วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

มุมความรู้เกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์

มุมความรู้เกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์
 
 
รู้จักตราสารอนุพันธ์
ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) เป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่งที่มีการซื้อขายกันในตลาดการเงินในปัจจุบัน หลายท่านอาจคิดว่าตราสารอนุพันธ์เป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในตลาดการเงิน แท้จริงแล้วตราสารประเภทนี้มีวิวัฒนาการมานานแล้วนับเป็นเวลาหลายศตวรรษ เพียงแต่ว่าผู้คนทั่วไปไม่ค่อยจะคุ้นเคยกับวิธีการ มักจะมองว่าเป็นเครื่องมือทางการเงินที่มีความซับซ้อนเข้าใจยาก และเมื่อมีการนำคณิตศาสตร์ขั้นสูงเข้ามาใช้ในการคำนวณราคาของตราสารอนุพันธ์ด้วย ก็ยิ่งทำให้การศึกษาเรื่องตราสารอนุพันธ์อยู่ไกลตัวของผู้คนส่วนใหญ่ออกไปทุกที ขณะเดียวกันก็มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าตราสารอนุพันธ์เป็นที่แพร่หลายในตลาดการเงินปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้ลงทุนจำนวนมากเข้ามาทำการซื้อขายตราสารประเภทนี้ จนทำให้มีมูลค่าซื้อขายทั่วโลกถึงวันละหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ความหมายของตราสารอนุพันธ์
ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) เป็นสัญญาทางการเงินระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่าย ตกลงกันที่จะซื้อขายสินทรัพย์ อ้างอิง (Underlying Assets) ในปัจจุบัน แต่จะทำการส่งมอบและชำระราคากันในอนาคต
ตราสารอนุพันธ์ถูกสร้างและออกแบบมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารและป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์อ้างอิง หรือตราสารทางการเงินอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
ประเภทของตราสารอนุพันธ์
ตราสารอนุพันธ์ประเภทหลักๆ ที่ควรเรียนรู้ในเบื้องต้นได้แก่ Options, Forward, Futures, และ Swaps
Forward เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นข้อตกลงระหว่าง 2 ฝ่าย คือ ผู้ซื้อ กับผู้ขาย โดยผู้ซื้อตกลงทำสัญญาว่าจะซื้อ สินค้า จากผู้ขาย ในขณะเดียวกัน ผู้ขายตากลงทำสัญญาที่จะขาย สินค้า ดังกล่าวให้กับผู้ซื้อ โดยตกลงตกลงราคาที่จะซื้อขายกันตั้งแต่วันนี้ แต่มีกำหนดว่าจะส่งมอบสินค้าตามสัญญาเพื่อแลกกับการชำระเงินกันในอนาคต โดยผู้ซื้อผู้ขายจะตกลงรายละเอียดต่างๆ ของสัญญาระหว่างกันเอง และเป็นการดำเนินการระหว่างผู้ซื้อผู้ขายโดยตรง หรือที่มักเรียกว่า การซื้อขายาตลาด OTC (over the counter)
Futures เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทหนึ่ง ที่ซื้อขายกันในตลาดซื้อขายล่วงหน้า หรือที่เรียกว่าตลาดอนุพันธ์ซึ่งเป็นตลาดที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งตลาดอนุพันธ์จะกำหนดกฎเกณฑ์และเงื่อนไขรายละเอียดของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นมาตรฐาน มีความแน่นอน และประกาศให้ทราบทั่วกัน เช่นคุณภาพของสินค้าอ้างอิงจะถูกระบุในสัญญามาตรฐานนั้นเช่นจนกัน ผู้ซื้อผู้ขายจึงเจรจาต่อรองการซื้อขายกันเฉพาะราคาเท่านั้น
ทั้งนี้ในการซื้อขายผ่านตลาดอนุพันธ์ซึ่งมีสัญญาที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานนั้น ทำให้ผู้ซื้อผู้ขาย Futures ไม่จำเป็นต้องถือสัญญาซื้อขายล่วงหน้านี้จนครบกำหนด แต่อาจขายหรือซื้อเปลี่ยนมือกันได้โดยผ่านกลไกของตลาดอนุพันธ์ นอกจากนี้ยังมีสำนักหักบัญชีที่ทำหน้าที่ในการชำระราคา และเข้าเป็นคู่สัญญาให้กับผู้ซื้อผู้ขาย จึงทำให้ผู้ลงทุนไม่ต้องเสี่ยงกับการที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะบิดพลิ้วไม่ทำตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ โดยปัจจุบันตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้มีการซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์ ดังต่อไปนี้
-SET50 Index Futures
-Single Stock Futures
-Gold Futures
Options เป็นสิทธิที่จะซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Assets) ในราคาที่กำหนด และระยะเวลาที่กำหนดโดยสิทธิในการซื้อเรียกว่า Call Option และสิทธิในการขายเรียกว่า Put options สิ่งสำคัญที่ควรทราบในชั้นต้นนี้ก็คือ options เป็นเพียงสิทธิเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ผู้ซึ้อจะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าใช้สิทธิ ผู้ขายจะต้องยินยอมให้ใช้สิทธิตามที่กำหนดเอาไว้ได้ โดยปัจจุบันตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้มีการซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์ ดังต่อไปนี้
-SET50 Index Options
Swap เป็นสัญญาในการแลกเปลี่ยนบางสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตระหว่างคู่สัญญา ซึ่งอาจจะเป็นสินทรัพย์หรือตัวแปรทางการเงินเช่นเงินตราต่างประเทศหรืออัตราดอกเบี้ย สัญญาสวอป ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ สัญญาสวอปอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Swap) ซึ่งเป็นสัญญาทางการเงินที่คู่สัญญาตกลงที่จะแลกเปลี่ยนภาระการชำระดอกเบี้ยให้แก่กันและกัน ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้และสัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศ (Currency Swap) ซึ่งเป็นสัญญาในการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหนึ่งกับเงินอีกสกุลหนึ่งที่อ้างอิงไว้ เป็นต้น
ชนิดของผู้ค้าในตลาดอนุพันธ์
ผู้ค้า(Trader) หลักๆในตลาดอนุพันธ์ได้แก่ Hedgers, Speculators และ Arbitrageurs โดยลักษณะของผู้ค้าแต่ละประเภทนั้น มีรายละเอียดต่างๆดังต่อไปนี้
Hedgers หมายถึง ผู้ค้าที่ต้องการกำหนดเวลา (ซื้อหรือขาย) สินทรัพย์อ้างอิงไว้ล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงจาการเปลี่ยนแปลงของราคาของสินทรัพย์นั้นในอนาคต การกำหนดราคาไว้ล่วงหน้าทำให้เมื่อครบกำหนดเวลาในอนาคตแล้ว Hedgers อาจจะได้รับผลกำไรหรือประสบภาวะขาดทุนก็ได้ แต่ก็มีข้อดี คือช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินทรัพย์อ้างอิง ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของ Hedgers
Speculators ในขณะที่ Hedgers เข้าซื้อหรือขาย Futures หรือ Options เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินทรัพย์อ้างอิงในอนาคต แต่ Speculators เข้าซื้อขาย Futures หรือ Options โดยยอมรับความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาในอนาคต เพื่อมุ่งหวังกำไรจาการซื้อขายเป็นการตอบแทน
Arbitrageurs เป็นบุคคลกลุ่มที่สามที่เข้าทำธุรกรรมในตลาด Futures และ Option โดยที่ Arbitrageurs คือผู้ลงทุนที่แสวงหากำไรจาการเข้าทำธุรกรรมในตลาด (Futures หรือ Option) พร้อมๆกันมากกว่า 2 ตลาดขึ้นไป เนื่องจากเห็นความแตกต่างระหว่างราคาของตราสารในตลาดเหล่านั้น
อย่างไรก็ตามการแสวงหากำไรแบบ Arbitrage นี้ จะต้องเกิดขึ้นเร็วมาก เพราะถ้าทุกคนรู้ ก็จะเข้ามาทำกลยุทธ์การลงทุนแบบเดียวกัน เช่น จากตัวย่างข้างต้น ถ้ามี Arbitrageurs เข้ามา ซื้อหุ้น X พร้อมๆกัน ราคาหุ้น X ใน NYSE ก็จะสูงขึ้นกว่า $172 และถ้าขายหุ้น X ใน LSE พร้อมๆกัน ราคาหุ้น X ใน LSE ก็จะลดลวต่ำกว่า £ 100 นอกจากนี้ การขอแลกเงินปอนด์มาเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลง และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯค่าขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยน$1.75 ต่อ £ ซึ่งในที่สุดแล้ว จะทำให้กำไรจากการทำ Arbitrage ลดลงน้อยกว่า $300 และหายไปในที่สุด
ตัวอย่างข้างต้นนี้เป็นการทำ Arbitrage ในระหว่างตลาดหลักทรัพย์สองแห่งที่มีสินค้าเหมือนกัน โดย Arbitrager สามารถซื้อสินค้าในตลาดหนึ่งที่มีราคาถูกก่วา และไปขายในอีกตลาดหนึ่งที่มีราคาแพงกว่า ทำให้ได้กำไรทันทีโดยไม่ต้องเผชิญความเสี่ยง แต่ถ้าเป็นกรณี การทำ Arbitrage ในตลาด Futures หรือ Option ก็จะมีความซับซ้อนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม Arbitrager ก็จะทำธุรกรรมด้วยวัตถุประสงค์ที่คล้ายกันคือ ทำธุรกรรมในลักษณะที่สามารถให้ผลตอบแทนโดยไม่มีความเสี่ยงไมว่ากรณีใดๆ
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น