วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ซื้อขายตราสารหนี้ผ่านธนาคาร ทำอย่างไร?

ซื้อขายตราสารหนี้ผ่านธนาคาร ทำอย่างไร?
 
 
 
ลักษณะของตลาดตราสารหนี้


เนื่องจากการซื้อขายตราสารหนี้ไม่มีสถานที่ตายตัวเหมือนตลาดหุ้น ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ จึงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยใช้วิธีแจ้งราคาและสั่งซื้อขายทางโทรศัพท์เป็นส่วนใหญ่ แต่หากท่านลงทุนผ่านธนาคารกรุงเทพ ท่านจะมีทางเลือกมากขึ้นในการติดตามราคาซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ในแต่ละวัน ทั้งจากหนังสือพิมพ์รายวันเช่น กรุงเทพธุรกิจ จีนสากล เดอะเนชั่น เว็บไซต์ของธนาคาร หรือติดต่อโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงเทพสาขาใดก็ได้แต่หากท่านลงทุนผ่านธนาคารกรุงเทพ ท่านจะมีทางเลือกมากขึ้นในการติดตามราคาซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ในแต่ละวัน ทั้งจากหนังสือพิมพ์รายวันเช่น กรุงเทพธุรกิจ จีนสากล เดอะเนชั่น เว็บไซต์ของธนาคาร หรือติดต่อโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงเทพสาขาใดก็ได้

จำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำ
  • พันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
    500 หน่วย หรือ 500,000 บาท และเป็นจำนวนทวีคูณของ 100 หน่วย หรือ 100,000 บาท
  • หุ้นกู้ (สำหรับการเสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัด)
    10,000 หน่วย หรือ 10 ล้านบาท และเป็นจำนวนทวีคูณของ 100 หน่วย หรือ 100,000 บาท
  • หุ้นกู้ (สำหรับการเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป)
    10 หน่วย หรือ 10,000 บาท และเป็นจำนวนทวีคูณของ 10 หน่วย หรือ 10,000 บาท



เอกสารที่ต้องแสดง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2 ฉบับ
  • สำเนาสมุดบัญชีคู่ฝาก 2 ฉบับ (ในกรณีที่ต้องการรับดอกเบี้ยด้วยวิธีโอนเข้าบัญชีธนาคาร)
  • หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีที่ให้ผู้อื่นดำเนินการซื้อขายในนามของท่าน)
  • ใบพันธบัตร (หากท่านเป็นผู้ขาย)
  • สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี (หากท่านเป็นผู้ขาย)
ท่านต้องลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องในสำเนาเอกสารทุกฉบับด้วย


ใบพันธบัตร
เมื่อซื้อตราสารหนี้ ท่านสามารถขอใบแสดงหลักฐานความเป็นเจ้าของตราสารหนี้ (ใบพันธบัตร) หรือสมัครเข้าระบบพันธบัตรชนิดจดบัญชี (ไม่มีใบพันธบัตร) ก็ได้ หากท่านขอใบพันธบัตร นายทะเบียนจะจัดส่งให้ท่านภายใน 45 วัน และหากท่านเข้าระบบพันธบัตรชนิดจดบัญชี ชื่อของท่านจะถูกบันทึกลงในบัญชีรายชื่อผู้ถือพันธบัตร และจะได้รับใบรายงานบัญชีแสดงรายการหลักทรัพย์ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ (statement) แทนใบพันธบัตร


การรับดอกเบี้ย
เมื่อซื้อตราสารหนี้ ท่านจะต้องเลือกว่าต้องการรับดอกเบี้ยด้วยวิธีใด ซึ่งเลือกได้ 2 วิธี คือ
  • นำเข้าบัญชีธนาคารของท่านโดยตรง
  • เช็ค
หมายเหตุ: ผู้ออกตราสารหนี้จะเป็นผู้ชำระดอกเบี้ย และผู้รับดอกเบี้ยจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 ทุกครั้ง


กระบวนการซื้อขาย
  • ท่านสามารถซื้อและขายหลักทรัพย์ทุกประเภทกับสาขาของธนาคาร และยังสามารถซื้อขาย
    ผ่านระบบออนไลน์ได้ใน
    10 สาขา
  • กรอกใบแจ้งความจำนงซื้อหรือขายที่สาขา
  • หากท่านเป็นผู้ซื้อ ราคาซื้อจะเป็นราคา ณ วันนั้น (T)
  • หากท่านเป็นผู้ขาย ราคาขายจะเป็นราคา ณ วัน T+4 และท่านจะได้รับชำระเงินในอีก 4 วัน
    ทำการถัดไป


วิธีการชำระเงิน ในกรณีที่ธนาคารเป็นผู้ขาย
ท่านสามารถชำระค่าตราสารหนี้ได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้:
  • เงินสด
  • เช็คบุคคลหรือแคชเชียร์เช็คของธนาคารอื่น สั่งจ่ายธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ต้องชำระ
    ก่อน 12.00 น.
  • เช็คบุคคลหรือแคชเชียร์เช็คของธนาคารกรุงเทพ สั่งจ่ายธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ต้องชำระก่อน 14.00 น.
  • หักจากบัญชีของท่านที่ธนาคารกรุงเทพในเขตกรุงเทพมหานคร โดยสามารถหักได้จนถึง
    ก่อน 15.00 น.

วิธีการชำระเงิน ในกรณีที่ธนาคารเป็นผู้ซื้อ
ท่านสามารถได้รับชำระเงินได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้:
  • โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงเทพของท่าน
  • รับเป็นแคชเชียร์เช็ค


หมายเหตุ: ในกรณีที่ได้กำไรจากการขายตราสารหนี้ ผู้ขายจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 จากส่วนต่างระหว่างราคาขายและต้นทุน



คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น