วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Exchange Traded Fund (ETF)

Exchange Traded Fund (ETF)

ุ ลักษณะของ ETF
ชื่อเรียกเต็มๆว่า Exchange Traded Fund
ลักษณะเป็น กองทุนรวมเปิดที่สามารถซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์เหมือนหลักทรัพย์ตัวหนึ่ง
จุดเด่น คือ การผสมผสานข้อดีของกองทุนรวมและหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เข้าด้วยกัน
ข้อดีของกองทุนรวม
ETF ถือเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการบริหารจัดการการลงทุนในเชิงรับ (Passive Fund) จะมุ่งเน้นในการสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีหรือราคาของหลักทรัพย์ที่กองทุนใช้อ้างอิงมากที่สุด ดังนั้นการลงทุนในกองทุนรวมจึงคล้ายกับการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีหรือหลักทรัพย์ที่กองทุนใช้อ้างอิงทั้งหมด เพราะการซื้อกองทุนรวมเพียงหนึ่งหน่วยก็เสมือนกับได้ลงทุนในหลักทรัพย์ทุกตัวที่ประกอบขึ้นเป็นดัชนี แต่ใช้เงินลงทุนน้อยกว่า และ ยังช่วยกระจายความเสี่ยงได้มากกว่า
ข้อดีของหลักทรัพย์จดทะเบียน
การซื้อขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อมูลทั้งในแง่ของราคาและปริมาณจะถูกนำเข้ามารวมอยู่ในที่เดียวกันและถูกแสดงให้เห็นแบบ Real-time บนกระดานของตลาดหลักทรัพย์ จึงทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อขายสำหรับนักลงทุนที่สนใจ
หลักทรัพย์อ้างอิงหลากหลาย
ETF มีนโยบายการลงทุนคล้ายกับกองทุนรวมที่อ้างอิงกับดัชนี (Index Fund) ที่อ้างอิงหลักทรัพย์ได้หลากหลายประเภท อาทิเช่น
1. หุ้น : ตะกร้าหุ้น / หุ้นรายอุตสาหกรรม / หุ้นในต่างประเทศ
2.ตราสารหนี้: พันธบัตรรัฐบาล / หุ้นกู้เอกชน
3.สินค้าโภคภัณฑ์: ทองคำ / เงิน / น้ำมัน
4.อัตราแลกเปลี่ยน: ดอลลาร์ / ยูโร
ลงทุนได้ช่วงตลาดขาลง
เนื่องจาก ETF เป็นหลักทรัพย์ที่สามารถยืมและให้ยืมได้ จึงทำให้นักลงทุนสามารถยืม ETF มาเพื่อขายชอร์ต (Short sale) ในช่วงที่ตลาดขาลง และซื้อที่ราคาต่ำเพื่อนำมาคืนให้แก่ผู้ให้ยืม ETF ซึ่งการขายชอร์ตนี้เองเป็นอีกหนึ่งจุดที่ทำให้ ETF แตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไปที่ไม่สามารถขายชอร์ตได้
หมดกังวลเรื่องการซื้อขาย
ETF เป็นหลักทรัพย์ที่สามารถซื้อขายได้บนกระดานและมีค่าธรรมเนียมการซื้อขายเท่ากับการซื้อขายหุ้นสามัญ นักลงทุนจึงสามารถซื้อขาย ETF ได้ตลอดเวลาผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (Brokers) โดยไม่ต้องกังวลถึงเวลาซื้อขายเหมือนการซื้อขายกองทุนรวม
มีกลไกที่ทำให้ราคา ETF เข้าสู่ดุลยภาพ
ETF สามารถเพิ่มหรือลดหน่วยลงทุนได้ผ่านทางผู้ร่วมค้าหน่วยลงทุน (Participating Dealer : PD) ที่เป็นนักลงทุนสถาบันที่ถูกแต่งตั้งโดยบริษัทจัดการกองทุน ซึ่งการเพิ่มลดหน่วยของ ETF มีขึ้นเพื่อสนับสนุนการซื้อขายและตอบสนองความต้องการของตลาด เพราะเมื่อใดที่ความต้องการลงทุนใน ETF มีสูงหรือน้อยกว่าจำนวนหน่วยที่มีให้ซื้อขาย ราคาของ ETF ที่ซื้อขายอยู่ในตลาดอาจถูกบิดเบือนจากมูลค่าที่แท้จริง การเพิ่มลดหน่วยจึงทำให้ราคาซื้อขายใกล้เคียงมูลค่าที่แท้จริงในขณะนั้น ราคาซื้อขายจึงอยู่ในดุลยภาพและเคลื่อนไหวตามดัชนีอ้างอิง
มีราคาอ้างอิงให้ดูตลอดเวลา (ราคา iNAV)
นักลงทุนสามารถทราบถึงมูลค่าที่แท้จริงของ ETF ได้ จากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณ (Indicative NAV : iNAV) โดยบริษัทจัดการที่เป็นผู้จัดการกองทุน ETF จะมีการคำนวณและประกาศมูลค่าสินทรัพย์สุทธิโดยประมาณทุกๆ 15 วินาทีตลอดช่วงเวลาซื้อขาย ซึ่งแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไปที่ประกาศมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนต่อหน่วย (Net Asset Value : NAV) ณ สิ้นวันทำการ ผู้ที่ลงทุนใน ETF จึงไม่ต้องรอลุ้นราคาต้นทุนที่อาจปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสิ้นวัน เพียงแค่ตัดสินใจซื้อขาย ETF ที่ราคาที่ตนต้องการ
มีผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker)
ETF ทุกกองจะต้องมี Market maker อย่างน้อยหนึ่งรายที่ทำหน้าที่เสนอซื้อขายตลอดเวลา เพื่อดูแลสภาพคล่องให้กับ ETF นั้นๆ โดย Market Maker คือ บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการที่ดูแลกองทุน ให้ทำหน้าที่เป็นผู้เสนอซื้อหรือเสนอขาย ETF ในตลาด โดยจะทำการเติมทั้งจำนวนและราคาเสนอซื้อ (Bid) และ ราคาเสนอขาย (Offer) ด้วยราคาที่ใกล้เคียงกับ iNAV ส่งผลให้ราคา ETF ที่ซื้อขายให้ใกล้เคียง iNAV เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขาย ETF ให้กับนักลงทุน ให้สามารถซื้อขายได้ตลอดเวลา
การเปิดเผยข้อมูลการลงทุนของกองทุน
บริษัทจัดการที่ดูแล ETF จะต้องทำการเปิดเผยรายชื่อและจำนวนหลักทรัพย์ที่กองทุน ETF ลงทุนเป็นประจำทุกวัน หากรายชื่อหรือจำนวนหลักทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลง บริษัทจัดการจะต้องแจ้งให้นักลงทุนทราบ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ถือหน่วย ETF สามารถตรวจสอบการลงทุนว่าเป็นไปตามนโยบายที่กำหนดได้ตลอดเวลา
หุ้นกู้อนุพันธ์อ้างอิงราคาหุ้น ( Equity-Linked Notes : ELN )
ด้านราคาหลักทรัพย์อ้างอิง
เนื่องจากการลงทุนใน ETF เปรียบเสมือนการลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิง ดังนั้นความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์อ้างอิงจึงอาจส่งผลให้ผลตอบแทนของ ETF เปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน
ด้านความผันผวนของผลตอบแทน
ในบางครั้ง ETF อาจไม่สามารถให้ผลตอบแทนได้เท่ากับการเคลื่อนไหวของหลักทรัพย์อ้างอิง ซึ่งอาจเกิดจากเหตุจำเป็นหรือสภาวะตลาดไม่เอื้ออำนวย ทำให้บริษัทจัดการไม่สามารถดำรงส่วนต่างดังกล่าว โดยค่าความผันผวนของผลตอบแทนของกองทุน เมื่อเทียบกับผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิงนี้ เรียกว่า Tracking error
ด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ผู้ถือหน่วย ETF ที่อ้างอิงหลักทรัพย์ในต่างประเทศ อาจมีความเสี่ยงเพิ่มเติมจากอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ถือหน่วย ETF ที่ลงทุนในหลักทรัพย์ในประเทศ
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น