีไหนน้อยนั้น ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว คงเป็นเรื่องที่คุณต้องวางแผน
ให้สอดรับกับเงื่อนไขทางการเงินที่ตัวคุณเองย่อมรู้ดีที่สุดว่าควรจัดสรรยังไงถึงจะเวิร์ค

แต่ที่แน่ๆ เมื่อคิดจะออม... ก็ต้องออมแบบไม่มีเงื่อนไข ออมแบบมีวินัย ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง ที่สำคัญต้องหมั่น
“ทำบัญชีรับจ่าย” เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการใช้เงินของตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วย



ในยุคที่ข้าวของทุกอย่างพร้อมใจกันปรับขึ้นราคาอย่างนี้ นอกจากต้องระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายแล้ว คุณยังควร
เก็บออมเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคตด้วย แต่ก่อนจะออม... ลองมาทำความรู้จักกับ “ศัตรูของเงินออม” กันก่อนดีกว่า
จะได้เตรียมรับมือเสียตั้งแต่เนิ่นๆ

เงินเฟ้อ
เป็นตัวกัดกร่อนค่าของเงินให้ลดลง ศัตรูตัวนี้คุณไม่สามารถกำจัดได้ แต่คุณสามารถเอาชนะได้ด้วยการออม
หรือการลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ


เหตุการณ์ไม่คาดฝันหรือเหตุฉุกเฉิน
ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ เจ็บไข้ได้ป่วย ไฟไหม้ รถชน ฯลฯ ที่อยู่นอกเหนือแผนการใช้เงิน มีหลายคนที่เงินออมที่เก็บ
สะสมมาตลอดชีวิตต้องหายเกลี้ยงเพราะเรื่องเหล่านี้ แต่คุณสามารถปกป้องชีวิตและเงินออมของคุณได้ด้วยการ
ทำประกัน


ความไม่มีวินัยในการออม
เป็นสิ่งที่เกิดจากตัวเราเอง สามารถกำจัดได้แต่ยาก เพราะถูกฝังรากจนกลายเป็นนิสัย ทางแก้ที่ทำได้ คือ
ต้องออมให้เป็นเหมือนหน้าที่ที่ต้องทำทุกวัน


ความโลภ
บางคนโลภมาก อยากได้ผลตอบแทนสูงๆ จึงนำเงินทั้งหมดไปลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงสูงจนต้องกลับมาเริ่มต้น
ออมใหม่ ทางเดียวที่จะรักษาเงินออมของคุณให้ปลอดภัยได้ คือ ต้องรู้จักพอ รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร และรับ
ความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน

คุณคิดว่าศัตรูของเงินออมตัวไหนน่ากลัวที่สุดสำหรับคุณ?

คุณทราบหรือไม่... ตอนนี้คุณควรมีเงินออมเท่าใดจึงจะถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสม บรรดานักคิดต่างๆ
พยายามหาสูตรสำเร็จเพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณหายอดเงินออมขั้นต่ำที่ควรจะมี ในเรื่องนี้มีสูตรคำนวณง่ายๆ คือ...
เช่น ถ้าตอนนี้คุณอายุ 25 ปี และได้รับเงินเดือนเดือนละ 10,000 บาท ดังนั้น คุณควรจะมีเงินออมในขณะนี้ประมาณ 300,000 บาท (25 x 10,000 x 12/10)
ถึงตอนนี้... หลายคนอาจจะดีใจว่าตนเองมีเงินออมมากกว่าจำนวนที่คำนวณได้ ก็อย่าเพิ่งแน่ใจว่าเรา
มีเงินออมมากเกินพอ ไม่ต้องออมเพิ่มแล้ว ขณะที่บางคนอาจตกใจเมื่อพบว่ามีเงินออมน้อยกว่าจำนวนที่คำนวณได้
ก็อย่าพึ่งท้อถอย รีบออมซะตั้งแต่วันนี้คงไม่สายเกินไป

คุณมีเงินออมเพียงพอแล้วหรือยัง?
ทราบหรือไม่... ว่าคุณสามารถมีเงินแสนได้ ด้วยการออมเพียงวันละ 20 บาท หรือเดือนละ 600 บาท
เงิน 600 บาทนั้น คุณใช้แป๊ปเดียวก็หมดแล้ว แต่ถ้าคุณไม่ใช้ แถมยังฝากธนาคารทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ
โดยได้รับดอกเบี้ย
2% ต่อปี... ภายใน 1 ปี คุณจะมีเงินเก็บถึง 7,344 บาท และหากคุณออมต่อไปเรื่อยๆ อีกเพียง 15 ปคุณจะมีเงินเกือบ 130,000 บาท โดยไม่ทันรู้ตัว!!!

ด้วยเงินออมเพียง 20 บาทต่อวัน ไม่ใช่เรื่องยากเลย... สำหรับนักออมมือใหม่อย่างคุณ แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ
“วินัยในการออมของนักออม” เมื่อทราบเช่นนั้นแล้ว ก็ควรเร่งทำการออม เพื่อจะได้เป็นเศรษฐีในอนาคต

วันนี้คุณเริ่มออมเงินวันละ 20 บาทแล้วหรือยัง?
“นายอ้วน” กับ “นายผอม” เป็นเพื่อนรักกัน ออมเงินได้ดอกเบี้ย 8% เท่ากัน แต่นายอ้วนเริ่มออมเงิน
เมื่ออายุ 21 ปี
ออมเพียงเดือนละ 1,000 บาท ไป 10 ปี แล้วเลิกออมเมื่ออายุ 30 ปี แต่ยังทิ้งเงินไว้ในบัญชี
กินดอกเบี้ยต่อไปจนอายุ 60 ปี พอสิ้นปีที่ 60 นายอ้วนจะมีเงินออม 1,889,222 บาท

ส่วนนายผอมเห็นเพื่อนมีเงินออมก็อยากออมบ้าง แต่มาเริ่มเอาตอนที่นายอ้วนหยุดออมไปแล้ว คือ
ตอนอายุ 31 ปี
โดยออมเดือนละ 1,000 บาทอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เมื่ออายุครบ 60 ปี นายผอมจะมีเงินออม
1,468,150 บาท น้อยกว่านายอ้วนถึง 421,072 บาท ทั้งๆ ที่นายผอมออมนานกว่าตั้ง 20 ปี ยังมีเงินออม
ไม่เท่านายอ้วนเลย!!!

ไม่น่าเชื่อใช่มั้ยล่ะ... ยิ่งคุณเริ่มต้นออมเร็วเท่าไหร่ คุณก็จะมีเงินล้านเร็วขึ้นเท่านั้น นั่นเป็นเพราะความมหัศจรรย์ของ “อัตราดอกเบี้ยทบต้น” ที่แม้นายอ้วนจะไม่ได้เก็บเงินเพิ่มขึ้น แต่ดอกเบี้ยทบต้นก็ยังทำหน้าที่ของมันอย่างเสมอต้นเสมอปลายตลอดมา
ระหว่าง 2 คนนี้ คุณอยากเป็นเหมือนใคร... นายอ้วนหรือนายผอม?
ถ้าใครอยากรู้คร่าวๆ ว่า “เมื่อไหร่” เงินที่เก็บออมไว้จะ “เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า” สามารถคำนวณได้โดยใช้ “กฎของเลข 72” (Rule of 72) ดังนี้

เช่น สมชาติมีเงินฝาก 100,000 บาท ได้ดอกเบี้ย 8% ต่อปี หากธนาคารคิดดอกเบี้ยทบต้นให้อย่าง
สม่ำเสมอ และสมชาติไม่ได้ถอนเงินก้อนนี้ออกมาใช้เลย
เงิน 100,000 บาทของเขาจะกลายเป็นสองเท่า
หรือ 200,000 บาท ภายใน 9 ปี
(72/8) นั่นแสดงว่า... ณ อัตราดอกเบี้ย 8% ต่อปี เงินต้นของสมชาติ
จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เมื่อครบทุกๆ 9 ปี ดังนั้น ถ้าตอนนี้สมชาติอายุ 20 ปี เงินของเขาจะเพิ่มเป็น 200,000 บาท
เมื่อเขาอายุ 29 ปี เป็น 400,000 บาทเมื่อเขาอายุ 38 ปี และจะกลายเป็น 800,000 บาทเมื่อเขาอายุ 47 ปี

ในทางกลับกัน สมหญิงอาจประยุกต์ใช้สูตรนี้คำนวณหาว่า... ถ้าเธอต้องการให้เงิน 100,000 บาทเพิ่มขึ้น
เป็น 200,000 บาท ภายใน 6 ปี “เธอต้องได้ผลตอบแทนปีละกี่เปอร์เซนต์” ซึ่งสมหญิงก็พบว่า เธอต้องการ
ผลตอบแทน 12% ต่อปี (72/6) พอรู้อย่างนี้... สมหญิงก็สามารถหาทางเลือกในการลงทุนที่เหมาะสมได้
ไม่ยากเท่าไหร่

เงินฝากของคุณจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อไรหนอ?
เรื่องการออมเงิน... ฟังดูเหมือนง่าย แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว อาจทำได้ยากมาก เพราะเราต้องต่อสู้กับศัตรูตัวฉกาจ
อย่าง “ความไม่มีวินัยในการออม” ซึ่งถูกฝังรากจนกลายเป็นนิสัย แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นพวก “วินัยอ่อน” หรือ “หย่อนความมุ่งมั่น” หากเรามีความตั้งใจจริงก็สามารถสร้างวินัยในการออมเงินได้ง่ายๆ

การฝึกวินัยทางการเงิน ให้เริ่มจากการทำซ้ำๆ ทำให้เคยชินจนกลายเป็นนิสัย
เช่น เก็บเงินทันที 10% ทุกครั้งที่มีรายได้ ทำ Shopping List ทุกครั้งก่อนไป
ซื้อของ จดบันทึกค่าใช้จ่ายทุกสัปดาห์ ตั้งงบการทานอาหารนอกบ้าน ฯลฯ พฤติกรรม
หลายอย่างอาจทำให้เราต้องฝืนใจตัวเอง ให้ลองมองเป็นเรื่องสนุก เรื่องท้าทาย
แล้วการฝึกวินัยก็จะเต็มไปด้วยความสุข ความสนุก ที่สำคัญก็คือ
ให้ทำอย่างเข้าใจ
เหตุและผล
โดยมองเป้าหมายทางการเงินไว้เป็นกำลังใจเสมอๆ

เมื่อวินัยทางการเงินได้หยั่งรากลึกกลายเป็นพฤติกรรมที่ดีแล้วก็ไม่มีอะไรต้อง
ฝืนใจทำอีกต่อไป แล้วเราก็จะไม่พลาดโอกาสดีๆ ทางการเงินอย่างแน่นอน
คุณล่ะ... มีวินัยทางการเงินดีพอแล้วหรือยัง?
ใครๆ ก็อยากมีเงินออมเยอะๆ อยากมีเงินเพียงพอไว้ใช้ยามเกษียณ อยากมีเงินออมไว้เผื่อฉุกเฉิน แต่ทำไม
จึงเป็นเรื่องยากเย็นเหลือเกินสำหรับหลายคนที่จะออมเงิน วันนี้มีเทคนิคดีๆ มาแนะนำกัน

ออมทีละน้อย ค่อยๆ ออม
ไม่ต้องรอมีเงินเยอะๆ แล้วจะออมเยอะๆ ยิ่งเงินน้อย ยิ่งต้องรีบออม
เริ่มออมให้เร็วที่สุด
เพื่อสร้าง Money Snowball ก้อนโตๆ จากระยะเวลาการออม
สร้าง “บัญชีต้องห้าม”
เป็นบัญชีเงินออมโดยเฉพาะเพื่อลดการถอนเงินออกมาใช้ตามอำเภอใจ
กำหนดตารางการออม
คือ ทำเป็นประจำจนเป็นนิสัย เช่น ทุกวันศุกร์ ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน
เปลี่ยนงานอดิเรกให้เป็นเงิน
โดยใช้พรสวรรค์บวกความมุ่งมั่นเพื่อเพิ่มเงินออมและความสุขใจ
ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
เพื่อลดการฟุ้งซ่านจากความอยากได้และลดเวลาในการ Shopping
เปรียบเทียบหาผลตอบแทนที่ดีที่สุด
เพื่อไม่ให้เงินออมต้องสึกหรอไปเพราะเงินเฟ้อ
เทคนิคทั้ง 7 ข้อนี้ หากตั้งใจทำจริงจัง รับรองไม่มีข้อใดยากเลยในการเพิ่มเงินออมให้เติบโตอย่างที่ตั้งใจ
เงินออมของคุณล่ะ... เติบโตอย่างที่ตั้งใจไว้หรือไม่?
วางแผนใช้จ่ายชีวิต


สงสัยจัง... เงินหายไปไหน
หลายคนคงเคยตั้งคำถามนี้กับตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนุ่มสาววัยทำงานที่
หลังเงินเดือน ออกแค่ไม่กี่วัน แต่เงินในบัญชีกลับหายเกลี้ยงไปซะเฉยๆ พยายามนึกเท่าไร
ก็นึกไม่ออกว่าเงินหายไปไหน สุดท้ายที่พอจะทำได้ คือ หยิบเครื่องคิดเลขออกมาบวกลบ
คูณหารดูว่าเงินที่เหลืออยู่จะพอใช้้จนถึงสิ้นเดือนหรือไม่!!!

ไม่ว่าคุณจะมีเงินเดือนหลักหมื่นหรือเรือนแสน แต่หากขาดการวางแผนจัดการ
เงินทองที่ดี เงินเดือนก็จะเป็นแค่ตัวเลขที่ผ่านมาทักทายบัญชีเงินฝาก แล้วก็จากไป
ไม่ร่ำลากัน ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างนี้ทุกเดือน ถึงเวลาที่จะรื้อ ปรับ ขยับวิถีชีวิตแบบเดิมๆ
พร้อมเริ่มต้นวางแผนใช้จ่ายเงินกันแล้ว

อันดับแรก... คุณต้องสะกดรอยตามเงินให้เจอก่อน และทางเดียวในโลกนี้ที่้
จะช่วยใหคุณรู้ว่าเงินตั้งมากมายหายไปไหน แถมยังช่วยแก้อาการชักหน้าไม่ถึงหลังของคุณ
ได้เป็นอย่างดีีก็คือ รู้จักใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของการใช้จ่ายเงิน และ “จดบันทึก
รายรับรายจ่าย” อย่างสม่ำเสมอ แต่พอพูดถึงการจดบันทึกรายรับรายจ่าย หลายคนอาจ
บอกว่าน่าเบื่อหน่ายที่สุดในโลก บ้างก็ว่าไม่จำเป็น ละเอียดถี่ยิบเกินไป แถมบางคน
มองว่าเป็นการสร้างความยุ่งยากให้ชีวิตเข้าไปอีก

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่าการจด “สิ่งที่คุณซื้อ” เป็นงานยากเกินกว่าที่คุณจะรับไหว นั่นถือเป็นการยอมรับ
เป็นนัยๆ ว่า...
คุณควักเงินออกจากกระเป๋าบ่อยมากจนจดไม่ทัน

แต่หากคุณมั่นใจว่าคุณใช้จ่ายอย่างเหมาะสม ทุกบาททุกสตางค์ที่ใช้ไปมีเหตุุมีผลทั้งนั้น ก็มาลองดูกันสักตั้ง
จะเป็นไรไป... วิธีการก็ง่ายแสนง่าย แค่พกสมุดโน้ตเล่มเล็กๆ กับปากกาติดกระเป๋าไว้ แล้วควักออกมาจด จด จด ทุกครั้งที่
ได้รับเงินมาหรือใช้เงินไป ไม่ว่าเงินก้อนนั้นจะเล็กน้อย (ในสายตาคุณ) ขนาดไหนก็ตาม
เมื่อมีสมุดกับปากกาแล้ว... เริ่มด้วยการจดตัวเลขรายได้ที่ได้มาในแต่ละวัน สัปดาห์ หรือเดือนลงไป ทั้งเงินเดือน
ค่าเช่า ค่านายหน้า โบนัส จ๊อบพิเศษ รวมถึงรายได้ที่เป็นรายการพิเศษต่างๆ อย่างเงินคืนภาษี เงินคืนจากประกันชีวิต
หรือเช็คของขวัญในโอกาสต่างๆ ฯลฯ

คราวนี้ลองมาดูฝั่งค่าใช้จ่ายกันบ้าง หากสังเกตดีๆ คุณจะพบว่าค่าใช้จ่ายแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ ค่าใช้จ่าย
เพื่อการออมและการลงทุน ค่าใช้จ่ายคงที่ และค่าใช้จ่ายผันแปร

“ค่าใช้จ่ายเพื่อการออมและการลงทุน” คือ ค่าใช้จ่ายส่วนแรกที่ต้องกันไว้ทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถือเป็น
การจ่ายเพื่อตัวเองในการเดินตามความฝันหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น เงินออมเพื่อดาวน์รถ ดาว์บ้าน ท่องเที่ยว แต่งงาน
ค่าเล่าเรียนลูก หรือเงินออมเพื่อเกษียณอายุ ฯลฯ ที่สำคัญ... อย่าลืมแยกบัญชีเงินออมและลงทุนออกจากบัญชีใช้จ่ายส่วนตัว
เพื่อป้องกันความสับสนและเผลอถอนเงินออมออกมาใช้

“ค่าใช้จ่ายคงที่” คือ ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนทุกเดือน เช่น ค่าผ่อน (เช่า) บ้าน ค่าผ่อนรถ
ค่าเบี้ยประกัน ค่าผ่อนสินค้า หรือเงินกู้ต่างๆ ฯลฯ


“ค่าใช้จ่ายผันแปร”
คือ ค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนไม่เท่ากันในแต่ละเดือน มีบ้าง ไม่มีบ้าง ไม่แน่นอน ยืดหยุ่นไปตาม
กิจกรรม ที่ทำในเดือนนั้นๆ ส่วนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะการดำรงชีวิตของแต่ละคน เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ
ค่าโทรศัพท์ ค่าเสื้อผ้า ค่าเดินทาง ค่ารักพยาบาล บันเทิงเริงใจ เงินทำบุญ ฯลฯ

หลังจาก จด จด จด สะกดรอยตามเงินครบ 4 สัปดาห์ ลองบวกลบคูณหารค่าใช้จ่ายทั้งหมดในเดือนนั้น แล้วเอา
สมุดโน้ตมากางดู คุณจะเห็น “รูรั่ว” ของกระเป๋าสตางค์อย่างชัดเจน

ทีนี้แหละ... ดวงตาที่เคยมืดมนก็เริ่มเห็นแสงสว่างขึ้นมาทันใด เมื่อสมุดเล่มเล็กๆ ราคาไม่กี่บาท กลับกลายเป็น
“สมุดสติ” ที่ช่วยเตือนให้คุณเห็นถึงภัยร้ายจากค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ วันละ 100 200 หรือ 300 ที่ทุกวันรวมกันก็เป็นพัน
เป็นหมื่นได้

ตอนนี้รู้แล้วสินะว่าเงินของคุณหายไปไหน รู้ลางๆ แล้วใช่ไหมว่าทำไมเงินถึงไม่เคยพอใช้ หรือเพราะเหตุใดคุณถึงได้
จนไส้แห้งทุกครั้งก่อนสิ้นเดือน เฮ้อ!!! ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพราะ “คุณ” นั่นแหละที่เจาะกระเป๋าตัวเอง

เอาเป็นว่า... เมื่อมีเงินไม่พอใช้ในแต่ละเดือน ก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจไป ยังพอมีหนทางแก้ไขสถานการณ์ได้
ทางแรกคือ “หั่นรายจ่าย” อีกทางคือ “เพิ่มรายได้” แต่คุณเชื่อหรือไม่... ร้อยทั้งร้อยเลือกที่จะหั่นรายจ่ายเพราะดูเหมือน
จะง่ายกว่าหาทางเพิ่มรายได้หลายเท่า เพียงแค่นั่งวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายทั้งหมด คุณก็พอจะรู้ว่าส่วนเกินตรงไหนที่สามารถตัดทิ้ง
ได้บ้าง แต่การหารายได้เพิ่มนี่สิ ยากสิ้นดี

การหั่นรายจ่ายที่ง่ายที่สุด คือ “การหั่นรายจ่ายผันแปรที่ไม่จำเป็นต่างๆ” อย่างค่าโทรศัพท์มือถือ ซื้อของฟุ่มเฟือย
ลดการเที่ยวเตร่ ดูหนังฟังเพลง หรือทานอาหารนอกบ้านให้น้อยลง ฯลฯ ส่วนค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์มักจะตัดออกไม่ค่อยได้
ทำได้แค่ลดปริมาณการใช้ลง และเอาบิลไปจ่ายให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันค่าปรับจากการชำระล่าช้าเท่านั้น

แต่ใครอยากท้าทายกว่านั้น ลองพิจารณาลดค่าใช้จ่ายคงที่ เพราะแม้จะทำได้ยาก แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้ซะหน่อย
ยกตัวอย่างเช่น การรีไฟแนนซ์เพื่อให้ภาระดอกเบี้ยลดลง หรือบางครั้งอาจต้องแลกกับการเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่
ของคุณ เช่น หาบ้านใหม่ที่ค่าเช่าถูกลง หรือขายรถแล้วหันมาใช้บริการรถสาธารณะแทน

หากคุณ “เขียม” สุดๆ แล้ว เงินก็ยังไม่พอใช้อยู่ดี ก็อาจถึงเวลาที่คุณต้องมองหางานที่ให้ค่าตอบแทนสอดคล้อง
กับรายจ่ายของคุณหรือหางานพิเศษทำ

เชื่อเถอะว่า... การจดบันทึกรายรับรายจ่ายเป็นประจำ นอกจากจะทำให้คุณเห็นถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เป็นต้นเหตุ
ของปัญหา ในแต่ละวัน สัปดาห์ หรือเดือนที่ผ่านมาแล้ว ยังช่วยให้คุณปรับวิธีใช้จ่ายเงินและควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่าง
มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อค่าใช้จ่ายน้อยลง คุณก็จะมีเงินเหลือออมมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังทำให้คุณสามารถวางแผนใช้จ่ายเงินได้อย่างเป็นระบบระเบียบมากขึ้นด้วย เช่น ในแต่ละปี คุณรู้ว่า
ตอนเดือนตุลาคม คุณต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตปีละ 20,000 บาท ฉะนั้น ก่อนจะถึงช่วงเดือนตุลาคม คุณก็สามารถที่จะทยอย
สะสมเงินเตรียมไว้ทุกเดือนก่อนได้

ถ้าเห็นข้อดีของการจดบันทึกรายรับรายจ่ายแล้ว ก็ควรทำอย่างจริงจังเสียตั้งแต่วันนี้ เพราะการใช้จ่ายเงินทองอย่าง
“รอบคอบ” และ “ระมัดระวัง” เท่ากับว่าคุณกำลังแง้มประตูไปสู่ “ความมั่งคั่ง” ในอนาคต

การใช้จ่ายเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองโดยไม่ยั้งคิด อาจก่อเกิดให้ปัญหาทางการเงินตามมา
แต่ถ้ายึดตาม กฎเหล็ก 5 ประการ คุณจะใช้จ่ายเงินได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น

ตั้งงบก่อนใช้ การทำงบประมาณเป็นเหมือนการ
บังคับให้คุณ “คิดก่อนซื้อ”


เปรียบเทียบก่อนซื้อ
ควรเปรียบเทียบราคา
สินค้าก่อนซื้อ ถือคติว่า “ของดี ราคาเหมาะสม”


สรุปใช้สม่ำเสมอ
ถึงจะเสียเวลา แต่รับรองว่า
คุ้มค่าสุดๆ เพราะคุณจะเห็นพฤติกรรมการใช้จ่าย
ของคุณ


ใช้น้อยกว่าหาได้
ฟังดูง่ายๆ แต่ใช่ว่าทุกคน
จะทำได้ พึงระลึกไว้ว่าคุณควรจะใช้จ่ายให้
น้อยกว่าเงินที่หาได้เสมอ


ไม่ใช้ก็ไม่ซื้อ
อย่าซื้อของเพราะโปรโมชั่นดี
มีของแถม ลดราคาครั้งยิ่งใหญ่ หรือเพราะ
เกรงใจพนักงานขาย

พฤติกรรมการใช้จ่ายของคุณสอบผ่านกฎเหล็กกี่ประการ?
ถ้าคุณต้องการเป็นเศรษฐี เพราะ “เงิน” เป็นปัจจัยสำคัญในการเป็นเศรษฐี และ “บันทึกรายรับรายจ่าย” ก็เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้
คุณจัดการกับเรื่องเงินๆ ทองๆ ได้อย่างจริงจัง
ถ้าคุณต้องการรู้จักตัวเองมากขึ้น เพราะ “บันทึกรายรับรายจ่าย” คือ แหล่งข้อมูลที่ดีที่จะบอกเล่าถึงกิจกรรมที่คุณทำ พฤติกรรมที่คุณเป็น
และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น คุณอาจจะอึ้งเมื่อได้รู้นิสัยทางการเงินของตัวเอง
ถ้าคุณต้องการตัวช่วยในการสร้างนิสัยทางการเงินที่ดเพราะ “บันทึกรายรับรายจ่าย” เป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณกำหนดเป้าหมายในชีวิตได้ชัดเจนขึ้น
และช่วยสร้างวินัยทางการเงินที่ดีให้คุณได
ถ้าคุณไม่รู้วิธีจัดการเงินเพราะ “บันทึกรายรับรายจ่าย” ช่วยให้คุณเห็นภาพชัดเจนเกี่ยวกับการใช้จ่ายและความสามารถในการหาเงิน
ซึ่งจะช่วยใหคุณจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ถ้าคุณต้องการมีความสุขทุกวัน เพราะ “กิจกรรมต่างๆ” ในชีวิตเราล้วนเกี่ยวข้องกับเงินแทบทั้งนั้น “บันทึกรายรับรายจ่าย” จะช่วยให้คุณรู้
ที่มาและที่ไปของเงินจากกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน ซึ่งคุณจะสามารถจัดการกับเรื่องเงินๆ ทองๆ ของตนเองได้
อย่างมีประสิทธิภาพ และความสุขจากอิสรภาพทางการเงินก็จะเกิดขึ้น

วันนี้คุณใช้เงินไปกี่บาท แล้วพรุ่งนี้จะใช้อีกกี่บาท?
เคยสงสัยบ้างมั้ย... หลังเงินเดือนออกแค่ไม่กี่วัน แต่เงินในบัญชีกลับหายเกลี้ยงไปซะเฉยๆ พยายามนึกเท่าไร
ก็นึกไม่ออกซะที สุดท้ายที่พอจะทำได้ คือ หยิบเครื่องคิดเลขออกมาบวกลบคูณหารดูว่า เงินที่เหลืออยู่จะพอใช้
จนถึงสิ้นเดือนหรือไม่!!!

หากอยากรู้ว่ากระเป๋าสตางค์เรามีรูรั่วตรงไหน หรือใครเอาเงินของเราไป ทางเดียวที่ทำได้คือ
ต้องจด...จด...จด... สะกดรอยตามมัน ลองจดให้ครบเจ็ดวัน แล้วคุณจะรู้ว่าใครเอาเงินของคุณไป

อย่าลืม!!! สรุปยอดรวมของ “รายรับ” กับ “รายจ่าย” ในแต่ละเดือน เพื่อช่วยย้ำเตือนว่าคุณบริหารเงิน
เป็นหรือไม่ หมั่นตรวจสอบดู... ได้เงินมากับใช้จ่ายไป ส่วนไหนที่มากกว่ากัน

ได้เงินมากับใช้จ่ายไป คุณมีส่วนไหนมากกว่ากัน?
เชื่อหรือไม่!!! หาเงินได้เท่าไหร่ไม่สำคัญ สำคัญที่ใช้เท่าไหร่ต่างหาก เพราะในแต่ละเดือน เงินจะพอหรือไม่พอ
ขึ้นอยู่กับ “นิสัยใช้เงิน” ของแต่ละคน


จากจุดเริ่มต้นเดียวกัน แต่นิสัยใช้เงินต่างกัน ทางเดินชีวิตย่อมต่างกัน
แล้วคุณล่ะ... อยากมีทางเดินชีวิตแบบไหน ล้มละลายหรือเศรษฐีเงินล้าน???
บ่อยครั้ง... คนที่เริ่มเดือดร้อนเรื่องเงินยังไม่ตระหนักถึงสถานะของตนเอง เพราะไม่มีไฟแดงกระพริบเตือน
เป็นสัญญาณให้ทราบว่า กำลังใช้จ่ายเกินตัว กินอยู่เกินฐานะ และอนาคตกำลังจะลำบาก ลองสังเกตดูว่าคุณมีอาการ
เหล่านี้หรือไม่ เพราะหลายคนกว่าจะรู้ว่ามีปัญหาทางการเงิน ก็เกือบเอาตัวไม่รอดแล้ว


คุณมีสัญญาณเตือนภัยการใช้เงินเกินตัวบ้างไหม?
คุณรึเปล่า... ที่ซื้อเสื้อผ้าเพียงเพราะว่ามันกำลังลดราคาอยู่ หนักกว่านั้นคือเสื้อผ้าบางตัวยังถูกเก็บไว้ในตู้อย่างดี
ไม่เคยนำออกมาใส่เลยสักครั้ง หากจะว่ากันไป ก็เหมือนคุณเอาเงินไปเก็บไว้ในตู้เฉยๆ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
หรือออกดอกออกผลใดๆ ลองพิจารณาคำแนะนำเหล่านี้ เพื่อลดการใช้จ่ายเงินที่ไม่จำเป็นลงกันดีกว่า

ซื้อเท่าที่จำเป็น
ก่อนควักเงินออกจากกระเป๋า ลองชั่งใจดูสักนิดว่าจำเป็นหรือไม่ หากจำเป็นต้องใช้ค่อยซื้อ ที่สำคัญ...
อย่าลืมเปรียบเทียบราคา คุณภาพ และโปรโมชั่นต่างๆ ก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง


ติดตามการใช้เงินของตัวเอง
คุณสามารถติดตามการใช้จ่ายของตัวเองได้จากการเก็บใบเสร็จ ป้ายราคาสินค้า หรือสลิปบัตรเครดิตและเอทีเอ็ม
เมื่อเห็นว่ากระเป๋าตุงขึ้นเรื่อยๆ ให้ลองหยิบขึ้นมาดู และสำรวจว่าคุณได้ใช้จ่ายไปมากแค่ไหนแล้ว


ทิ้งบัตรเครดิตไว้ที่บ้าน
ทุกครั้งที่คุณต้องการควบคุมค่าใช้จ่ายของตัวเอง คุณควรทิ้งบัตรเครดิตไว้ที่บ้าน เพราะคนเรามักเก็บเงินสด
ไว้เพียงเล็กน้อย แล้วใช้บัตรเครดิตในการซื้อของ พยายามสร้างนิสัยการใช้จ่ายใหม่ด้วยการใช้เงินสดแทนการ
รูดปรื๊ดๆ


ไม่ซื้อของตามแรงกระตุ้น
ทุกครั้งที่ไปซื้อของคุณควรคิดให้ดีก่อนว่าต้องการสินค้านั้นจำนวนเท่าไร อย่าให้แรงกระตุ้นของพนักงานขาย
ทำให้คุณไขว้เขว เพราะคุณอาจได้สินค้าที่เกินความจำเป็น และเสียเงินไปอย่างเปล่าประโยชน์ฯลฯ

เมื่อคุณสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสมและสามารถเก็บออมเงินได้มากขึ้น คุณก็จะมีเงินเหลือ
ไว้สำหรับลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับตนเองในอนาคตมากขึ้นเช่นกัน

คุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่า... ที่เอาเงินไปเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้า?
“จะทำยังไงดี... เงินเดือนที่ได้มาดูท่าจะไม่พอใช้หนี้ ไหนจะค่ากินค่าอยู่อีก” แบบนี้... ก็ถึงเวลาที่คุณ
ต้องมานั่งรื้อ ปรับ ขยับวิถีชีวิตแบบเดิมๆ พร้อมทบทวนพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินในแบบของคุณว่ามีอะไรที่พอจะลด
ละเลิกออกไปได้บ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เงินรั่วไหลออกจากกระเป๋า ลองมาดู “วิธีหั่นรายจ่าย เพิ่มรายได้” ง่ายๆ
ที่คุณอาจมองข้ามไป


นอกจากเคล็ดลับต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว เชื่อว่า... แต่ละคนยังมีเคล็ดลับในการตัด หั่น หรือเฉือนรายจ่าย และ
เพิ่มรายได้อีกหลากหลายรูปแบบที่ไม่ซ้ำกัน ยังไงก็รีบลงมือซะตั้งแต่วันนี้ จะได้มีเงินพอใช้ ไม่ต้องก่อหนี้เพิ่ม

ลองบอกเคล็ดลับการ “เฉือนรายจ่าย” ในแบบของคุณมาสัก 5 วิธี?
ป้องกันรูรั่วจากการหลงลืม
เป็นครั้งที่เท่าไหร่แล้วน๊า!!! ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยล่าช้า หรือค่าปรับจากการไม่จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบัตรเครดิต
ตามกำหนด แต่ไม่ว่าจะเกิดจากการหลงลืม หรือจงใจผิดนัดชำระเงินใดๆ ก็ตาม ค่าใช้จ่ายเหล่านี้คือรูรั่วที่ไม่ควรเกิดขึ้น
ในชีวิตเรา ลองสร้างปฏิทินส่วนตัวขึ้นมาสักใบ เพื่อป้องกันรายจ่ายที่เป็นรูรั่วเหล่านี้ดูดีกว่า...

อาทิตย์
จันทร์
อังคาร
พุธ
พฤหัส
ศุกร์
เสาร์
1
ค่าผ่อนบ้าน
234
ค่าบัตรเครดิต
56
78910
ค่ามือถือ
11
ค่าเคเบิลทีวี
1213
141516
ค่าไฟฟ้า
17
ค่าน้ำประปา
181920
21
ค่าผ่อนแอร์
22232425ค่าโทรศัพท์บ้าน
ค่าอินเทอร์เน็ต
2627
282930
ค่าผ่อนรถ
31

นอกจากการสร้างปฏิทินส่วนตัวจะช่วยป้องกันรายจ่ายที่ไม่ควรต้องเสียอย่างดอกเบี้ยล่าช้าหรือค่าปรับต่างๆ
ได้แล้ว ยังช่วยให้คุณวางแผนเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายล่วงหน้าได้อีกด้วย เช่น คุณรู้ว่าทุกวันที่ 21 คุณต้องจ่ายค่าผ่อนแอร์
ฉะนั้น ทันทีที่เงินเดือนออก คุณก็สามารถกันเงินส่วนหนึ่งเตรียมไว้จ่ายค่าผ่อนแอร์ก่อนได้ พอถึงเวลาที่ต้องจ่ายจริงๆ
จะได้ไม่ต้องไปวิ่งหาเงินมาจ่ายให้วุ่นวาย
วันนี้... คุณป้องกันรู้รั่วจากการหลงลืมของคุณบ้างหรือยัง?
เทคนิคการช้อปปิ้งอย่างฉลาด
ในแต่ละเดือนคุณอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องบริหารจัดการอยู่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายสำหรับ
ของกินของใช้ภายในบ้าน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ในแต่ละเดือน แต่หากคุณสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้
ก็จะช่วยประหยัดเงินและทำให้คุณมีเงินเหลือเก็บออมมากขึ้นด้วย

จดรายการสิ่งของที่ต้องซื้อก่อนช้อปปิ้ง
ก่อนซื้อของ คุณควรจดรายการสินค้าที่ต้องการ และมุ่งตรงไปยังรายการของที่จดมาเท่านั้น อย่าหลวมตัวซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น เพียงเพราะสินค้านั้นมีโปรโมชั่นใหม่ๆ

คูปองส่วนลดพิเศษ
ซุปเปอร์มาร์เก็ตมักแจกคูปองส่วนลดพิเศษ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการในโอกาสต่อไป เมื่อคุณได้รับ
คูปองต่างๆ ควรตรวจดูว่าคูปองหมดอายุเมื่อไหร่ และใช้คูปองส่วนลดนั้นในการซื้อของใช้จำเป็น เช่น ผงซักฟอก ยาสีฟัน สบู่ ฯลฯ


เปรียบเทียบราคาสินค้ากับปริมาณ
เพื่อให้ได้สินค้าที่ต้องการในราคาที่ดีที่สุด คุณอาจต้องเปรียบเทียบยี่ห้อและดูปริมาณพราะบางครั้งผู้ผลิตทำแพคเกจ
ที่มีรูปร่างแตกต่างกันไป แพคเกจที่ดูใหญ่อาจมีปริมาณน้อยกว่ายี่ห้อที่มีแพคเกจเล็กกว่าก็ได้


รู้แหล่งซื้อของถูก
การรู้จักแหล่งซื้อของถูกจะช่วยให้คุณประหยัดเงินได้ แม้เล็กน้อย แต่หากรวมกันหลายครั้งเข้าก็เป็นเงินจำนวนมาก
เลยทีเดียว

ปลูกผักสวนครัวไว้ในบ้านบ้าง
การปลูกผักสวนครัวที่ใช้เป็นประจำ เช่น ผักชี กระเพรา โหระพา พริก มะนาว ฯลฯ ไว้ใช้เองบ้าง จะช่วยให้คุณ
ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง ทั้งยังเป็นกิจกรรมยามว่างที่เพลิดเพลินอีกด้วย

นอกจากนี้ คุณต้องช่วยกันประหยัดค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ ภายในบ้าน ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ โดยไม่เปิดน้ำและไฟ
ทิ้งไว้โดยไม่จำเป็น หรือเลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าติดฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ฯลฯ เมื่อสมาชิกภายในบ้าน
ร่วมมมือร่วมใจกันใช้จ่ายอย่างประหยัดเช่นนี้แล้ว เชื่อได้ว่ารายจ่ายภายในบ้านจะลดลง และช่วยเพิ่มเงินออม
ของครอบครัวได้มากขึ้น

ลองแนะนำเทคนิคช้อปปิ้งอย่างชาญฉลาดในแบบของคุณมาสัก 5 ข้อ
ผ่านให้ได้ “วันไม่ซื้อ”
คุณรู้หรือไม่... วันไม่ซื้อ หรือ
Buy Nothing Day
มีจริงๆ ในโลก!!!
แถมมีมาตั้งแต่ปี 1992 แล้วที่เมืองแวนคูเวอร์
ประเทศแคนาดา โดยมูลนิธิสื่อแอดบัสเตอร์
ของ Kalle Lasn และ Bill Schmalz
อดีตนักโฆษณาที่เกือบจะสิ้นเนื้อประดาตัว
ด้วยการช้อปปิ้ง ก่อนที่จะผันตัวเองมาเป็น
ศิลปินและนักรณรงค์ ซึ่งจุดประสงค์ของเขา
ก็เพื่อเรียกสติให้ผู้คนรู้จักพอ และงดไม่ซื้อบ้าง
อย่างน้อยก็หนึ่งวันในรอบปี

ส่วนในบ้านเรานั้น การรณรงค์ “ไม่ซื้อ”
เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อต้นปี 2551 โดยนักรณรงค์
กลุ่มเล็กๆ ที่เรียกตัวเองว่า “ต้นกล้า” และ
“วีเชงจ์” ภายใต้ชื่อกิจกรรม
“สัปดาห์ไม่ซื้อ”
คำว่า “ไม่ซื้อ” ไม่ได้หมายความว่าไม่ซื้อ
อะไรเลย แต่ให้รู้จัก “คิดก่อนซื้อ”...
ว่าสิ่งที่ซื้อคืออะไรจำเป็นไหม ใช้แล้วมีผลกระทบ
อะไรทั้งต่อตัวเอง สังคม และสภาพแวดล้อม
ที่สำคัญคือ...
คุณภาพชีวิตจะดีขึ้นเพราะการซื้อจริงหรือ


มาเปลี่ยน “วันช้อปไม่ยั้ง” เป็น “วันยั้งไม่ซื้อ” กันดีกว่า!!!
พักร้อนอย่างประหยัดและคุ้มค่า
หลายคนอาจกำลังมองหาช่วงเวลาที่จะพักผ่อนประจำปี เพื่อเติมพลังให้กับตนเองและพร้อม ที่จะใช้เงินที่
เก็บหอมรอมริบมานานไปกับทริปในฝัน แต่ไม่ว่าจะไปเที่ยวภูเขา เดินป่า ชมทะเล เล่นน้ำตก เดินเล่นในไร่ หรือที่ใดๆ
ก็จำเป็นที่ต้องมีการวางแผนที่ดี เพื่อให้การเดินทางครั้งนี้เป็นทริปที่ประทับใจ ไม่ทำให้เสียทั้งเงินและเวลา

วางแผนและเก็บเงินล่วงหน้า
ก่อนตัดสินใจเดินทางไปพักผ่อนที่ใด ควรเลือกสถานที่และกำหนดงบที่ต้องใช้ไว้ล่วงหน้า เพราะหากตอนนี้
มีเงินไม่พอ คุณจะได้หาทางประหยัดเงินในกระเป๋าได้ทัน


เที่ยววันธรรมดา
ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการเที่ยวในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ แถมยังมีความสุขในการพักผ่อน
อย่างแท้จริง ไม่ต้องแย่งกันกิน แย่งกันเที่ยวอีกด้วย

เปรียบเทียบราคาอย่างถี่ถ้วน
หากคุณจะไปกับบริษัททัวร์ คุณควรเปรียบเทียบราคาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อทัวร์ เพื่อให้ได้ข้อเสนอ
ที่ดีทีสุด


ศึกษาแหล่งท่องเที่ยวที่จะไป
วางแผนท่องเที่ยวอย่างรอบคอบ ศึกษาทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่จะไป แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง ร้านอาหารพื้นเมือง
ที่แนะนำ พร้อมสำรวจเส้นทางให้ครบถ้วน เพื่อให้ใช้เวลาและเงินของคุณได้อย่างคุ้มค่าที่สุด


จัดสรรงบประมาณในการช้อปปิ้ง
ลิสต์รายชื่อคนที่จะซื้อของไปฝาก และจัดสรรงบประมาณขึ้นมาก้อนหนึ่ง เพื่อบังคับตนเองไม่ให้ใช้จ่ายเกินกว่า
ที่ควรจะเป็น

คุณมีเงินเก็บไว้เที่ยวหลบลมร้อนครั้งต่อไปแล้วหรือยัง?
วางแผนหนี้สิน


“ชีวิตที่ปลอดหนี้”
เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง การประคับประคองตัวไม่ให้เป็นหนี้ในยุคนี้
แสนจะลำบากยากเย็น เพราะไม่ว่าจะเดินไปทางไหนล้วนเจอแต่หนทางสร้างหนี้แบบง่ายๆ ได้รอบด้าน ทั้งตีนสะพานลอย
บนสถานีรถไฟฟ้า หน้าห้างสรรพสินค้า หรือแม้กระทั่งทางสายโทรศัพท์ หลายคนจึงรู้จักและคุ้นเคยกับหนี้เป็นอย่างดี
เพราะเดี๋ยวนี้ ใครๆ ก็พากันกู้ซื้อบ้าน ผ่อนรถ กดเงินสด กู้เงินด่วน หรือรูดบัตรเครดิตกันทั้งนั้น


หากจะว่ากันไป... “การเป็นหนี้”
ก็ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายหรือเป็นเรื่องเสียหายไปซะทั้งหมด และหนี้ก็ไม่ได้มีแต่
่ แง่มุมในด้านลบเท่านั้น หากแต่แง่บวกของหนี้ก็ยังมีเช่นกัน ถ้าเรารู้จักเป็นหนี้ให้ถูกวิธี หนี้ก็อาจจะกลายเป็นเครื่องมือสร้าง
ความมั่งคั่ง ร่ำรวยให้กับเราได้


หนี้ในโลกนี้จึงมีทั้ง “หนี้ดี” และ “หนี้ไม่ดี”ซึ่งกุญแจสำคัญในการแยกหนี้ดีและหนี้ไม่ดี
ออกจากกัน ก็คือ “วัตถุประสงค์ของการก่อหนี้”
และ “ผลลัพธ์ที่เกิดจากการก่อหนี้”
ของบุคคลนั้น


แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า... ภาระหนี้
ในปัจจุบันของเรานั้น เป็น
“หนี้ดี”
หรือ
“หนี้ไม่ดี”

คำตอบง่ายๆ หมั่นท่องจำไว้ว่า...
สิ่งที่จะเรียกว่าเป็น “หนี้ดี” ได้นั้น จะต้องทำให้เรามั่งคั่งขึ้น กล่าวคือมีรายได้ หรือ ทรัพย์สินเพิ่มขึ้น และที่สำคัญ
ต้องไม่กระทบต่อสภาพคล่องในการดำรงชีวิตประจำวัน หากตกเรื่องความมั่งคั่ง หรือสภาพคล่องข้อใดข้อหนึ่งไป
จะถือว่าหนี้นั้นเป็น “หนี้ไม่ดี” ทันท

ตัวอย่างเช่น
นายเอกกู้เงินซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย 1 หลัง แม้ว่านายเอกจะต้องจ่ายค่าผ่อนบ้านเป็นประจำทุกเดือน แต่นายเอก
ก็มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นจากการค่อยๆ สะสมความเป็นเจ้าของ (เงินต้นที่ไปหักหนี้ออกทุกเดือน) รวมไปถึงมูลค่าบ้านและ
ที่ดินที่สูงขึ้นตามเวลา อย่างนี้ถือว่าการซื้อบ้านสามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับนายเอกได้

คำถามต่อมาจึงอยู่ที่ว่า... จำนวนเงินผ่อนรายเดือนทำให้นายเอกมีปัญหาสภาพคล่องหรือเปล่า? ถ้าซื้อบ้านแล้วไม่มี
ปัญหาสภาพคล่อง ก็จะว่าถือว่าบ้านหลังนี้เป็นหนี้ดี แต่ถ้าส่งบ้านแล้วทำให้เงินไม่พอใช้ อย่างนี้ก็ถือเป็นหนี้ไม่ดี

หรือหาก น.ส.บีม กู้เงินมาเรียนต่อปริญญาโท ด้วยเหตุที่ว่าการศึกษาต่อทำให้คนเรามีวิชาความรู้เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้ม
ที่จะทำให้มั่งคั่งได้ในอนาคต ดังนั้น การจะพิจารณาว่าการกู้ยืมเพื่อการศึกษาสร้างหนี้ดีหรือไม่ดี ก็ให้ดูที่ความสามารถ
ในการผ่อนชำระคืนเช่นกัน

สุดท้ายเป็นตัวอย่างสุดคลาสสิค นั่นคือ การกู้เงินซื้อรถยนต์ หากพิจารณาจากเกณฑ์ความมั่งคั่งจะพบว่า...
การซื้อรถยนต์นั้น จัดเป็นหนี้ไม่ดีทันที เพราะภายหลังจากเราถอยรถออกจากโชว์รูมหรือเต้นท์ ไม่มีทางเลยที่มูลค่ารถยนต์
ของเราจะเพิ่มขึ้น มีแต่เสื่อมลงเรื่อยๆ

แต่สำหรับกรณีของรถยนต์นั้น อาจต้องพิจารณาให้ลึกซึ้งขึ้นอีกนิด เพราะแม้ว่ามูลค่าของรถจะไม่มีทางเพิ่มขึ้น
แต่หากการซื้อรถทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของเราลดลง (ค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระ ค่าน้ำมัน และค่าดูแลรักษา
น้อยกว่า ค่าเดินทางที่ต้องจ่ายอยู่เดิม) หรือหากการมีรถยนต์ทำให้เราสามารถรับงานพิเศษที่สร้างรายได้ให้มากขึ้นได้
เพียงพอที่จะจัดการกับค่าใช้จ่าย และทำให้มีเงินเหลือออมมากขึ้น อย่างนี้การซื้อรถยนต์ก็สามารถสร้างความมั่งคั่ง
ให้เราได้เช่นกัน

จะเห็นว่าแนวคิดเรื่อง “หนี้ดี” และ “หนี้ไม่ดี” ค่อนข้างต้องอาศัยการไตร่ตรองที่ลึกซึ้งมากกว่าที่จะใช้เกณฑ์ใดๆ
ตัดสินตายตัว เพราะท้ายที่สุดแล้ว... เชื่อว่าคงไม่มีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดสำหรับปัญหาทางการเงิน มีเพียงคำตอบที่
เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละบุคคลเท่านั้น ที่สำคัญที่สุดก็คือ เราต้องสามารถพินิจพิเคราะห์โจทย์ปัญหาทางการเงินของเรา
ได้เอง และแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ นั่นต่างหากคือหนทางที่จะทำให้เราอยู่รอดปลอดภัยจากปัญหาทางการเงินได้

ทางที่ดี... ถ้ายังไม่เป็นหนี้ ก็อย่าพยายามสร้างหนี้ แต่เมื่อหลวมตัวเป็นหนี้ไปแล้ว ก็พยายามควบคุมหนี้ทุกประเภท
อย่าให้เกิน 50% ของรายได้ อย่าลืมว่าในแต่ละเดือนคุณยังต้องกินต้องใช้ หากสร้างหนี้กองพะเนินเอาไว้แล้ว
คุณจะเอาเงินที่ไหนใช้จ่ายเพื่อดำรงชีวิต

โดยสรุป “การมีหนี้” ไม่ใช่ปัญหาหรืออุปสรรคที่ทำให้คนเราไม่ร่ำรวย เพราะในโลกนี้มีทั้งหนี้ที่สร้างสรรค์คุณภาพชีวิต
ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับสุขภาพทางการเงิน (หนี้ดี) และหนี้ที่ไม่สร้างสรรค์ แถมบั่นทอนสุขภาพทางการเงิน (หนี้ไม่ดี)
แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า... เราเลือกสร้างหนี้ประเภทไหนให้กับชีวิตของเราต่างหาก

มาถึงตรงนี้... ลองสำรวจตัวเองดูสักนิดว่าตอนนี้คุณมีหนี้อยู่หรือไม่? “ถ้ามี” จัดเป็นหนี้ประเภทใดมากกว่ากัน
ระหว่างหนี้ดีกับหนี้ไม่ดี ถ้าคำตอบ คือ ไม่มีหนี้หรือมีแต่หนี้ดี ก็ต้องขอแสดงความยินดีด้วย และทำนายได้เลยว่า
คุณมีสิทธิที่จะมั่งคั่งได้ในอนาคต แต่ถ้าคุณมีหนี้และเป็นหนี้ไม่ดีด้วยละก็ บอกไว้เลยว่า “ความมั่งคั่ง” กับชีวิตของคุณ
ยังคงเป็นเพียงเส้นขนาน
“กู้วันนี้... ดอกเบี้ย 0% นาน 15 เดือน” หรือ “ไม่มีเงินสด รถคุณช่วยได้” สารพัดสารพันสิ่งล่อใจที่พร้อมจะดึงให้คุณก้าวสู่วงจรแห่งหนี้ มารู้ตัวอีกทีก็หลวมตัวกู้ไปเสียแล้ว หากไม่อยากให้หนี้ี้สร้างปัญหาให้คุณในอนาคต ลองหยุดคิดและใช้ Checklist ถามตัวเองก่อนก่อหนี้ ดังนี้
คำถามที่หยุดคิด
A
B
เรากำลังเป็นหนี้เพราะความจำเป็น (Need) หรือความต้องการ (Want)
จำเป็น
ต้องการ
เราจะมีเงินเพียงพอผ่อนชำระหนี้ไปตลอดรอดฝั่งหรือไม่
ใช่
ไม่แน่ใจ
ยอดเงินผ่อนหนี้จะมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราหรือไม่
ไม่มี
ไม่แน่ใจ
ดอกเบี้ยต่องวดและดอกเบี้ยทั้งหมดที่ต้องจ่ายคุ้มค่ากับการเป็นหนี้หรือไม่
ใช่
ไม่แน่ใจ
ถ้าไม่เป็นหนี้วันนี้... เดือนหน้าเราจะเดือดร้อนหรือไม่
ใช่
ไม่
มีทางเลือกที่ดีกว่านี้จากเจ้าหนี้รายอื่นหรือหนี้ประเภทอื่นหรือไม่
ไม่มี
ไม่แน่ใจ
มีทางเลือกอื่นๆ นอกจากการเป็นหนี้ใช่หรือไม่
ไม่มี
ไม่แน่ใจ

ถ้าคำตอบของใครเป็นข้อ A ทั้งหมด แสดงว่าการก่อหนี้ครั้งนี้... มีเหตุผลมากเพียงพอ และไม่น่าจะมี ปัญหาทางการเงินในอนาคต
คุณกำลังจะก่อหนี้โดยไม่จำเป็นหรือเปล่า? ลองใช้ Checklist ดูหรือยัง?
รู้หรือไม่... วิธีคิดดอกเบี้ยที่ต่างกัน จะทำให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายแตกต่างกันด้วย หลายคนจำต้องจ่าย
ดอกเบี้ยบานตะไท เพียงเพราะไม่รู้ว่าเจ้าหนี้มีวิธีคิดดอกเบี้ยอย่างไร ตัวอย่างข้างล่างนี้คงพอทำให้คุณเข้าใจ
วิธีคิดดอกเบี้ยมากขึ้น

เพราะต้องการความสะดวก นายสะดวกจึงใช้บริการเงินผ่อนของร้านผู้ขาย ซึ่งคิด “ดอกเบี้ยแบบคงที่”คือคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นทั้งก้อน 200,000 บาท ส่วนนายสบายยอมเสียเวลาไปหาเงินกู้ที่คิด “ดอกเบี้ยแบบ
ลดต้นลดดอก
” ทำให้ผ่อนน้อยกว่าและจ่ายดอกเบี้ยน้อยกว่านายสะดวกถึง 32,868 บาท

คุณชอบแบบซื้อสะดวกวันนี้หรือผ่อนสบายวันหน้า?
ในยุคที่ “หนี้” กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนส่วนใหญ่ “การมีหนี้” จึงไม่ใช่เรื่องเสียหายร้ายแรง
อีกต่อไปหากรู้จักควบคุมหนี้ให้พอเหมาะพอดี เพราะ “หนี้” ไม่ต่างอะไรกับไขมันในเส้นเลือด หากปล่อยให้มี
มากเกินไป ย่อมเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ทางการเงิน) ของตัวคุณเอง

ลองมาดูกันว่า... ในแต่ละเดือน เราควรชำระหนี้ประมาณเท่าไหร่จะได้ไม่เป็นภาระมากจนเกินไป

หนี้บัตรเครดิต
พยายามควบคุมการรูดบัตรและการชำระหนี้อื่นๆ อย่างสินเชื่อส่วนบุคคลหรือผ่อนสินค้า ไม่ให้เกิน 10% - 20%
ของรายได้


หนี้ผ่อนบ้าน
ค่าใช้จ่ายในการผ่อนบ้านที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 30% ของรายได้ แต่ถ้าคุณไม่มีภาระหนี้สินอื่นๆ ก็สามารถ
เพิ่มเป็น 50% ได้ เพราะยิ่งคุณผ่อนมากเท่าไหร่ หนี้ก็ยิ่งหมดเร็วเท่านั้น


หนี้ผ่อนรถ
จำนวนเงินที่ใช้ผ่อนรถในแต่ละเดือน ควรอยู่ราวๆ 20% ของรายได้ หากมากกว่านี้อาจหนักเกินไป
หนี้สินรวม
ไม่ว่าคุณจะกู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อรถ เป็นหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้สายพันธุ์ไหนก็ตาม ไม่ควรให้เงินที่ต้องจ่ายหนี้ทั้งหมด
เกินกว่า 50% ของรายได

ในแต่ละเดือนคุณชำระหนี้สินทั้งหมดเท่าไหร่? มากกว่า 50% หรือเปล่า?
ทุกวันนี้... ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ล้วนเจอแต่คนเป็นหนี้รอบด้าน ทั้งๆ ที่รู้ว่าหนี้เป็นสิ่งที่ “สร้างง่าย
แต่กำจัดยาก”
แต่คนส่วนใหญ่เมื่อหลังชนฝา ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร ก็พร้อมใจกันหันไปหาบรรดาเงินกู้
หลากหลายสายพันธุ์ จะหนี้ในระบบก็ดีหรือจะหนี้นอกระบบก็ได้

แล้ว “หนี้ในระบบ” กับ “หนี้นอกระบบ” แตกต่างกันอย่างไร?

ถ้าจำเป็นต้องกู้ คุณจะกู้แบบไหน... ในหรือนอกระบบ?
“ไม่ได้รับอนุมัติสินเชื่อ เพราะติดแบล็กลิสต์จากเครดิตบูโร”
หลายคนคงคุ้นหูกับคำพูดนี้... ทั้งที่จริงแล้วเครดิตบูโรไม่ได้เป็นผู้จัดแบล็กลิสต์ของลูกหนี้ แต่จะ
ทำหน้าที่รวบรวมประวัติการขอและการชำระหนี้ของ
ลูกหนี้ตามข้อเท็จจริงว่าเป็นเช่นใด
หากลูกหนี้มีประวัติ
การชำระเงินดี จ่ายเงินตรงเวลา ก็จะสร้างความเชื่อมั่น
ให้สถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้เร็วยิ่งขึ้น
แต่จะอนุมัติหรือไม่นั้น สถาบันการเงินจะพิจารณาข้อมูลอื่นๆ ประกอบ เช่น รายได้ หลักประกัน ผู้ค้ำประกัน

ส่วน
“แบล็กลิสต์หรือบัญชีดำ” เป็นเรื่องของแต่ละสถาบันการเงิน เช่น เคยกู้เงินธนาคาร
ABC แล้วไม่จ่ายหนี้หรือจ่ายล่าช้าเป็นประจำ
อย่างนี้แหละ... ที่เป็นแบล็กลิสต์ของธนาคาร ABC
ซึ่งสถาบันการเงินอื่นๆ จะเห็นว่าคุณมีหนี้ของธนาคาร ABC ที่ยังค้างชำระอยู่จากข้อมูลของเครดิตบูโร
เมื่อชำระหนี้หมด ก็ไม่มีแบล็กลิสต์ของธนาคาร ABC แล้ว แต่ประวัติที่เคยผิดนัดชำระหนี้ธนาคาร ABC จะติดแน่น
คงอยู่ในเครดิตบูโรไปอีก 3 ปี หลังพ้น 3 ปีไปแล้ว
คุณจึงจะสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ขาวสะอาด (ปราศจากประวัติผิดนัดชำระหนี้) ได้เหมือนคนทั่วไป
ทางที่ดี... คุณควรชำระหนี้ให้ครบถ้วนและตรงเวลาทุกครั้ง เพราะ “เครดิต” เปรียบเหมือน “ความดี”
คือ “สร้างไม่ง่าย แต่ถูกทำลายไม่ยาก” หมั่นดูแลรักษาเครดิตของคุณให้เหมือนกับการรักษาความดี
แล้วชีวิตทางการเงินของคุณจะมีความสุขขึ้นอีกเยอะเลย

“เครดิตบูโร” กับ “แบล็กลิสต์” อะไรน่ากลัวว่ากัน?
บัตรเครคิต


ในยุคนี้ใครไม่มีบัตรเครดิตคงเชยสิ้นดี เพราะบัตรเครดิตกลายเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่
ไปซะแล้ว ยิ่งกระแสโฆษณาที่โหมชวนเชื่อให้หลายคนเคลิ้มไปว่า นี่คือเทรนด์ของคนยุคใหม่ ความเก๋ไก๋ทันสมัย และเป็น
ปัจจัยห้าที่แค่ “รูดปรื๊ด” ก็เนรมิตฝันให้เป็นจริงได้สารพัด

ทั้งหลายทั้งปวงนี้แหละ... ที่ทำให้คนที่ถือบัตรเครดิตจำนวนไม่น้อยพลาดท่าเดินตกหลุมพรางของบัตรที่หยิบยื่น
ความสะดวกสบายให้ หลายคนจึงรูดกันสบายมือ เผลอแป๊ปเดียว หนี้ท่วม!!!

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ถือบัตรเครดิตอยู่ ก็อย่าเพิ่งมอง
บัตรเครดิตในแง่ลบ เพราะแม้จะสร้างหนี้สินบานเบอะ จนบางที
นำไปสู่หายนะทางการเงิน แต่บัตรเครดิตก็ยังมีข้อดีมากมาย
ขอเพียงแค่คุณใช้ให้เป็น ใช้อย่างมีสติ และใช้อย่างชาญฉลาด
เท่านั้นเอง

มารู้จักกับวิธีการใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาดที่คุณเอง
ก็ทำได้ อันดับแรกไม่ต้องพกพาบัตรอำนวยความสะดวกหลายใบ
หรอก “พกและใช้แค่ใบเดียวก็เกินพอ” แต่ในกรณีที่จำเป็น
ต้องใช้บัตรเครดิตหลายๆ ใบ ก็อย่าลืมพิจารณาวันตัดยอดของ
บัตรเครดิตแต่ละใบ เพื่อให้การใช้บัตรเครดิตเกิดประโยชน์สูงสุด
ในเรื่องระยะเวลาปลอดหนี้ ต้องบันทึกและรวบรวมรายละเอียด
ค่าใช้จ่ายของบัตรแต่ละใบอย่างละเอียด จะได้รู้ว่าในแต่ละเดือน
คุณมีภาระต้องชำระเท่าไหร่ และบัตรใบไหนต้องชำระ
ค่าธรรมเนียมรายปีเมื่อไหร

ถ้าไม่แน่ใจในนิสัยและพฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตของตนเอง ควรคุมเข้มด้วยการยกเลิกบัตรเครดิตให้เหลือ
เพียงใบเดียว เลือกใช้บัตรที่คุณชำระเงินได้สะดวกที่สุดและให้เงื่อนไขดีที่สุด ประมาณว่าฟรีค่าธรรมเนียมตลอดชีพ หรือให้
ส่วนลดและสิทธิประโยชน์กับการใช้จ่ายของคุณมากที่สุด

ที่สำคัญ... ก่อนรูดบัตรเครดิตทุกครั้ง ขอให้ “คิดหน้าคิดหลังก่อนใช้” เพราะ บัตรเครดิต คือ บัตรซื้อก่อน
ผ่อนทีหลัง ฉะนั้น ก่อนจะควักบัตรจากกระเป๋ามารูดทุกครั้ง คิดหน้าคิดหลังก่อนว่าสินค้าหรือข้าวของที่เรากำลังจะซื้อนั้น
สมเหตุสมผลหรือไม่ จำเป็นแค่ไหน ถ้าแค่บำบัดความอยาก เป็นของฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ หรือใช้รูดเพื่อปรนเปรอ
ความสะดวกสบายก็ขอให้คิดตรึกตรองอย่างถ้วนถ
ี่
พูดง่ายๆ คือ ใช้อย่างมีสตินั่นเอง เช่น ตอนนี้คุณอยากได้เครื่องสำอางที่เพิ่งบินลัดฟ้ามาเปิดตัวในบ้านเราเหลือเกิน
ทั้งที่คุณเองเพิ่งซื้ออีกยี่ห้อหนึ่งมาได้ไม่กี่วัน แบบนี้ถือว่าไม่จำเป็น ตัดใจได้ก็ตัดซะ!!!

ข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ถ้าไม่เดือดร้อนหรือจำเป็นจริงๆ อย่ากดเงินสดจากบัตรเครดิตมาใช้เป็นอันขาด แม้ว่า
การเบิกเงินสดล่วงหน้าจะเป็นสิทธิประโยชน์ที่ดูดี ช่วยให้คุณพ้นจากภาวะเงินขาดมือได้ในบางช่วงที่ชีวิตขาดแคลนสภาพคล่อง
แต่เมื่อไหร่ที่เบิกเงินสดออกมาใช้ รู้ไว้ด้วยว่า... ต้องเสียทั้งค่าธรรมเนียมจากการเบิกเงินสดและดอกเบี้ยที่คุณไม่อาจปฏิเสธได้

เท่านั้นยังไม่พอ ยังต้อง “ตีกรอบตัวเอง” วิธีนี้เป็นการตัดไฟเสียแต่ต้นลม เริ่มจากคุณต้องรู้จักตัวเองเสียก่อนว่า
ในแต่ละเดือนมีรายได้และค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ มีเงินเหลือเพียงพอต่อการจับจ่ายใช้สอยได้เดือนละเท่าไหร่ นั่นจะทำให้รู้ว่า...
ในแต่ละเดือนคุณควรจะสร้างหนี้ได้แค่ไหน

อย่าเชียว... อย่ามัวหลงระเริงกับตัวเลขวงเงินที่สถาบันการเงินอนุมัติให้ใช้ ถ้าเป็นไปได้ควรตั้งกฎเหล็กตีกรอบตนเอง
พยายามใช้บัตรเครดิตในแต่ละเดือนไม่ให้เกิน 15% – 20% ของรายได้ แต่ถ้าจะให้ดีขีดเส้นตัวเองไว้ที่ 10% ก็น่าจะ
เพียงพอแล้ว เช่น คุณมีเงินเดือน 30,000 บาท คุณก็รูดบัตรเครดิตแค่ 3,000 บาทกำลังดี

เมื่อรักที่จะก้าวเข้าสู่ระบบใช้ก่อนผ่อนทีหลัง ก็ต้อง “มีวินัยในการชำระเงิน” ท่องจำให้ขึ้นใจว่า “อย่าเบี้ยวหนี้” เมื่อไหร่ที่คิดเบี้ยวหนี้ในระบบทุกรูปแบบ ข้อมูลของคุณจะถูกบันทึกไว้ในเครดิตบูโร นั่นเท่ากับว่าอนาคตและเครดิตทางการเงิน
ของคุณดับวูบลงในพริบตา คราวนี้แหละ... คุณจะทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงินไหนๆ ก็ยากและติดขัดไปหมด

โปรดจำไว้เลยว่าหนี้บัตรเครดิตนั้น ดอกเบี้ยทั้งโหดทั้งแพง ชนิดที่เผลอแป๊ปเดียวกลายเป็นดินพอกหางหมู ยิ่งเวลา
คุณผิดนัดชำระ สถาบันการเงินจะชาร์จดอกเบี้ยในอัตราที่แพงน่าใจหาย

ดังนั้น เมื่อได้รับการแจ้งยอดหรือทวงถามจากสถาบันการเงินแล้ว ต้องมีวินัยในการชำระเงิน รีบจ่ายให้ตรงเวลา และ
ควรชำระให้ครบตามจำนวนเงินที่เราได้จับจายใช้สอยไป หรือถ้าเดือนนั้นช็อตสุดๆ อย่างน้อยชำระตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด
ก็ยังดี

แต่ถ้าหลวมตัวติดกับดักหนี้บัตรเครดิตแล้ว และรู้สึกว่านับวันยิ่งพอกพูนจนยากจะเยียวยา เกินกำลังและความสามารถ
ในการชำระคืน ทั้งที่คุณเองก็มีเจตนาจะชำระเพื่อปลดเปลื้องภาระหนี้ทั้งหมด จงเริ่มต้น “เจรจาผ่อนปรนหนี้” อย่าง
ค่อยเป็นค่อยไป อย่าปล่อยให้เรื่องนี้เดินเข้าสู่กระบวนการทางศาล เพราะจะทำให้เครดิตของคุณถูกทำลาย ทางออกที่ทำได้
คือ ลองเดินเข้าไปเจรจาขอผ่อนผันและผ่อนปรนการชำระหนี้กับสถาบันการเงิน บอกถึงภาระและความจำเป็นของเราอย่าง
ตรงไปตรงมา จากนั้นค่อยๆ ทยอยใช้หนี้อย่างอดทนและใจเย็น

คงไม่ยากเกินไปนักสำหรับวิธีใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาด ขึ้นอยู่กับคุณแล้วล่ะ... ว่าจะสร้างวินัยและคุมเข้มตัวเอง
แค่ไหน ยิ่งตีกรอบและตั้งกฎการใช้บัตรเครดิตมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งห่างไกล “หนี้” มากเท่านั้น

ข้อมูลจาก : หนังสือ Money DIY จัดระเบียบการเงินให้อยู่หมัด!
“ใช้จ่ายผ่านบัตร XXX วันนี้... รับเงินคืนทันที 3%” หลายครั้งหลายคราที่บัตรเครดิตช่วยเนรมิต
อำนาจซื้อให้คุณได้ทำตามฝัน ยิ่งปัจจุบันอุตสาหกรรมบัตรพลาสติกมีการแข่งขันสูง ผู้ออกบัตรเครดิตจึงมอบ
สิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ถือบัตรใช้จ่ายผ่านบัตรของตน หากใครเลือกบัตรเครดิตให้สอดรับกับไลฟ์สไตล์
และความต้องการของตนเองได้อย่างเหมาะสม ย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้บัตรเครดิตนั้นๆ มากเลยทีเดียว

ลองมาดูกันว่า... มีสิทธิประโยชน์ใดบ้างที่ผู้ออกบัตรเครดิตมักจะเสนอให้แก่ผู้ถือบัตร
ส่วนลดพิเศษ
โดยมากมักให้ส่วนลด 5% - 20% ในการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่ร่วมรายการ

สะสมคะแนนแลกของรางวัล
บางครั้งก็ให้คะแนนสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 2 – 3 เท่า แต่คุณควรเช็คให้แน่ใจว่าคะแนนสะสมในบัตรที่คุณถืออยู่นั้น
ไม่มีวันหมดอาย


สะสมไมล์
ผู้ที่ต้องเดินทางบ่อยๆ หรือชอบการท่องเที่ยว ควรเลือกบัตรเครดิตที่ให้สะสมคะแนนแลกตั๋วเครื่องบิน ซึ่งจะช่วย
ให้คุณประหยัดงบเดินทางไปได้


ผ่อนชำระ 0%
บัตรเครดิตบางใบจะมีข้อเสนอให้ผ่อนชำระด้วยดอกเบี้ย 0% ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้คุณได้สินค้าและบริการ
ที่ต้องการ


คืนเงิน (Cash Back)
ผู้ออกบัตรเครดิตบางแห่งมอบข้อเสนอการคืนเงินให้กับผู้ถือบัตร โดยจะจ่ายคืนเงินเข้าบัญชีบัตรเครดิตในรอบบัญชี
ี ถัดไปในอัตราตั้งแต่ 0.5% ถึง 2.5% ของยอดใช้จ่ายผ่านบัตร

สิทธิพิเศษอื่นๆ
เช่น จอดรถตามห้างสรรพสินค้า บริการเลขาส่วนตัว เข้าใช้เลานจ์ที่สนามบินนานาชาติ หรือรถลิมูซีนรับส่ง
สนามบิน ฯลฯ

ทุกครั้งที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ให้คิดไว้เสมอว่า “ใช้เท่าไร... ต้องชำระเท่านั้น” พร้อมทั้งเลือกใช้บัตรเครดิต
ที่ให้สิทธิประโยชน์ตรงกับความต้องการของเราให้มากที่สุด แบบนี้ถึงจะเรียกได้ว่าใช้บัตรเครดิตอย่างคุ้มค่า และ
ปลอดหนี้

คุณเลือกใช้บัตรเครดิตที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณหรือเปล่า?
แม้บัตรเครดิตจะช่วยให้คุณสะดวกสบายไม่ต้องพกพาเงินสดมากๆ ในการซื้อสินค้าและบริการแถมยังยอมให้จ่าย
ขั้นต่ำได้อีกต่างหาก แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้สุขภาพทางการเงินของคุณดีขึ้นเลย เพราะดอกเบี้ยจะพอกพูนอย่างรวดเร็ว
เสียจนบางครั้งคุณตั้งตัวไม่ทันเลยทีเดียว ดังนั้น เราต้องรู้เท่าทันและใช้บัตรเครดิตอย่างเหมาะสม

ลองมาดูกันว่า... ถ้าคุณมียอดค่าใช้จ่ายคงค้างในบัตรเครดิต 20,000 บาท และคุณได้ชำระเงินขั้นต่ำ
เป็นจำนวน 2,000 บาท ในวันที่ 15 มกราคม 2550 โดยวันสรุปยอดบัญชีที่แล้วคือวันที่ 20 ธันวาคม 2549 และ
ในรอบบัญชีปัจจุบัน คุณมีค่าใช้จ่ายจำนวน 3,000 บาท จากการจ่ายค่าอาหารมื้อพิเศษในวันที่ 6 มกราคม 2550
คุณต้องมีภาระดอกเบี้ยเป็นจำนวนเท่าใด

วิธีคำนวณดอกเบี้ยจาการชำระคืนขั้นต่ำ

และหากคุณได้ทำการเบิกเงินสดจากบัตรเครดิต เป็นจำนวน 5,000 บาท ในวันที่ 9 มกราคม 2550 ธนาคารจะเรียกเก็บดอกเบี้ยเป็นจำนวน
ดังนั้น รวมดอกเบี้ยที่คุณจะต้องจ่ายทั้งสิ้นเท่ากับ 390.68 บาท หรือเกือบ 400 บาททีเดียว หากเราสามารถ
ประหยัดภาระดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวแล้วแปลงให้เป็นเงินออม เชื่อแน่ว่าสุขภาพทางการเงินของเราต้องดีแน่ๆ
แต่ในทางกลับกัน หากเราไม่สามารถชำระเงินคงค้างได้ทั้งจำนวนโดยยังคงจ่ายเงินขั้นต่ำต่อไป ดอกเบี้ยก็จะเบ่งบาน
ออกไปเรื่อยๆ เราอาจติดกับดักความสะดวกสบายของการใช้บัตรเครดิตที่เราสร้างขึ้นเอง ฉะนั้น เราจึงต้องระมัดระวัง
รู้เท่าทันความต้องการของตัวเอง โดยใช้จ่ายอย่างรู้คุณค่า เพื่อความมั่นคงของตนเองในอนาคต

บัตรเครดิตของคุณมียอดคงค้างบ้างหรือเปล่า?
บัตรเครดิตมีคุณสมบัติเด่น (หรือกับดัก?) ตรงที่เป็น “บัตรซื้อก่อนผ่อนทีหลัง” ตอนรูด “มันส์” แต่ตอนจ่าย
“มึน” ใครที่ดีแต่ใช้ ไม่รู้จักตีกรอบให้ตัวเอง อาจมีหนี้สินพะรุงพะรังเป็นของแถม เอาเป็นว่า... ถ้าใครไม่อยากมึนตอน
จ่ายเงิน ลองทำตามเทคนิคข้างล่างนี้

ไม่มีเงินจ่าย
อย่าได้รูดบัตร คิดให้ดีก่อนใช้บัตรว่าจะมีเงินพอจ่ายชำระเมื่อถูกเรียกเก็บหรือไม่

ชำระเต็มจำนวน ตรงตามเวลา
ไม่ควรมีหนี้ค้างชำระ เพราะดอกเบี้ยบัตรเครดิตสูงและพอกพูนเร็วมาก

ไม่ควรมีบัตรเกิน 2 ใบ
เพื่อป้องกันการใช้จ่ายเกินตัว และลดค่าธรรมเนียมจากการถือบัตร

ถือบัตรที่เหมาะกับไลฟสไตล
จะได้ใช้สิทธิประโยชน์อย่างคุ้มค่า

ตรวจสอบใบแจ้งหนี้อย่างละเอียด
อย่าดูเฉพาะยอดเงินและวันที่ต้องชำระเท่านั้น ให้พิจารณารายการใช้จ่ายเงิน
อย่างรอบคอบด้วย
ตั้งลิมิตการใช้
ถ้ารู้ตัวว่าชอบรูดบัตรเครดิตเป็นชีวิตจิตใจ ให้ตีกรอบไว้ว่าจะใช้แค่ 10% – 20% ของรายได
ใบแจ้งหนี้บัตรเครดิตบอกพฤติกรรมการใช้จ่ายของคุณอย่างไร?
รถยนต์


“รถยนต์” เป็นความฝันลำดับต้นๆ ของหนุ่มสาวสมัยนี้ แต่การจะเดินตามความฝันก็ดันไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะ
ติดที่หลายคนไม่ได้เป็นลูกเศรษฐีมีเงินถุงเงินถัง แถมกระเป๋าสตางค์ก็ยังไม่หนาเท่าไหร่ กว่าจะถอยรถออกมาโฉบเฉี่ยวบนถนน
ได้อาจต้องใช้เวลาเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมปัจจัย (สตางค์) อยู่นานสองนาน

เอาเป็นว่าก่อนตัดสินใจจะซื้อรถสักคัน ลองชั่งน้ำหนักดูก่อนว่ามันจำเป็นแค่ไหน “แค่อยากได้” หรือ “จำเป็นต้องใช้”
ถามตัวเองให้แน่ใจก่อนว่าพร้อมแล้วที่จะเป็นเจ้าของรถจริงๆ

หากตกลงปลงใจจะซื้อรถแน่แล้ว... ก็ต้อง “ศึกษาหาข้อมูล” เกี่ยวกับรถในด้านต่างๆ ให้ดี พิจารณาอย่างถ้วนถี่เพื่อ
เลือกซื้อรถให้เหมาะสม

สำหรับคนที่มีเงินเหลือเฟือ รสนิยมและความชอบส่วนตัวคงเป็นปัจจัยหลักในการเลือกซื้อรถ แต่สำหรับคนที่
กระเป๋าสตางค์ไม่ได้หนาสักเท่าไหร่ เรื่อง “เงิน” คงเป็นปัจจัยแรกๆ ที่ต้องคำนึงถึง ยิ่งถ้าคิดจะซื้อแบบเงินผ่อนก็ต้องดู
ความสามารถในการผ่อนชำระแต่ละเดือนที่ไม่ทำให้คุณเดือดร้อนด้วย

เพราะหากตอนนี้คุณยังไม่มีแม้แต่เงินดาวน์ คุณจะต้องรู้ว่าภายใต้โจทย์ของการดาวน์รถโดยเฉลี่ยที่ 25% คุณจะต้อง
เริ่มเก็บออมเงินเดือนละเท่าใด เช่น คุณเพิ่งเริ่มทำงานปีแรกได้เงินเดือน 15,000 บาท ยังไม่มีเงินเก็บออม แต่อยากจะซื้อ
รถคันละประมาณ 500,000 บาท ก็ต้องสะสมเงินก้อนแรกเพื่อดาวน์รถประมาณ 120,000 บาท ถ้าคุณตั้งใจว่าจะเริ่มเก็บออม
เฉพาะเงินดาวน์เดือนละ 5,000 บาท คำนวณคร่าวๆ ก็น่าจะใช้เวลาสัก 2 ปี

แต่หากไม่อยากเก็บเงินดาวน์นานเกินไป ก็ลอง “ปรับลดสเปค” ประมาณว่าเปลี่ยนจากเครื่อง 1500 ซีซี มาเป็น
1300 ซีซี แม้ความแรงจะไม่ได้ดั่งใจ แต่ราคาที่ถูกลง คงพอช่วยให้คุณเป็นเจ้าของรถได้เร็วขึ้น หรือไม่ก็เปลี่ยนจากรถป้ายแดง
มาเป็น “รถมือสอง” เพราะรถมือสองหาซื้อง่าย แถมยังช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้มากกว่าซื้อรถใหม่ราวๆ 20% - 30%
เลยทีเดียว

เมื่อเลือกรถได้แล้ว... คราวนี้มาถึงเรื่องของ “การผ่อนชำระ” ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ไม่แพ้การสะสมเงินดาวน์ บางคน
กว่าจะดาวน์รถออกมาได้ เลือดตาแทบกระเด็น แต่มาตกม้ายตายตอนผ่อน เพราะลืมประเมินกำลังการผ่อนของตัวเอง

จริงอยู่ที่ระยะเวลาในการผ่อนรถนั้นแค่ 4 - 6 ปี สั้นกว่าการผ่อนบ้านที่อาจยาว 20 - 30 ปี แต่หากคุณต้องแบกภาระ
ผ่อนรถเดือนละเป็นหมื่นติดต่อกัน 4 - 6 ปี มีหวังหลังแอ่นกันไปข้าง โดยทั่วไป
เงินที่ผ่อนรถในแต่ละเดือน ควรอยู่ราวๆ
20% - 30% ของรายได้
เช่น คุณมีรายได้เดือนละ 15,000 บาท ก็ไม่ควรผ่อนรถเกินเดือนละ 3,000 – 4,500 บาท
หากมากกว่านี้อาจกลายเป็นภาระหนักเกินไปสำหรับคุณ

และเมื่อคุณต้องพึ่งเงินกู้จากไฟแนนซ์ ข้อคิดอีกอย่างหนึ่งสำหรับการเป็นหนี้คือ ไม่ควรเลือกระยะเวลากู้ที่นานเกินไป
ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกผ่อนจ่ายระยะสั้นเข้าไว้ เช่น ผ่อนภายใน 1 - 2 ปี จะช่วยลดดอกเบี้ยลงได้มาก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะ
การคิด
ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อรถนั้น เป็นการคิดแบบ Flat Rate คือ คิดรวมดอกเบี้ยกับเงินต้นเข้าด้วยกัน แล้วค่อยแบ่งออกเป็น
รายงวด นั่นหมายถึงว่า ยิ่งคุณเลือกระยะเวลาการกู้แบบผ่อนจ่ายนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งแบกภาระดอกเบี้ยหนักขึ้นเท่านั้น

อย่าลืมว่า... การมีรถไม่ได้มีแต่ในมุมที่โก้หรูหรือสะดวกสบายเท่านั้น เพราะในแต่ละปีนอกจากคุณจะมีภาระค่าผ่อนรถ
ค่าน้ำมัน ค่าประกัน หรือ พ.ร.บ. แล้ว คุณยังต้องกันเงินส่วนหนึ่งไว้สำหรับดูแลรักษา ทั้งค่าซ่อมบำรุง เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
ขัดเคลือบสี ฯลฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้แม้จะดูไม่มากนัก แต่ถ้าต้องจ่ายบ่อยๆ รวมแล้วปีๆ นึงก็สูงไม่ใช่เล่น

ยิ่งใครที่ชอบแต่งรถ ประเภทที่มีเงินเดือนเท่าไหร่ถูกแปรสภาพไปเป็นชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ เกือบหมด เดี๋ยวเปลี่ยน
ล้อแมกซ์ เดี๋ยวเปลี่ยนไฟท้าย ไฟหน้า กระจกข้าง ยาง พวงมาลัย เครื่องเสียง สารพัดสารพันที่จะขนมาโมดิฟายรถคันโปรด
ก็ควรจัดเตรียมเงินส่วนนี้เอาไว้ด้วย
หลายคนต้องการซื้อรถ แต่มีเงินสดไม่เพียงพอ อาจสงสัยว่า... ดอกเบี้ยผ่อนชำระในการซื้อรถที่เรียกกันว่า
“การเช่าซื้อ” นั้น คิดกันอย่างไร เพื่อจะได้เตรียมเงินดาวน์ และดูความสามารถในการผ่อนชำระของตัวเองซึ่งสูตรที่ใช้
คิดการผ่อนรถต่อเดือนเป็นดังน
ี้

สมมติคุณซื้อรถใหม่ป้ายแดงขนาด 1,600 ซีซี ราคา 700,000 บาท และขอกู้เงินเพื่อเช่าซื้อรถยนต์
500,000 บาท เป็นเวลา 5 ปี เสียดอกเบี้ย 5% ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี (ปีละ 12 งวด รวมเป็น 60 งวด)


วิธีคิด อัตราดอกเบี้ยที่ต้องชำระทั้งสิ้น (5% x 5 ปี) = 25%
ดอกเบี้ยที่ต้องชำระคิดเป็นเงิน (500,000 x 25%) = 125,000 บาท
รวมเป็นเงินที่ต้องชำระทั้งสิ้น (500,000 + 125,000) = 625,000 บาท
จำนวนเงินที่ต้องผ่อนต่อเดือน (625,000 / 60) = 10,417 บาท
ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อดอกเบี้ยที่ต้องชำระ คือ “อัตราดอกเบี้ย” หากอัตราดอกเบี้ยสูง จำนวนดอกเบี้ย
ที่ต้องชำระก็สูง รวมทั้งระยะเวลาในการผ่อนชำระ หากคุณเลือกการผ่อนระยะที่ยาวนาน จำนวนดอกเบี้ยที่ต้องชำระ
ก็จะเพิ่มขึ้นสูงตามไปด้วย อีกทั้งยังไม่ได้คิดแบบลดต้นลดดอกเหมือนการผ่อนบ้าน

ทางเลือกที่ดีที่สุดในการซื้อรถยนต์ คือ “ซื้อด้วยเงินสด” แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากราคารถยนต์ในปัจจุบัน
ค่อนข้างสูง หากจำเป็นต้องผ่อนชำระ ก็ควรจ่ายเงินดาวน์ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หรือกู้ให้น้อยที่สุด เพราะ
ยิ่งคุณดาวน์มาก ดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายก็ลดลง แต่ถ้าดาวน์น้อย ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็จะมากขึ้น นอกจากนี้ คุณควรเลือกระยะเวลาการผ่อนชำระที่สั้นที่สุด เพราะจะช่วยประหยัดเงินที่ต้องจ่ายเป็นค่าดอกเบี้ยได้

ดังนั้น หากคุณมีแผนที่จะซื้อรถในอีก 2 - 3 ปีข้างหน้า คุณควรจะวางแผนการออมเงินบางส่วนไว้เพื่อเป็น
เงินดาวน์รถซึ่งจะช่วยให้คุณไม่ต้องจ่าย ดอกเบี้ยสูงจนเกินไป

รถที่คุณจะซื้อต้องเสียดอกเบี้ยรวมๆ แล้วเท่าไหร่?
แม้ทุกวันนี้การเดินทางไปไหนมาไหนจะสะดวกขึ้น เพราะมีทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน แต่รถยนต์
ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนปัจจุบัน แต่ก่อนที่จะซื้อรถยนต์สักคัน นอกจากยี่ห้อรถและราคา
ที่ถูกใจแล้ว คุณควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะตามมาพร้อมกับการเป็นเจ้าของรถคันดังกล่าวด้วย เพื่อที่คุณจะได้
สามารถเตรียมการและวางแผนการเงินได้อย่างถูกต้อง

ค่าผ่อนชำระและดอกเบี้ย
การซื้อรถยนต์แบบผ่อนชำระมีการคำนวณดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) ซึ่งการที่เงินต้นลดไม่ได้ทำให้ดอกเบี้ย
ลดลงไปเหมือนกับการผ่อนชำระบ้าน


ค่าใช้จ่ายประกันภัยภาคบังคับ
รถยนต์ทุกชนิดต้องทำประกันภัยภาคบังคับ หรือที่เรียกว่า พ.ร.บ. บุคคลที่ 3 เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่เป็น
บุคคลอื่นๆ (ที่ไม่ใช่เจ้าของรถ) ที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ตามปกติค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะค่อยๆ ลดลงตามอายุของรถยนต์
ที่เพิ่มขึ้น


ค่าใช้จ่ายในการต่อทะเบียน
คุณมีหน้าที่จะต้องเสียภาษีรถยนต์เป็นประจำทุกปี เพื่อต่ออายุป้ายทะเบียนรถ โดยอัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตาม
ขนาดเครื่องยนต์ อายุของรถ


ค่าประกันภัย
เพราะคุณต้องเผชิญกับความเสี่ยงทุกครั้งที่ขับรถ การทำประกันจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในกรณีที่คุณประสบอุบัติเหตุ
ได้ ซึ่งจำนวนเบี้ยประกันจะขึ้นอยู่กับประเภทของกรมธรรม์ ประเภทของรถยนต์ รวมทั้งอายุของรถยนต


ค่าซ่อมบำรุงตามระยะทาง
ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามอายุการใช้งาน ทั้งยังแตกต่างกันไปตามขนาดและประเภทรถ คุณจึงต้องมีการวางแผน
ค่าใช้จ่ายให้เพียงพอ โดยอาจจะกันค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้เป็นรายเดือนเพื่อสำรองไว้


ค่าใช้จ่ายในการตกแต่ง
หลายคนชอบตกแต่งรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นเปลี่ยนเบาะหนัง เครื่องเสียง ล้อ ยาง หรืออุปกรณ์ตกแต่งอื่นๆ ซึ่งจำเป็น
ต้องใช้เงินค่อนข้างมาก จึงควรจัดเตรียมเงินส่วนนี้ไว้

หลังจากที่ทราบถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อเป็นเจ้าของรถยนต์สักคันแล้ว คราวนี้ก็คงถึงเวลาที่คุณ
จะตัดสินใจเลือกซื้อ และดูว่าตนเองมีความสามารถในการผ่อนชำระแค่ไหนแล้วนะ

ก่อนซื้อรถ... คุณคำนึงถึงค่าใช้จ่ายเหล่านี้บ้างมั้ย?

ดังที่กล่าวไปแล้ว... ว่าการมีรถสักคันจะมีค่าใช้จ่ายตามมาอีกไม่น้อยเลยทีเดียว หลายคนคงยังไม่เคยคำนวณ
ออกมาอย่างจริงจัง เลยยังไม่ทราบแน่ชัดว่าแต่ละเดือนมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้รถเท่าไหร่

สมมติคุณซื้อรถใหม่ป้ายแดงขนาด 1,600 ซีซี ราคา 700,000 บาท และขอกู้เงินเพื่อเช่าซื้อรถยนต์
500,000 บาท เป็นเวลา 5 ปี โดยคุณขับรถเฉลี่ยวันละประมาณ 50 กิโลเมตร และเสียค่าที่จอดรถอีกเดือนละ
1,000 บาท คุณจะมีค่าใช้จ่ายต่อปีคร่าวๆ (ไม่รวมค่าตกแต่งรถเพิ่มเติม) ดังนี้

ค่าใช้จ่าย
บาทต่อปี
ค่าผ่อนรถ (เดือนละ 10,417 บาท)
125,000
ค่าที่จอดรถ
12,000
ค่าน้ำมัน
48,000
ค่า พ.ร.บ.
700
ค่าต่อทะเบียนรถ
2,300
ค่าประกันภัยชั้น 1
20,000
ค่าซ่อมบำรุงตามระยะทาง
3,000
รวมค่าใช้จ่ายทั้งปี
211,000
คิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อวัน
578
หรือ เท่ากับค่าใช้จ่ายประมาณ 17,340 บาทต่อเดือน นี่ยังไม่รวมค่าเสื่อมราคา ค่าทางด่วน หรือค่าใช้จ่าย
จากการใช้รถอีกจิปาถะ

ถ้าเงินเดือน 30,000 บาท มีค่าใช้จ่ายในการใช้รถเดือนละ 17,340 บาท คงน่ากลุ้มใจอยู่ไม่น้อยเลย!!!
ค่าใช้จ่ายในการใช้รถของคุณเดือนละกี่บาท?
ขับรถมาเป็นสิบปี เปลี่ยนมา 4 ยี่ห้อ แปลกใจทำไมเราไม่รู้เลยว่า...
ถนนขรุขระ เต็มไปด้วยฝุ่นหรือกรวด ปล้นน้ำมันรถได้ถึง 30%

ในวันที่อากาศปกต
ถ้าปิดแอร์แล้วไขกระจกรับอากาศจากภายนอก
จะช่วยประหยัดน้ำมันได้
ถึง 20% แต่มีข้อแม้ว่าจะประหยัดได้เมื่อใช้
ความเร็วไม่มากนัก เมื่อใดที่ขับรถด้วยความเร็วสูง ให้ปิดหน้าต่างไว้ดีกว่า
เพราะเปิดหน้าต่างไว้จะเจอแรงลมต้านที่ทำให้เปลืองน้ำมันขึ้นอีก 10%


การเดินเครื่องมากกว่า 1 นาที จะกินน้ำมันเท่ากับการสตาร์ทรถใหม
ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องจอดข้างทางแล้วติดเครื่องคุยกับใครมากกว่า 1 นาที
ให้ดับเครื่องเลยดีกว่า

คนใจร้อนชอบมองหาเลนว่าง แล้วเปลี่ยนเลนเพื่อให้ไปเร็วที่สุด แต่ข่าวร้ายคือ การขับรถเปลี่ยนเลนไปมา
ไม่ได้ช่วยย่นระยะเวลาเท่าใดนัก
และการออกรถเปลี่ยนเลนบ่อยๆ ยังกินน้ำมันมากขึ้น
อีกด้วย ควรเลือกเลน
ที่เหมาะสมและใช้ความเร็วสม่ำเสมอในการขับ จะประหยัดน้ำมันมากกว่า ลดค่าน้ำมันแล้วยังลดความดันอีกต่างหาก


ขับรถหลงทาง 10 นาที ปล้นน้ำมันตัวเองไปครึ่งลิตร

ความดันลมยางอ่อนกว่ามาตรฐาน 1 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว มีผลกับค่าน้ำมันเห็นๆ
(สมมติว่าขับทุกวันๆ ละ 48 กม. เป็นเวลา 1 เดือน)

รถยนต์ปล้นน้ำมันตัวเองไป 2.4 ลิตร
รถจักรยานยนต์ปล้นน้ำมันตัวเองไป 1.2 ลิตร
รถบรรทุกปล้นน้ำมันตัวเองไป 4.2 ลิตร

บรรทุกของที่ไม่จำเป็น 10 กก. ขับวันละ 50 กม. แค่ 10 วัน เสียน้ำมันฟรีๆ 1 ลิตร
การเร่งความเร็วที่เกียร์ต่ำ สิ้นเปลืองน้ำมันสุดๆ ลดละเลิกนิสัยนี้โดยเร็ว เพราะคุณกำลังทำให้น้ำมันหายไปถึง
45% ของปริมาณที่ต้องใช้

การขับรถแบบ “สะอึก” เร่งความเร็วแล้วเบรค แซงแล้วเบรค สลับความเร็วขึ้นลงอย่างรวดเร็วโดยไม่จำเป็น
ทำให้กินน้ำมันถึง 33%

ข้อมูลจาก : หนังสือ Rich Actually ใช้เงินอย่างนี้มีแต่รวย
ยังมีพฤติกรรมการขับรถแบบใดอีกบ้างที่ปล้นน้ำมันไปจากคุณ?
เวลาคุณคิดจะซื้อรถเพื่อความสะดวกสบายในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายที่คุณต้องเตรียมไว้นอกจากเงินดาวน์
และตรวจสอบความสามารถในการผ่อนรถยนต์ในแต่ละงวด หรือว่าจะซื้อเงินสดก็ตามที ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ
การใช้รถอีกมาก เช่น ค่าน้ำมัน ค่าซ่อมบำรุง ค่าตกแต่งรถยนต์เพิ่มเติมตามรสนิยม และที่สำคัญคือ “ค่าประกันภัย”


เพราะอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่คาดฝัน และสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ขณะที่คุณขับรถอยู่บนท้องถนน เพราะฉะนั้น การทำประกันจึงมีความสำคัญมาก
ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องชดใช้ให้คู่กรณี รวมทั้งลดความเสียหายอื่นๆ
โดยผ่อนหนักเป็นเบา และช่วยให้อุ่นใจทุกครั้งที่ขับรถ เป็นที่มั่นใจว่าคุณ
และทรัพย์สิน รวมทั้งผู้โดยสารได้รับความคุ้มครองจากการทำประกันรถยนต
ประกันภัยรถยนต์ที่ผู้ขับขี่ควรรู้มี 2 ประเภท ได้แก่
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ “ประกัน พ.ร.บ.”
เป็นประกันที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำ ใครไม่ทำจะมีความผิดและต้องถูกปรับเป็นเงินไม่เกิน
10,000 บาท โดยการประกันภัยภาคบังคับจะให้ความคุ้มครองความรับผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัย
จากรถ พ.ศ. 2535 ในความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัยจากรถทุกคนไม่ว่าผู้ประสบภัย
จะเป็นใครก็ตาม กรณีบาดเจ็บ แต่ไม่ถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ ชดใช้ตามความเสียหายที่แท้จริง
แต่ไม่เกิน 50,000 บาท กรณีบาดเจ็บถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ชดใช้เต็มจำนวน
ความคุ้มครองสูงสุด 80,000 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายในการทำประกันในส่วนนี้จะอยู่ที่ประมาณ 680 - 800 บาท
ต่อปี และจะค่อยๆ ลดลงตามอายุของรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น


การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
เป็นการประกันภัยแบบที่ใครอยากทำก็ทำ ไม่มีการบังคับกัน การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนี้เป็นการ
ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกัน) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้ตาม
ความต้องการและกำลังเงินที่มีอยู่ และเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ทำประกันภัยที่ขับรถดี มีความระมัดระวัง
ในการขับขี่ และมีความเสี่ยงภัยในการใช้รถต่ำ กรมการประกันภัยจึงได้ปรับปรุงโครงสร้างการประกันภัยรถยนต์
ใหม่ให้สอดคล้องกับระบบสากล โดยนำเอาปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้ขับขี่ ลักษณะการใช้รถ กลุ่ม ขนาดและอายุรถ ฯลฯ
มาเป็นองค์ประกอบในการคำนวณเบี้ยประกันภัย สำหรับการเลือกทำประกันแบบใดกับบริษัทไหนนั้น ผู้ขับขี่ควร
เปรียบเทียบวงเงินคุ้มครอง และตรวจสอบการบริการของแต่ละบริษัท

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดในการขับรถคือ ต้องไม่ประมาท ขับรถตามกฎจราจร มีน้ำใจ และไม่ขับรถ
หากสภาพร่างกายไม่พร้อม เช่น มึนเมา จะช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้

คุณทำประกันภัยรถคันโปรดไว้บ้างหรือยัง?
บ้าน


“มีบ้านเป็นของตนเองก่อน 35”
เสียงโฆษณายอดฮิตที่ทำให้หลายคนแอบยิ้มและวาดฝันถึงบ้านที่เต็มไปด้วย
ความรักความอบอุ่น หากแต่การจะเป็นเจ้าของบ้านสักหลังนั้น ไม่ง่ายเหมือนการซื้อมือถือที่ไม่ชอบใจก็ขายต่อซื้อใหม่ได้
เพราะราคาบ้านไม่ใช่ถูกๆ แถมยังเป็นสินทรัพย์ที่ต้องอยู่กับเราไปอีกนานนับสิบๆ ปี ดังนั้น ก่อนซื้อบ้านเราจึงต้องมีการวางแผน
และการเตรียมตัวเป็นอย่างดี

ถ้าคุณเกิดมาบนกองเงินกองทอง อาจจะซื้อบ้านด้วยเงินสดก้อนโตได้อย่าง
สบายกระเป๋า แต่มีคนจำนวนมากที่ต้องอดทนกับการเก็บเงินเพื่อดาวน์บ้าน และพึ่ง
เงินกู้จากสถาบันการเงิน ที่ไม่ใช่วันสองวันหรือปีสองปี แต่ยาวนาน 10 - 30 ปี
เลยทีเดียว

เมื่อเส้นทางบรรลุฝันไม่ได้โรยด้วยกลีบดอกกุหลาบ หากแต่เต็มไปด้วย
ภาระอันหนักอึ้งในระยะยาว การเก็บเงินเพื่อซื้อบ้านหลังแรกจึงเป็นภารกิจ
อันยิ่งใหญ่ที่คุณต้องไตร่ตรองและวางแผนอย่างรัดกุม

มาเริ่มต้นวางแผนซื้อบ้านกันดีกว่า... อันดับแรกต้อง
“เช็คความพร้อมที่ตัวคุณ” กันก่อน ลองถามตัวคุณเองว่าพร้อมที่จะรับภาระ
จากการมีบ้านแล้วหรือยัง ทั้งภาระการผ่อนชำระที่ยาวนานและภาระค่าใช้จ่าย
อื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นจากการมีบ้าน เช่น ซื้อของตกแต่งบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าส่วนกลาง
หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดูแลรักษาบ้าน ฯลฯ
ที่สำคัญ... อย่าลืมประเมินว่าเรามีรายได้ต่อเดือนเท่าไหร่ ในแต่ละเดือนมีภาระอะไรบ้าง มีความก้าวหน้าที่จะได้ขึ้น
เงินเดือนหรือเลื่อนตำแหน่งมากน้อยแค่ไหน และหน้าที่การงานมีความมั่นคงเพียงใด หากทุกสิ่งทุกอย่างลงตัวก็แสดงว่า
สถานภาพของคุณมั่นคงและพร้อมแล้วที่จะมีบ้านสักหลัง

จากนั้นค่อยมา “เช็คความต้องการของตัวคุณ” เพราะคุณย่อมรู้จักความต้องการของตนเองดีที่สุด ว่าอยากได้บ้าน
แบบไหน ทำเลแถวไหน และซื้อเพื่ออะไร เป็นเรือนหอ ซื้อให้พ่อแม่ หรือลงทุนสำหรับขาย/ให้เช่า โดยพิจารณาไลฟ์สไตล์
ของคุณ เพื่อดูความเหมาะสมของที่อยู่อาศัยด้วย เช่น

ถ้าคุณไม่ชอบขับรถ หรือรถติดนานๆ ให้เลือกทำเลที่อยู่ใกล้รถไฟฟ้า จะ BTS หรือ MRT ก็ได้
ถ้าคุณชอบความสะดวกสบาย เดินทางไปไหนมาไหนง่าย ให้เลือกทำเลใจกลางเมืองเป็นหลัก
ถ้าคุณรักอิสระ รักแสงสีชีวิตเมือง ให้เลือกคอนโด
ถ้าคุณชอบต้นไม้ ให้เลือกบ้านเดี่ยวหรือทาวน์โฮมที่มีพื้นที่พอประมาณ
ถ้าคุณอยากอยู่ใกล้ๆ กับครอบครัว ให้เลือกบ้านเดี่ยว ทำเลใกล้บ้านคุณพ่อคุณแม่ หรือที่คุ้นเคย ฯลฯ

เมื่อเช็คความพร้อมทั้งตัวทั้งตังค์แล้ว สิ่งที่เหลือก็คือ ต้อง “ศึกษาหาข้อมูลของบ้านที่สนใจ” เริ่มตั้งแต่ทำเล
ที่คุณชื่นชอบ และคุ้นเคยในการใช้ชีวิต เช่น สะดวกทั้งไปและกลับ อยู่ไม่ไกลจากที่ทำงาน ใกล้โรงเรียนลูก หรือเป็นทำเล
ที่คุ้นเคย

เมื่อได้ทำเลที่ตรงใจแล้ว ก็เริ่มไปสำรวจโครงการต่างๆ ที่อยู่ในทำเลนั้นๆ แนะนำให้ไป ดูโครงการจริง สภาพแวดล้อม
จริง แบบบ้านหรือบ้านหลังจริงที่จะขาย พร้อมขอข้อมูลโครงการ สอบถามเงื่อนไขการซื้อขาย ราคาของแถมหรือ
สิ่งที่ได้นอกเหนือจากตัวบ้าน
และในขณะที่ชมโครงการให้ลองสอบถามลูกบ้านที่อยู่อาศัยก่อนแล้ว ถึงเรื่องบริการ
หลังการขาย และความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ รวมถึงสอบถามว่าเคยเกิดน้ำท่วมหรือไม่ด้วย

สุดท้าย... ให้นำข้อมูลทั้งหมดมาเปรียบเทียบกันเพื่อเลือกบ้านที่ใช่ที่สุดสำหรับคุณ จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจภายหลัง
ที่ไม่รู้ไม่เห็นว่ายังมีโครงการและบ้านหลังอื่นๆ ที่ถูกใจมากกว่า ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องคำนึงไว้เสมอว่า
“นกน้อยทำรังแต่พอตัว”
บ้านก็เช่นกัน ควรซื้อตามกำลัง ไม่ต้องใหญ่โตเกินตัวจนกลายเป็นภาระต้องต้องแบกไปตลอดชีวิต

สูตรสำหรับการซื้อบ้านนั้นไม่มีสูตรตายตัว แต่โดยทั่วไป “ราคาบ้านที่จะซื้อไม่ควรเกิน 30 เท่าของรายได้ต่อเดือน”
เช่น ถ้าคุณมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท ก็ควรซื้อบ้านไม่เกิน 600,000 บาท แต่ถ้ารายได้ของคุณและภรรยารวมกัน
ตกเดือนละ 40,000 บาท คุณก็ไม่ควรซื้อบ้านเกิน 1,200,000 บาท

เรื่องสูตรวงเงินซื้อบ้านนั้นไม่ตายตัวเสียทีเดียว นี่เป็นเพียงหลักเกณฑ์คร่าวๆ ที่ช่วยคุณประเมินกำลังซื้อของตนเอง
แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องคิดอย่างถี่ถ้วนเมื่อจะซื้อบ้านก็คือ “ความสามารถในการผ่อนชำระ” เพราะการกู้เงินซื้อบ้านนั้น
เป็นการสร้างภาระหนี้ระยะยาว

ค่าใช้จ่ายในการผ่อนบ้าน “ไม่ควรเกินกว่า 30% ของรายได้ต่อเดือน” เพราะในแต่ละเดือนคุณยังต้องกันเงิน
ไว้กินไว้ใช้ แถมบางทียังต้องแบ่งไปชำระหนี้ก้อนอื่นๆ เช่น ถ้าคุณมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท ก็ไม่ควรผ่อนเกินเดือนละ
6,000 บาท แต่ถ้าคุณไม่มีภาระด้านอื่นมากนัก ก็อาจจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการผ่อนบ้านให้สูงขึ้นเป็น 50% ของรายได้ต่อเดือน
หรือราวๆ 10,000 บาทได้ เพราะยิ่งคุณผ่อนจำนวนมากเท่าไหร่ ภาระหนี้ก็จะหมดเร็วเท่านั้น

เมื่อรู้แล้วว่าควรจะซื้อบ้านราคาเท่าไหร่ และควรจะผ่อนเดือนละเท่าไหร่ คราวนี้ก็ได้เวลาพูดถึงเงินดาวน์กันบ้างแล้ว
การซื้อบ้านส่วนใหญ่มักกำหนดวงเงินดาวน์ประมาณ 10% - 20% ของราคาบ้าน และต้องกู้อีกประมาณ 80% - 90%
ของราคาบ้าน

มาถึงตรงนี้... สมมติว่าจุดลงตัวของคุณอยู่ที่ทาวน์เฮาส์ชานเมืองราคา 600,000 บาท นั่นเท่ากับว่าสิ่งแรกที่คุณ
ต้องทำ คือ คุณต้องเก็บเงินก้อนเตรียมไว้รอดาวน์ราว 120,000 บาท ซึ่งโดยมากเป็นการผ่อนดาวน์กับเจ้าของโครงการ
ประมาณ 10 - 20 งวด

ไม่ว่าฝันของคุณจะเป็นบ้านเดี่ยว คอนโดฯ หรูใจกลางเมือง หรือทาวน์เฮาส์ชานเมืองก็ตาม ถ้าวางแผนและเตรียมตัวดี
ซะอย่าง เชื่อเถอะว่าวิมานในฝันไม่ไกลเกินเอื้อม


ใครๆ ก็อยากมีบ้านเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะในวัยเริ่มสร้างหรือขยับขยายครอบครัว เพื่อลงหลักปักฐาน
เตรียมการสำหรับอนาคตที่มั่นคงในระยะยาว “บ้าน” ถือเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความอบอุ่น ความใกล้ชิด
และความสัมพันธ์ที่ดีให้แก่สมาชิกในครอบครัว และเพราะบ้านเป็นสินทรัพย์ราคาสูง ที่ต้องใช้เงินจำนวนมากในการซื้อ
หรือสร้าง เราจึงควรพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน การมีบ้านเป็นความผูกพันและภาระในระยะยาว เราจึงควร
เช็ค “ความพร้อม” ให้รอบด้านตั้งแต่...

ความพร้อมทางด้านการเงิน
ทั้งเงินดาวน์ เงินผ่อน และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น
ราคาบ้านที่เหมาะสม = รายได้ต่อปีของทั้งครอบครัว x 2.5 เช่น นกน้อยและสามีมีรายได้รวมกันปีละ 2 ล้านบาท ราคาบ้านที่เหมาะสมสำหรับครอบครัวคุณนกน้อย
จะเท่ากับ 5 ล้านบาท
ความพร้อมที่จะลงหลักปักฐาน
ต้องอิงกับหน้าที่การงานและความพร้อมของสมาชิกทุกคน
ความพร้อมที่จะดูแลรักษา เพราะบ้านและสมาชิกในบ้านต้องการการดูแลเอาใจใส่ การปล่อยปละละเลยหรือทิ้งให้เป็น
ความรับผิดชอบของคนใดคนหนึ่งอาจไม่ส่งผลดีในระยะยาว

ราคาบ้านที่เหมาะสมของคุณเท่ากับเท่าไหร่?
นอกจากราคาบ้านที่เหมาะสมแล้ว เรายังต้องพิจารณาจำนวนเงินที่ต้องผ่อนในแต่ละเดือนให้พอเหมาะพอดีด้วย
เพราะส่วนมากจะเป็นการผ่อนชำระในระยะยาว ถ้าภาระผ่อนจ่ายต่อเดือนสูงเกินอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องที่ยากจะแก้ไข

ค่างวดผ่อนบ้านในแต่ะละเดือนจึงไม่ควรเกิน 30% ของรายได้ เช่น นกน้อยมีเงินเดือน 50,000 บาท
เธอก็ไม่ควรผ่อนบ้านเกิน 15,000 บาท สำหรับใครที่มีหนี้สินอื่นๆ ที่ต้องผ่อนร่วมด้วย เช่น ผ่อนรถ ผ่อนสินค้า
ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือผ่อนหนี้บัตรเครดิต
โดยรวมๆ แล้วไม่ควรมียอดเงินผ่อนหนี้เกินกว่า 50%
ของรายได้ต่อเดือน
ไม่งั้นการใช้จ่ายในแต่ละเดือนอาจจะมีปัญหาขาดสภาพคล่องได

เพราะการมีบ้านนอกจากจะมีค่างวดที่ต้องผ่อนชำระแล้ว ยังจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งค่าตกแต่ง
ค่าดูแลรักษา ค่าซ่อมแซม เป็นต้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการย้ายบ้านด้วย อย่างเช่น ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน
ค่าเดินทางที่เพิ่มขึ้น ฯลฯ

คุณ... ผ่อนบ้านแบบไม่ร้อนใจหรือเปล่า?
บ้านเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ทุกคนปรารถนาจะมีไว้ในครอบครอง เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของบ้าน
สักหลัง ควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจเลือก เพราะบ้านไม่ใช่แค่บาทสองบาท หากตัดสินใจ
ผิดพลาดไปแล้ว คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะขายแล้วนำเงินไปซื้อหลังใหม่ได้ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น คุณควรจะลอง
พิจารณาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อบ้าน

เส้นทางคมนาคม
ควรเลือกดูบ้านที่มีเส้นทางการคมนาคมที่สะดวก หรืออยู่ใกล้กับระบบขนส่งมวลชนที่เข้าสู่ตัวเมือง เพื่อความสะดวก
ในการเดินทางไปทำงานหรือการไปโรงเรียนของลูกหลาน


ใกล้แหล่งอำนวยความสะดวก
ควรเลือกซื้อบ้านที่อยู่ใกล้กับสถานที่อำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ซูปเปอร์มาเก็ต ตลาดสด
โรงพยาบาล ธนาคาร สถานีตำรวจ ฯลฯ


หลีกเลี่ยงทำเลใกล้มลภาวะหรือพื้นที่น้ำท่วม
ควรสำรวจดูว่าทำเลที่สนใจนั้น อยู่ใกล้โรงงานหรือแหล่งผลิตของเสียทางมลภาวะด้วยหรือไม่ โดยเฉพาะบ้าน
ในเขตชานเมือง และถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วมด้วย


เปรียบเทียบราคาบ้านพร้อมปัจจัยอื่นๆ ด้วย
นอกจากราคาบ้านและที่ดินแล้ว คุณควรเปรียบเทียบข้อเสนอ
พิเศษอื่นๆ เช่น ระบบไฟฟ้าสำรอง การป้องกันปลวก รวมทั้งตรวจดูคุณภาพของวัสดุก่อสร้างต่างๆ ด้วย

เมื่อคุณพบบ้านที่ถูกใจแล้ว อย่าลืมที่จะต่อรองราคากับผู้ขายโครงการ และถามถึงข้อเสนอพิเศษอื่นที่จะ
ช่วยให้คุณประหยัดและคุ้มค่าเงินมากที่สุด ทั้งนี้ คุณควรตรวจสอบราคาบ้านจากราคาตลาด เพื่อจะได้ไม่ต้องซื้อบ้าน
ในราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็น

บ้านของคุณอยู่ใกล้แหล่งอำนวยความสะดวกหรือเปล่า?
ฝันจะมีบ้านเป็นของตนเอง... ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แม้ว่าราคาบ้านในปัจจุบันจะสูง แต่ทางเลือกหนึ่ง
ที่จะทำให้คุณเป็นเจ้าของบ้านในฝันได้คือ "การผ่อนบ้าน" ผ่านบริการสินเชื่อเคหะหรือสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
ซึ่งสินเชื่อประเภทนี้มักจะมีอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ และมีระยะเวลาผ่อนชำระยาว เพราะมีบ้านเป็นหลักทรัพย์
ค้ำประกัน

ลองมาทำความรู้จักกับดอกเบี้ยของธนาคารที่ให้คุณเลือกในการผ่อนชำระอย่างเหมาะสม
ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ดังน
ี้

อัตราดอกเบี้ยคงที่
เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ไม่ปรับเปลี่ยนไปตามกลไกตลาด คุณจะได้รับประโยชน์ในการลดความเสี่ยงจากความผันผวน
ของอัตราดอกเบี้ยที่จะส่งผลต่อการชำระค่างวดของคุณ อย่างไรก็ตาม หากเป็นการผ่อนชำระระยะสั้น ธนาคารจะ
ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ แต่หากเป็นการกำหนดดอกเบี้ยคงที่ระยะยาวมากๆ ธนาคารมักจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย
ในระดับสูง เพื่อชดเชยโอกาสและความเสี่ยงของธนาคารจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย

อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได
เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกำหนดให้ปรับเพิ่มขึ้นคงที่ในทุกระยะเวลาในช่วงเวลาหนึ่ง และหลังจากนั้นก็จะปรับให้
้ เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว เพื่อให้คุณลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้น
ของการผ่อนชำระ

อัตราดอกเบี้ยลอยตัว
เป็นอัตราที่ดอกเบี้ยที่ธนาคารกำหนดให้ปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามกลไกตลาด ส่งผลต่อจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ย
ในแต่ละงวดการผ่อนชำระของคุณ โดยปกติธนาคารมักจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามมาตรฐาน MLR (Minimum
Loan Rate) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับลูกค้าธนาคาร แล้วบวกเพิ่มหรือลดลง ขึ้นอยู่กับอัตราความเสี่ยง
ของคุณ เช่น หากคุณประกอบอาชีพที่มีรายได้มั่นคง ธนาคารมักจะให้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวพิเศษเป็น MLR ลบ
ซึ่งจะทำให้คุณลดภาระดอกเบี้ยลงได

คุณคิดว่าอัตราดอกเบี้ยแบบไหนดี?
สำหรับผู้ที่วางแผนจะกู้เงินเพื่อซื้อบ้านสักหลัง อาจสงสัยว่าการผ่อนบ้านนั้นมีวิธีคิดดอกเบี้ยอย่างไร
และแตกต่างจากการผ่อนชำระสินค้าอื่นๆ หรือไม่ เราจึงมีวิธีการคำนวณดอกเบี้ยมาฝาก

การคิดดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยนั้น เป็นการผ่อนชำระ “แบบลดต้นลดดอก”
ซึ่งมีวิธีการคำนวณง่ายๆ ดังน
ี้

ตัวอย่าง นาย ก อายุ 30 ปี ขอกู้เงินเพื่อซื้อบ้าน 200,000 บาท กำหนดเวลาผ่อนชำระ 5 ปี (ธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับ MLR+1% สมมติว่าปัจจุบัน MLR อยู่ที่ 4%)
เมื่อลองแทนค่าในสมการแล้ว นาย ก ต้องผ่อนชำระงวดละ 3,774.25 บาท เป็นเวลา 60 งวด
รวมเป็นเงินที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น 226,454.80 บาท เท่ากับว่าต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้รวม 26,454.80 บาท
ซึ่งสามารถจะคำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องชำระในแต่ละงวด ดังน
ี้

จะพบว่าจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องชำระจะลดลงไปเรื่อยๆ เพราะในการคำนวณมีข้อสมมติฐานว่า...
คุณจะชำระเงินตรงตามวันที่ธนาคารกำหนดไว้ทุกงวด แต่ในความเป็นจริง คุณอาจพบว่าดอกเบี้ยที่ชำระ
ในบางงวดไม่ตรงกับตารางการผ่อนชำระที่ธนาคารให้มาตั้งแต่แรก โดยดอกเบี้ยจะ “เพิ่มขึ้น” หากคุณชำระค่างวด
ช้ากว่าวันที่กำหนด และดอกเบี้ยจะ “ลดลง” หากคุณชำระค่างวดเร็วกว่าวันที่กำหนด เนื่องจากในทางปฏิบัติ ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน โดยใช้จำนวนวันต่องวด หารด้วยจำนวนปี

ตัวอย่าง ธนาคารกำหนดให้ นาย ก ชำระเงินในวันที่ 25 ของทุกเดือน (สมมติว่าขณะนี้เป็นเดือนพฤศจิกายน)
นั่นหมายความว่า นาย ก จะครบกำหนดชำระเงินในวันที่ 25 พฤศจิกายน แต่ในเดือนนี้ นาย ก ชำระก่อนกำหนด คือ
วันที่ 20 พฤศจิกายน เราสามารถคำนวณดอกเบี้ยที่ต้องชำระโดยคิดแบบรายวัน ดังนี้

ในทางกลับกัน หากนาย ก ชำระเงินค่างวดล่าช้ากว่าที่กำหนด คือ ชำระในวันที่ 30 พฤศจิกายน นาย ก
ก็จะต้องชำระส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 บาท (200,000 X {0.05X (36/360)})

ปลดหนี้


ปลดหนี้

“การออม” จะประสบความสำเร็จไปไม่ได้เลยถ้าขาดวินัย
“การปลดหนี้” ก็เช่นเดียวกัน... หากวินัยในการชำระหย่อนยานเมื่อไหร่ เส้นทางสู่อิสรภาพทางการเงินคงตีบตัน

หากวันนี้... คุณกำลังถูกภาระหนี้สินรุมเร้า ทำให้สุขภาพทางการเงิน
กระท่อนกระแท่นเช่น เงินเดือนออกมา 25,000 บาท แต่ต้องกันเงินไว้จ่ายหนี้ บัตรเครดิต ผ่อนรถสินเชื่อส่วนบุคคล เบ็ดเสร็จแล้วเดือนละ 20,000 บาท
เลิกคิดไปได้เลยที่จะเหลือไว้ออม เพราะยุคข้าวยากหมากแพงแบบนี้ เงินแค่
5,000 บาท เผลอๆ ใช้ได้ไม่ถึงครึ่งเดือนก็เกลี้ยงกระเป๋า จนต้องไปกู้ยืมเงิน
มาเสริมสภาพคล่องเพื่อใช้ให้ชนเดือน
นี่เป็นสัญญาณร้ายที่กระพริบเตือนว่า สุขภาพทางการเงินของคุณอยู่ในภาวะที่ย่ำแย่เต็มที ฉะนั้น สิ่งที่ควรลงมือทำ
ในวันนี้ คือ จัดการกับต้นเหตุอย่างจริงจังเสียที หลายคนอาจจะรู้สึกว่า... การปลดหนี้นั้นยากเหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา
แต่เชื่อเถอะว่าไม่มีอะไรยากเกินความสามารถ ค่อยๆ ปลดเปลื้องไปทีละนิด จะได้สัมผัสความรู้สึกว่ายกภูเขาออกจากอกนั้น
เป็นอย่างไร ใครยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรลองทำตามบัญญัติ 5 ประการสำหรับการจัดการหนี้ดังต่อไปนี้

ถ้าในแต่ละเดือนคุณต้องจ่ายหนี้เดือนละ 20,000 บาท ทั้งที่เงินเดือนแค่
25,000 บาท นั่นเท่ากับว่าสิ่งแรกที่คุณต้องทำคือประกาศเป็นศัตรูกับหนี้ทุกประการ
เช่น อยากได้มือถือรุ่นใหม่ใจจะขาด คุณอาจจะคิดว่าถ้าใช้วิธีผ่อนรายเดือน 12 เดือน ก็มีหนี้เพิ่มอีกแค่เดือนละ
2,000 บาทเท่านั้นเอง อย่าเด็ดขาด... ถ้ามัวแต่คิดแบบนี้คุณก็จะก้าวไม่พ้นจากกับดักแห่งหนี้แน่นอน

หนทางที่จะปลดเปลื้องหนี้ได้ ต้องท่องให้ขึ้นใจว่า ไม่ว่าหนี้หน้าไหนก็อย่าได้ไปข้องแวะด้วย จะเป็นหนี้นอกหรือ
ในระบบ จะก้อนเล็กหรือใหญ่ก็ช่าง ถ้าผ่านด่านแรกนี้ไปได้ ประตูสู่อิสรภาพทางการเงินเปิดรอคุณแล้ว
หยุดสร้างหนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณต้องรู้จักใช้จ่ายให้เป็น
ควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น รีดค่าใช้จ่ายที่เป็นไขมันส่วนเกินออกให้มากที่สุด เรียกว่าใน
พจนานุกรมของคุณต้องมีแต่คำว่า “ประหยัด” และ “มัธยัสถ์” พร้อมลบคำว่า “ฟุ้งเฟ้อ”
และ “ไม่จำเป็น” ออกไปโดยเร็ว

วิธีรัดเข็มขัดก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร เพียงแค่คุณลองลิสต์รายการใช้จ่ายประจำเดือนออกมา ทุกอย่างก็จะฟ้องว่า...
มีค่าใช้จ่ายตรงไหนบ้างที่บางทีอาจไม่จำเป็นกับชีวิตคุณเท่าไหร่ แต่คุณก็เสียสตุ้งสตางค์ให้กับสิ่งเหล่านี้แทบทุกเดือน

เช่น ค่าเคเบิ้ลทีวีเดือนละหลายพันบาท ทั้งที่ความจริงแทบไม่ได้ดูอะไรเท่าไหร่ เพราะกว่าจะกลับถึงบ้านก็ดึกดื่น
ค่อนคืนแล้ว อันนี้คงต้องทบทวนว่า ถ้าไม่จำเป็นหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็อาจตัดรายจ่ายตรงนี้ออก สนองนโยบาย
รัดเข็มขัด อย่างน้อยงบดุลของคุณในฝั่งรายได้ก็มีเงินเพิ่มขึ้นอีกหลายพันเชียวล่ะ
ข้อนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวสุด บางคนอาจบอกว่ายาก ขณะที่บางคน
อาจบอกว่าง่าย เพราะคำว่า “นิสัย” นี่แหละเปลี่ยนยากเสียเหลือเกิน
แต่ยามที่สุขภาพทางการเงินย่ำแย่หนี้ท่วมแบบนี้ ถ้าคุณยังใช้นิสัยจับจ่าย
เพลินมือแบบเดิมๆ เห็นทีจะพ้นกับดักหนี้ยาก

เข้าใจอยู่หรอกว่าชีวิตคนโสดหรือไม่โสดก็ตามที มักจะมีเรื่องพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงเป็นการคลายเครียด แต่ถ้า
หน้าสิ่วหน้าขวานแบบนี้ คุณยังปาร์ตี้เดือนละ 3 คืน ทั้งๆ ที่หนี้ท่วมหัว อันนี้ก็อาจจะเครียดยิ่งกว่าเดิม ทางที่ดีช่วงจัดการหนี้
ควรลดละเลิกซะปรับเปลี่ยนนิสัยใช้จ่ายแบบเดิมๆ เชื่อสิว่าช่วยได้เยอะทีเดียว
เมื่อรัดเข็มขัดแล้ว หยุดสร้างหนี้แล้ว แถมเปลี่ยนนิสัยใช้จ่ายด้วย
ในเวลาเดียวกันคุณต้องมุ่งมั่นกำจัดหนี้ก้อนเก่าอย่างตั้งใจจริงด้วยบางคน
อาจจะบอกว่าขั้นตอนนี้นี่เองที่ยากที่สุด

มาถึงตรงนี้... ถ้าหนี้ก้อนใหญ่ คุณอาจต้องตั้งสติให้มั่น หาวิธีปลดหนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น ถ้าเป็นหนี้นอกระบบ
เสียเป็นส่วนใหญ่ ก็อาจต้องหาทางกู้ในระบบออกไปปลดหนี้นอกระบบก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้น้อยลง
จากนั้นค่อยมาผ่อนชำระกับสถาบันการเงิน
ไม่ว่าคุณจะหนี้มากหนี้น้อย ขอให้รู้ไว้ว่ากฎเหล็กของการเป็นหนี้คือ
อย่าปล่อยให้ชื่อของตัวเองหลุดไปโผล่ในบัญชีดำของสถาบันการเงินต่างๆ
เด็ดขาด เพราะสถาบันการเงินจะส่งข้อมูลของคุณให้กับเครดิตบูโร
และนั่นอาจทำให้เครดิตทางการเงินของคุณล่มสลายตามไปด้วย
เคยมีตัวอย่างของชายหนุ่มคนหนึ่งที่ผ่อนชำระเครื่องใช้ไฟฟ้ารายเดือนล่าช้า เพราะเห็นว่าเป็นเงินเพียงไม่กี่ร้อยบาท
แต่หลังจากนั้นเขาจะไปทำธุรกรรมทางการเงินในด้านต่างๆ ก็ล้วนเผชิญปัญหาและติดขัดไปหมด เพราะความที่รู้เท่า
ไม่ถึงการณ์นี่เอง

ฉะนั้น หากคุณเป็นหนี้บัตรเครดิตเงินกู้ส่วนบุคคล หรืออะไรก็ตาม ถ้าเริ่มมีปัญหาในการผ่อนชำระ หรือทำท่า
ว่าจะไปไหนไม่รอด อันดับแรกเลยคุณต้องเข้าไปหารือกับสถาบันการเงินเพื่อบอกเล่าถึงความจำเป็นในการผัดผ่อน
ของคุณและความตั้งใจจริงในการชำระหนี้

หากคุณลงมือทำตามบัญญัติ 5 ประการข้างต้น เชื่อเหลือเกินว่า... คุณจะปลดเปลื้องพันธนาการแห่งหนี้ได้ในที่สุด


ข้อมูลจาก : หนังสือ Money DIY จัดระเบียบการเงินให้อยู่หมัด!
หลายคนใช้จ่ายเงินจนเกินตัว หยิบยืมเงินในอนาคตมาใช้ โดยไม่ระมัดระวังว่าจะสามารถชำระคืนเมื่อครบกำหนด
ได้หรือไม่ ทำให้หนี้สินเริ่มพอกพูนมากขึ้น จนกลายเป็นวงจรหนี้สินที่ไม่รู้จักจบสิ้น ใครที่กำลังตกอยู่ในสภาพนี้
คำแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณพ้นจากการเป็นหนี้ได

ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
เริ่มจากการบันทึกในแต่ละวันว่าคุณใช้จ่ายอะไรไปบ้าง
ซึ่งจะทำให้คุณเห็นถึงรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ค่าเสื้อผ้า
ที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ ฯลฯ ถ้าคุณลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยต่างๆ
เหล่านี้ได้ คุณก็จะมีเงินเหลือไปชำระหนี้ได้มากขึ้น

ชำระหนี้ที่คิดดอกเบี้ยสูงๆ ก่อน
ให้พยายามผ่อนชำระหนี้ก้อนใหญ่ที่สุดให้หมดก่อน เพื่อลด
ภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนให้น้อยลง


ออมเพื่อลดหนี้
คุณอาจจะแบ่งเงินส่วนหนึ่งออกจากรายได้โดยนำไปฝาก
ธนาคารไว้ และเมื่อครบตามจำนวนที่ต้องการแล้วค่อยถอน
ออกมาเพื่อชำระหนี้ก้่อนนั้น


เปลี่ยนไปใช้บัตรเดบิต
วิธีนี้จะช่วยควบคุมการใช้จ่ายของคุณ เพราะคุณสามารถใช้
บัตรเดบิตได้ก็ต่อเมื่อคุณมีเงินอยู่ในบัญชีเท่านั้น โดยคุณ
สามารถซื้อสินค้าได้ตามต้องการ แต่เงินในบัญชีของคุณ
ก็จะถูกตัดออกไปทันที ซึ่งจะทำให้คุณไม่มีหนี้ค้างชำระ
ขายสินทรัพย์ออกไปเพื่อชำระหนี้
หากทำตามข้อแนะนำข้างต้นแล้ว คุณยังมีหนี้ก้อนโตที่ต้องรับผิดชอบอีก ก็ถึงเวลาที่คุณต้องขายสินทรัพย์บางอย่าง
เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ที่มีอยู่ เช่น ที่ดิน ทองคำ หรือเพชร ฯลฯ อย่ารู้สึกเสียดายเพราะคุณสามารถซื้อใหม่ได้ใน
วันหน้า

แต่วิธีที่ดีที่สุดในการหลุดพ้นจากการเป็นหนี้คือ “การใช้ชีวิตอย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริ” โดยปรับ
พฤติกรรมการใช้ชีวิต ให้กินอยู่ต่ำกว่าฐานะ ไม่ฟุ้งเฟ้อ และใช้เงินอย่างประหยัด แล้วคุณจะพบว่ามีความสุขในการ
ดำเนินชีวิตมากขึ้น

คุณใช้วิธีไหนในการลดภาระหนี้สินของตนเองบ้าง
ถ้าเลือกได้... ใครๆ ก็คงไม่อยาก “เป็นหนี้” แต่ในเมื่อหลวมตัวไปแล้ว ก็ต้องรู้จักบริหารจัดการหนี้ให้ดี
พร้อมหาทางสะสางหนี้ที่มีอยู่ให้หมดไป เริ่มง่ายๆ จาก...

หยุดก่อหนี้เพิ่ม!!!
หยุดกู้เงินก้อนนั้นมาโปะหนี้ก้อนนี้ เพราะมีแต่จะทำให้หนี้ยิ่งเพิ่ม

สรุปหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่
เพื่อให้รู้ว่ามีหนี้ทั้งหมดเท่าไหร่? แต่ละเดือนต้องจ่ายเท่าไหร่? หนี้ก้อนไหนเสียดอกเบี้ยเยอะสุด?

เจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้
เพื่อขอลดจำนวนเงินผ่อนต่อเดือน ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม หรือขอข้อเสนอพิเศษอื่นๆ

ชำระคืนหนี้อย่างฉลาด
เลือกจ่ายหนี้ที่ดอกเบี้ยแพงสุดให้หมดก่อน เช่น หนี้นอกระบบ หนี้บัตรเครดิต ฯลฯ และทันทีที่หมดหนี้ก้อนแรก
ให้รีบปลดก้อนต่อไปทันที


หาที่ปรึกษา
อย่าเก็บปัญหาทั้งหมดไว้คนเดียว ต้องพูดคุยกับคนในครอบครัว รวมทั้งปรึกษาผู้มีประสบการณ์ ผู้เชี่ยวชาญ
หรือนักกฎหมาย เพื่อหาทางรับมือกับปัญหาและเตรียมแนวทางแก้ไข

สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการปลดหนี้ คือ ต้อง “มีวินัยและปรับนิสัยใช้จ่าย” เพราะหากคุณยังมีนิสัย
จับจ่ายเพลินมือแบบเดิมๆ เห็นทีจะพ้นกับดักหนี้ได้ยาก

ลองบอกวิธีหักห้ามใจไม่ให้ก่อหนี้ของคุณมาสัก 3 วิธี
หากคุณเป็นคนหนึ่ง... ที่ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ตามข้อตกลงเดิมได้ แต่ก็ไม่ต้องการปล่อยให้เส้นทางการเงิน
ของคุณถูกต้อนเข้าสู่มุมอับ จากหนี้แสนกลายเป็นหนี้ล้าน ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล หรือวันๆ ไม่ได้ทำงานเพราะต้องคอย
หลบเจ้าหนี้ ลองมองหาช่องทาง “เจรจาประนอมหนี้” คงดีกว่าปล่อยให้กลายเป็นหนี้เสีย

หลักในการเจรจาประนอมหนี้มีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับนโยบายของสถาบันการเงินแต่ละแห่งที่แตกต่างกัน
แต่ที่คนส่วนใหญ่ใช้กันบ่อยๆ ได้แก

ขอลดยอดหนี้ลงบางส่วน
ขอขยายเวลาการชำระหนี้ 1 – 2 ปี
ขอลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนในแต่ละงวด
ขอให้คิดดอกเบี้ยในอัตราปกติที่ไม่ผิดนัด
ขอหยุดดอกเบี้ยและไม่คิดดอกเบี้ยระหว่างที่ผ่อนชำระ
ขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมหรือค่าปรับกรณีผิดนัดชำระ
ขอโอนหลักประกันเพื่อชำระหนี้
ฯลฯ

การเจรจาประนอมหนี้จะเหมาะสำหรับ “ลูกหนี้มีภาระหนี้ไม่เยอะ และมั่นใจว่าจะผ่อนไหวจนหมดเท่านั้น”เพราะเจ้าหนี้จะระงับหนี้เดิม แต่จะงอกสัญญาหนี้ฉบับใหม่มาให้ ซึ่งยอดหนี้จะเท่าเดิม แต่จะรวมดอกเบี้ยที่ค้างชำระ
ของเก่า ค่าธรรมเนียมจิปาถะ และดอกเบี้ยปรับโครงสร้างหนี้อีประมาณ 10% - 15%

ส่วนข้อสรุปในการเจรจาจะออกมาในรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งเงื่อนไข ระยะเวลา
เทคนิคการต่อรอง ชื่อเสียงหรือเครดิตของคุณ ตลอดจนการแสดงออกถึงความจริงใจและตั้งใจที่จะชำระหนี้ให้หมดด้วย

ขึ้นอยู่กับคุณแล้วล่ะ... ว่ากล้าเผชิญหน้ากับเจ้าหนี้หรือเปล่า?
อ๊ะอ๊ะ... ได้ยินคำว่า “แฮร์คัต” (Hair-cut) ไม่ได้หมายความให้คุณไปตัดผมนะ แต่เป็นการตัดหนี้หรือลดยอดหนี้
ต่างหาก จริงๆ แล้วการทำแฮร์คัต หมายถึง การเจรจาเพื่อขอลดหนี้ที่ค้างชำระ โดยแลกกับการจ่ายคืนหนี้ส่วนที่เหลือ
ให้ทันที ถ้าอธิบายง่ายๆ ก็ประมาณว่าหนี้แสนไม่มีจ่าย ขอจ่ายแค่ 70,000 บาท หยวนๆ ไม่มีผ่อน ไม่มีต่อรอง
จ่ายครั้งเดียวแล้วจบกันไป

เมื่อพูดถึงการแฮร์คัต โดยมากมักเป็นฝ่ายเจ้าหนี้ที่ยอมเจ็บตัว ยื่นข้อเสนอนี้
มาให้ลูกหนี้ แถมต้องเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ทำใจมาแล้วระยะหนึ่งผ่านกระบวนการ
ทวงแล้วทวงเล่าเฝ้าแต่ทวง ก็ยังมองไม่เห็นความหวังรำไรว่าจะได้เงินคืนเสียที

ฟังดูแล้ว... การแฮร์คัตก็คล้ายๆ กับการประนอมหนี้ เพราะมีการลดยอดหนี้
ให้เหมือนกัน แต่ต่างกันนิดเดียวตรงที่แฮร์คัตจะเป็นการลดยอดหนี้เพื่อให้ได้ตัวเลข
ที่ลูกหนี้มีปัญญาชำระได้ในคราวเดียว ในขณะที่เจ้าหนี้ก็ได้เงินคืนในอัตราที
ตนพอใจ

แต่ส่วนของการประนอมหนี้จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมตามมาอีกมากมาย เช่น
มีการแก้ไขสัญญาหนี้เดิม มีการตกลงเรื่องการปรับดอกเบี้ยของหนี้นั้นใหม่ ฯลฯ
ทางที่ดี... ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเจรจาประนอมหนี้หรือทำแฮร์คัต คุณจำเป็นต้องเรียนรู้รายละเอียด และ
ข้อควรระวังต่างๆ อย่างถี่ถ้วน เพื่อไม่ให้สิ่งที่คุณคิดว่าเป็นการได้เปรียบกลับกลายมาเป็นการเอาเชือกมารัดคอคุณเอง
ในภายหลัง

คุณคิดว่าทำไมเจ้าหนี้จึงยอมแฮร์คัต ลดหนี้ให้ ลองบอกเหตุผลมาสัก 3 ข้อ?

วันนี้คุณปลอดหนี้แล้วหรือยัง?
หลายคนทำงานเหนื่อยสายตัวแทบขาดกว่าจะหาเงินมาได้แต่ละบาทแต่ละสตางค์ แต่กลับใช้เงินอย่างไม่รู้คุณค่า
ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และขาดความระมัดระวังในการใช้จ่าย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณมีภาระหนี้สินอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว
ลองมาดูคำแนะนำดีๆ สำหรับผู้ที่ไม่อยากถลำลึกสู่การเป็นหน
ี้

ใช้แต่เงินสดเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์
คนส่วนใหญ่หากต้องซื้อของทุกอย่างด้วยเงินสด ก็จะคิดรอบคอบมากขึ้นก่อนที่จะหยิบเงินออกจากกระเป๋า

ใช้บัตรเครดิตเพียงใบเดียว
ให้ใช้บัตรที่ดอกเบี้ยต่ำที่สุด และไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี หรือใช้บัตรที่ได้คะแนนสะสมมากที่สุด

จ่ายยอดค้างชำระบัตรเครดิตให้หมดทุกเดือน
แม้ในใบแจ้งยอดบัญชีจะอนุญาตให้ชำระแค่ขั้นต่ำได้ แต่นั่นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด เพราะการชำระขั้นต่ำ
จะทำให้คุณมีหนี้สะสมโดยไม่รู้ตัว


กดเงินสัปดาห์ละครั้ง
กำหนดไปเลยว่าในแต่ละสัปดาห์คุณจะใช้เงินสดเท่าไร แล้วจึงกดเงินเพียงครั้งเดียว เมื่อเงินหมดการใช้จ่ายของคุณ
ก็จะจบตามไปด้วย


ต่อรองกับบริษัทบัตรเครดิต
ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่เต็มใจให้อัตราดอกเบี้ยที่ดีกับลูกค้า หรือยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้
ถ้าเริ่มเป็นหนี้บัตรเครดิตแล้ว จงถอนตัวให้เร็วที่สุด
หากเริ่มเป็นหนี้บัตรเครดิต คุณควรหาทางชำระหนี้ให้เร็วที่สุดโดยการต่อรองการผ่อนชำระเป็นงวดๆ
หรือในกรณีร้ายแรง ให้ลองติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอคำปรึกษา

การควบคุมค่าใช้จ่ายและการบริหารภาระหนี้สินเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความตั้งใจจริงและมีวินัยในการใช้จ่ายสูง
เพื่อให้คุณภาพชีวิตของคุณดีขึ้น ชีวิตเป็นสุข และปราศจากหนี้ตลอดไป

คุณมีวิธีหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้ได้อย่างไร?
 
 
ที่มา ::   http://www.tsi-thailand.org/
 
 
 
 
 
 
 
 
 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น