วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ปกป้องความมั่งคั่ง

ปกป้องความมั่งคั่ง
 





ชีวิตคนเราต้องเผชิญกับความเสี่ยงรอบด้าน ใครจะรู้... ว่าเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างอุบัติเหตุหรือเจ็บไข้ได้ป่วย
จะเกิดกับคุณและครอบครัวเมื่อไหร่ หากคุณไม่ได้เตรียมการรับมือเอาไว้ ทรัพย์สินเงินทองที่เก็บสะสมมาตลอดชีวิตอาจ
หมดไปเพียงเพราะถูกสารพันความเสี่ยงทั้งหลายจู่โจมโดยไม่ทันตั้งตัว


ทางที่ดี... คุณควรหาตัวช่วยเพื่อ “ปกป้องความมั่งคั่ง” (Wealth Protection)

ให้อยู่กับคุณไปนานๆ พร้อมทั้งเลือกวิธีจัดการความเสี่ยงต่างๆ อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะใช้ชีวิต
อย่างเรียบง่ายเพื่อลดความเสี่ยง หลีกเลี่ยงกิจกรรมอันตรายทั้งหลายทั้งปวง รวมถึงรู้จักถ่ายโอน
ความเสี่ยงด้วย“การทำประกันภัย” ติดไม้ติดมือเอาไว้บ้าง แม้วิธีการเหล่านี้จะไม่สามารถขจัด
ความเสี่ยงทุกชนิดให้หมดไปจากชีวิตเราได้ แต่ก็น่าจะช่วยสร้างความมั่นใจว่า... เรายังมีตัวช่วย
บรรเทาความสูญเสียทางการเงินได้ในระดับหนึ่ง
นอกจากเรื่องราวไม่คาดฝันที่อาจมาเคาะประตูบ้านเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ อีกเหตุการณ์หนึ่งที่หลายคนคิดไม่ถึงว่าจะเป็น
ความเสี่ยงในชีวิตนั่นคือ การมีเงินไม่พอใช้ในวัยเกษียณ ใครที่เคยคิดว่าไม่ต้องสะสมเงินออมอะไรให้มันเยอะหรอก ไม่รู้จะได้ใช้
ตอนแก่รึเปล่า เผลอๆ จะขึ้นสวรรค์ไปซะก่อน อ๊ะอ๊ะ... ขอบอกว่าประมาทได้ที่ไหน เพราะเดี๋ยวนี้ใครๆ เขาก็อายุยืนกันทั้งนั้น
ยิ่งบางคนอยู่ถึงร้อยกว่าปีเลยทีเดียว เชื่อว่าถ้าอายุยืนแล้วไม่มีเงินใช้ คงจะน่ากลัวกว่าสิ่งอื่นใดเป็นแน่แท้

ดังนั้น “การวางแผนเกษียณ” ซะตั้งแต่วันนี้ จึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่จะทำให้คุณมีเงินพอใช้อย่างสุขสบายในช่วง
บั้นปลายของชีวิต หากคุณเอาแต่ผัดวันประกันพรุ่งโดยไม่ทำอะไรเลย กว่าจะรู้ตัวว่ามีเงินไม่พอใช้ตอนเกษียณก็คงสายไป
เสียแล้ว!!!

เมื่อรู้ตัวว่าต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความเสี่ยงและเลี่ยงได้ไม่พ้น สู้หาอะไรป้องกันความเสี่ยงไว้ไม่ดีกว่าหรือ?
อย่างน้อยยังช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้




สร้างเกราะคุ้มครองความมั่งคั่งง่ายๆด้วยตนเอง


ชีวิตคนเราต้องเผชิญกับความเสี่ยงรอบด้าน ใครจะรู้... ว่าเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างอุบัติเหตุหรือเจ็บไข้ได้ป่วย
จะเกิดกับคุณและครอบครัวเมื่อไหร่ หากคุณไม่ได้เตรียมการรับมือเอาไว้ ทรัพย์สินเงินทองที่เก็บสะสมมาตลอดชีวิตอาจ
หมดไปเพียงเพราะถูกสารพันความเสี่ยงทั้งหลายจู่โจมโดยไม่ทันตั้งตัว


ทางที่ดี... คุณควรหาตัวช่วยเพื่อ “ปกป้องความมั่งคั่ง” (Wealth Protection)

ให้อยู่กับคุณไปนานๆ พร้อมทั้งเลือกวิธีจัดการความเสี่ยงต่างๆ อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะใช้ชีวิต
อย่างเรียบง่ายเพื่อลดความเสี่ยง หลีกเลี่ยงกิจกรรมอันตรายทั้งหลายทั้งปวง รวมถึงรู้จักถ่ายโอน
ความเสี่ยงด้วย“การทำประกันภัย” ติดไม้ติดมือเอาไว้บ้าง แม้วิธีการเหล่านี้จะไม่สามารถขจัด
ความเสี่ยงทุกชนิดให้หมดไปจากชีวิตเราได้ แต่ก็น่าจะช่วยสร้างความมั่นใจว่า... เรายังมีตัวช่วย
บรรเทาความสูญเสียทางการเงินได้ในระดับหนึ่ง
นอกจากเรื่องราวไม่คาดฝันที่อาจมาเคาะประตูบ้านเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ อีกเหตุการณ์หนึ่งที่หลายคนคิดไม่ถึงว่าจะเป็น
ความเสี่ยงในชีวิตนั่นคือ การมีเงินไม่พอใช้ในวัยเกษียณ ใครที่เคยคิดว่าไม่ต้องสะสมเงินออมอะไรให้มันเยอะหรอก ไม่รู้จะได้ใช้
ตอนแก่รึเปล่า เผลอๆ จะขึ้นสวรรค์ไปซะก่อน อ๊ะอ๊ะ... ขอบอกว่าประมาทได้ที่ไหน เพราะเดี๋ยวนี้ใครๆ เขาก็อายุยืนกันทั้งนั้น
ยิ่งบางคนอยู่ถึงร้อยกว่าปีเลยทีเดียว เชื่อว่าถ้าอายุยืนแล้วไม่มีเงินใช้ คงจะน่ากลัวกว่าสิ่งอื่นใดเป็นแน่แท้

ดังนั้น “การวางแผนเกษียณ” ซะตั้งแต่วันนี้ จึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่จะทำให้คุณมีเงินพอใช้อย่างสุขสบายในช่วง
บั้นปลายของชีวิต หากคุณเอาแต่ผัดวันประกันพรุ่งโดยไม่ทำอะไรเลย กว่าจะรู้ตัวว่ามีเงินไม่พอใช้ตอนเกษียณก็คงสายไป
เสียแล้ว!!!

เมื่อรู้ตัวว่าต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความเสี่ยงและเลี่ยงได้ไม่พ้น สู้หาอะไรป้องกันความเสี่ยงไว้ไม่ดีกว่าหรือ?
อย่างน้อยยังช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้




วางแผนประกัน



เคยมั้ย... กำลังคุยกับเพื่อนเก่าเรื่องหน้าที่การงานอยู่ดีๆ ก็มีอันต้องวงแตกแยกย้าย
กันไปทำธุระกะทันหัน เพียงเพราะหนึ่งในนั้นเอ่ยขึ้นมาว่า
“เรามีอาชีพใหม่ ขายประกันไง
เพื่อนๆ น่าจะซื้อไว้สักฉบับนะ”
และเคยมั้ย... แม้จะแยกย้ายกันไปแล้ว แต่ไอ้เพื่อน
ยอดนักขายก็ยังตามมาตื้อ ตื้อ ตื้อ จนในที่สุด... คุณต้องยอมซื้อประกันเพื่อตัดรำคาญ

ไม่ว่าคุณจะซื้อประกันเพราะจำใจหรือเหตุผลใดก็ตาม... อย่าได้คิดว่านั่นคือเศษกระดาษ
ธรรมดา ไม่มีคุณค่าหรือประโยชน์ใดๆ เพราะอันที่จริงแล้วการประกันก็เปรียบเสมือน
“ร่ม” ยามใดฟ้าใสไร้พายุฝน ร่มจะเป็นภาระ เกะกะ ไม่คล่องตัว แต่ยามใดที่ฝนตกหรือแดดแรง
ยามนั้นเราจะรู้สึกดีที่มีร่มให้พึ่งพา

ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน... ในวันที่ยังไม่มีเรื่องร้ายๆ แผ้วพานเข้ามา หลายคนอาจคิดว่า
การทำประกันช่างเป็น “ภาระ” (ทางการเงิน) ซะเหลือเกิน แต่หากเจ็บไข้ได้ป่วย
ประสบอุบัติเหตุ ขึ้นโรงขึ้นศาล ไฟไหม้บ้าน รถชนจนพิการหรือร้ายแรงจนเสียชีวิตเมื่อไหร่
เมื่อนั้นแหละ... จะรู้ซึ้งถึงคุณค่าของประกันขึ้นมาทันที เพราะงานนี้มีคนตามมาจ่ายค่าเสียหาย
ให้ถึงที่ บางทีคุณอาจไม่ต้องควักกระเป๋าจ่ายเงินเองสักบาทเลยด้วยซ้ำ

เอาเป็นว่า... หากคุณไม่หัวเก่าจนเกินไปและไม่คิดว่าการทำประกันจะเป็นการ “แช่ง” ตัวเองให้เจอแต่เรื่องร้ายๆ
ก็มา “วางแผนประกัน” กันเถอะ!!!
ก่อนทำประกัน อันดับแรกต้องดูว่าคุณมีภาระอะไรบ้าง ทั้งภาระค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สิน เช่น ต้องสะสมเงินเป็น
ค่าเล่าเรียนของลูก ต้องออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ ต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ ก็ควรทำประกันให้ครอบคลุมความเสี่ยงและภาระ
ทางการเงินทั้งหมด พร้อมสำรวจสวัสดิการที่มีอยู่ควบคู่ไปด้วย เป็นต้นว่า... คุณมีสวัสดิการที่ดีจากที่ทำงาน หรือประกันสังคม
คุ้มครองในบางส่วนอยู่แล้ว ก็ใช้วิธี “ซื้อเพิ่ม” ในส่วนที่คุณขาดไปและต้องการ จะได้ไม่ต้องเสียค่าเบี้ยประกันเกินความจำเป็น

วิธีทำประกันแบบไม่ให้รู้สึกว่าเป็นภาระติดตัว คือ ให้ทำแบบพอดีๆ มีกำลังส่งไปตลอดรอดฝั่ง เพราะการทำประกัน
อาจต้องใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร ฉะนั้น ถ้าคุณคิดว่าเป็นภาระที่ต้องจ่ายในระยะยาว ก็ลองคำนวณรายรับรายจ่าย
ของตัวเองดูว่าในแต่ละเดือนหรือปีนั้น คุณมีกำลังส่งค่าเบี้ยประกันได้เท่าไหร่ที่จะไม่ “เกินตัว” อย่างน้อยๆ ลองเจียดเงินสัก
10% ของรายได้มาทำประกันก็ถือว่าไม่มากเกินไป เมื่อมีรายได้มากขึ้นค่อยทยอยซื้อประกันเพิ่มขึ้น

นอกจากปัญหาจ่ายค่าประกันเกินกำลังแล้ว อีกปัญหาหนึ่งซึ่งพบอยู่เป็นประจำ คือ ซื้อประกันไม่ตรงกับความต้องการ
และวัตถุประสงค์ของตนเอง ยิ่งทุกวันนี้มีประกันมากมายหลายชนิด แถมแต่ละชนิดยังมีลูกเล่นที่แตกต่างกันออกไป จึงไม่มีใคร
บอกได้ว่าประกันแบบไหนที่จะเหมาะกับเรามากที่สุด... นอกจากตัวเราเอง

บางคนไม่เน้นว่าจะได้ผลตอบแทนคืนเท่าไหร่ แต่ขอให้ตอนเจ็บไข้ได้ป่วยได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด ส่วนบางคนเน้น
ว่าจะได้ผลตอบแทนมากหน่อย ไม่เน้นเรื่องรายละเอียดคุ้มครอง ขณะที่บางคนนึกถึงคนที่อยู่ข้างหลังมากที่สุด ว่าจะได้รับ
ผลประโยชน์มากน้อยแค่ไหน จึงไม่มีคำตอบที่แน่นอนตายตัวสำหรับผู้ทำประกัน

แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกแบบไหนก็ตาม... ขอให้ศึกษากรมธรรม์อย่างรอบคอบ จะได้รู้ว่าเงื่อนไขของประกันที่คุณเลือกนั้น
ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง และคุณจะได้รับประโยชน์มากน้อยแค่ไหน

ประกันภัย ประกันวินาศภัย ประกันชีวิต
“การทำประกันภัย” เป็นการเฉลี่ยความเสียหายทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นกับเราไปยังบุคคลอื่น
ด้วย “เบี้ยประกัน” จำนวนไม่มากนัก เราก็จะได้รับความคุ้มครองทางการเงินเมื่อประสบภัย ซึ่งการประกันภัย
ในบ้านเราแบ่งออกเป็น...

การประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance) คือ การประกันภัยที่ใช้ทรัพย์สิน วัตถุ
หรือความรับผิดเป็นเหตุให้เกิดการชดใช้เงินตามสัญญา เช่น ประกันรถยนต์ ประกันอัคคีภัย
ประกันการโจรกรรม ฯลฯ

การประกันชีวิต (Life Insurance) คือ การประกันภัยที่อาศัยชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพ
อนามัยของผู้ทำประกันเป็นเหตุให้เกิดการชดใช้เงินตามสัญญา เช่น ประกันอุบัติเหตุ
ประกันสุขภาพ ฯลฯ

แต่ไม่ว่าเราจะทำประกันภัยในรูปแบบใดก็ตาม นอกจากเราจะมี “สิทธิ” ในการเรียกร้อง
ค่าเสียหายตามกรมธรรม์แล้ว เรายังมี “หน้าที่” ในการเปิดเผยข้อเท็จจริง คอยระแวดระวัง
ไม่ก่อภัยขึ้นเอง รวมไปถึงการชำระเบี้ยตามกำหนดด้วย

คุณทำ “หน้าที่” ครบถ้วนก่อนเรียกร้อง “สิทธิ” หรือเปล่า?
เลือกบริษัทผู้รับประกันภัย... ดูปัจจัยอะไรบ้าง
หลักสำคัญในการเลือกผู้รับประกัน คือ “ความมั่นคงทางการเงินของผู้รับประกัน” เพื่อเป็นหลักประกัน
ที่มั่นคงในยามที่ต้องประสบความสูญเสีย ผู้รับประกันภัยที่ดีต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการ และสร้าง
ผลตอบแทนที่ดีได้จากเบี้ยประกันที่เก็บรวบรวมไว้ รวมทั้งต้องจัดสรรเงินชดใช้เพื่อการบรรเทาความสูญเสียได้
ตามสัญญาอย่างรวดเร็วและทันท่วงที

นอกจากนี้ ในปัจจุบันผู้รับประกันมีกรมธรรม์ประกันภัยแบบต่างๆ ให้เลือกมากมาย
เราควรเลือกทำประกันภัยแบบที่จะได้รับประโยชน์ตรงตามความต้องการของตนเองมากที่สุด
ทั้งผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงิน สิทธิพิเศษในด้านอื่น การให้บริการของตัวแทนประกันภัย
ตลอดจนความสามารถในการเป็นตัวกลางเพื่อไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

เพื่อให้ได้บริษัทผู้รับประกันภัยที่ดีที่สุด เราควรหาข้อมูลบริษัทผู้รับประกันหลายๆ แห่ง
เพื่อเปรียบเทียบอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจฝากอนาคตของตนเองและสมาชิก
ในครอบครัวไว้กับผู้รับประกัน โดยข้อมูลสำคัญที่จะต้องเปรียบเทียบประกอบด้วย...

ข้อมูลทางการเงิน ชื่อเสียงของบริษัท ประวัติการดำเนินงาน รูปแบบของกรมธรรม์ การให้บริการ ค่าใช้จ่ายต่างๆ
ซึ่งหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของกรมการประกันภัย
www.oic.or.th


คุณเลือกบริษัทประกันภัยจากปัจจัยใดบ้าง?
2 ชนิด 3 ประเภท 4 แบบ... เลือกอะไรดี
หลายคนอาจสงสัยว่า... “การประกันชีวิต” มีอยู่เยอะแยะมากมาย แล้วจะเลือกอย่างไรให้เหมาะกับตัวเรา
ก่อนอื่น... เราต้องรู้จักก่อนว่าการประกันชีวิตในบ้านเราแบ่งออกเป็น
“2 ชนิด 3 ประเภท 4 แบบ”
2 ชนิด... คือ ชนิดที่มีเงินปันผลและไม่มีเงินปันผล
3 ประเภท... ได้แก่
“ประเภทสามัญ” เน้นเฉลี่ยความเสี่ยงในกลุ่มผู้ที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ทุนประกันค่อนข้างสูง

“ประเภทอุตสาหกรรม” ที่มีทุนประกันและเบี้ยประกันต่ำมาก เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง

“ประเภทกลุ่ม” เป็นประกันชีวิตของบริษัท ซึ่งนายจ้างจะขอทำประกันให้กลุ่มลูกจ้างหรือพนักงาน
ภายใต้กรมธรรม์หลักฉบับเดียวกัน ค่าเบี้ยประกันที่แต่ละคนต้องชำระจะต่ำกว่าประเภทสามัญ และอุตสาหกรรม
4 แบบ... แบ่งเป็น
“แบบชั่วระยะเวลา” (Term Insurance) มีทั้งระยะสั้น ระยะยาว จ่ายเงินคืนให้แก่ผู้รับประโยชน์
เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองการเสียชีวิต
ก่อนวัยอันควร หรือคุ้มครองหนี้สิน

“แบบตลอดชีพ” (Whole Life Insurance) คุ้มครองตลอดชีพ โดยจะจ่ายเงินคืนให้ผู้รับประโยชน์
เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต หรือจ่ายเงินคืนให้ผู้เอาประกันเมื่อผู้เอาประกันมีอายุครบ 99 ปี เหมาะสำหรับ
ผู้ที่เป็นเสาหลักของครอบครัว

“แบบสะสมทรัพย์” (Endowment Insurance) ลูกผสมระหว่างการคุ้มครองชีวิตและการออมเงิน
จ่ายเงินคืนให้ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต หรือจ่ายเงินคืนให้ผู้เอาประกันเมื่ออยู่จนครบสัญญา
เหมาะสำหรับผูู้้ที่ต้องการออมเงินระยะยาว

“แบบเงินได้ประจำ” (Annuities Insurance) บริษัทประกันจะจ่ายเงินให้เป็นงวดๆ จนกว่า
ผู้เอาประกันจะเสียชีวิต เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสะสมเงินไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณอายุ แต่ประกัน
แบบสุดท้ายนี้ยังไม่มีในบ้านเรา

คุณต้องการประกันชีวิตแบบไหน... ต้องการความคุ้มครองหรือเป็นเงินออม?
ทุนประกันเท่าไหร่จึงจะพอดี
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการทำประกันชีวิต แต่ยังติดที่ไม่รู้ว่าควรจะทำทุนประกันเท่าไหร่จึงจะพอเหมาะพอดี
วิธีที่ง่ายที่สุด คือ “วิธีทวีคูณรายได้” (The Multiple of Earnings Method) โดยตัวเลขทวีคูณที่นิยมใช้จะอยู่
ระหว่าง 3 – 5 เท่าของรายได้ต่อปี
ตัวอย่างเช่น สมศักดิ์มีรายได้ 500,000 บาทต่อปี สมมติให้ตัวเลขทวีคูณเท่ากับ 5 ดังนั้น สมศักดิ์จึงควร
ทำประกันด้วยทุนประกัน 2,500,000 บาท (500,000 x 5)

ตัวเลขทวีคูณตามวิธีนี้ สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสถานการณ์ของแต่ละครอบครัวได้ โดยประเมินจาก
“ระยะเวลาในการปรับตัว” เพื่อให้คนที่อยู่ต่อไปสามารถดูแลตนเองและดำเนินชีวิตได้ตามปกติ อย่างกรณีของ
สมศักดิ์หากสมศักดิ์เสียชีวิตไป ภรรยาของเขาจะได้รับเงิน 2,500,000 บาท ซึ่งจะช่วยให้เธอมีเวลาตั้งหลัก
และยังมีเงินใช้จ่ายเหมือนสมศักดิ์ยังคงทำงานหาเงินอยู่อย่างน้อย 5 ปี

นอกจากวิธีทวีคูณรายได้แล้ว คุณอาจใช้ “วิธีวิเคราะห์ความจำเป็นทางการเงิน” (The Financial Needs Analysis Method) เพื่อประมาณทุนประกันที่เหมาะสมได้เช่นกัน แต่วิธีนี้อาจต้องใช้เวลาสักหน่อย เพราะต้อง พิจารณารายละเอียดรอบด้านทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อจะได้ทราบความต้องการทางการเงินที่แท้จริง เริ่มจาก...

ขั้นที่ 1 ประมาณความต้องการทางการเงินที่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครอง
ต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายและภาระทางการเงินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งหมด ได้แก่ รายได้สำหรับ
ครอบครัว ภาระหนี้สิน การศึกษาบุตร ค่ารักษาพยาบาล เงินฉุกเฉิน ความทุพพลภาพ การชดเชย
รายได้ รวมทั้งความคุ้มครองทรัพย์สินส่วนบุคคล
ขั้นที่ 2 ประมาณการรายได้และทรัพยากรทางการเงินทั้งหมดที่มี
เช่น เงินออม เงินลงทุน ดอกเบี้ย ผลตอบแทนผลประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งสินทรัพย์ที่มีมูลค่าทั้งหมด
โดยระยะเวลาในการประมาณการรายจ่ายและรายได้ต้องสอดคล้องกัน
ขั้นที่ 3 คำนวณทุนประกัน
หลังจากรวบรวมข้อมูลรายจ่ายและรายได้เรียบร้อยแล้ว ให้คำนวณทุนประกันที่เหมาะสม
ได้จากสูตร...

หลักสำคัญที่ทำประกันแบบไม่ให้รู้สึกว่าเป็นภาระติดตัว คือ “ให้ทำแบบพอดี” ไม่ใช่ทำด้วยทุนประกันเยอะๆ
แล้วต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันปีละมากๆ จนต้องล้มเลิกกลางคัน ดูตัวอย่างการคำนวณทุนประกันด้วยวิธีนี้
คลิกที่นี่
ลองคำนวณทุนประกันที่เหมาะสมของคุณ โดยวิธี Financial Needs Analysis
จ่ายเบี้ยพอเหมาะ ต้องไม่สร้างภาระเพิ่ม
คุณทราบหรือไม่... จำนวนเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายในแต่ละปีขึ้นอยู่กับวงเงินทุนประกัน
หรือวงเงินคุ้มครองที่คุณต้องการ การทำประกันชีวิตในวงเงินคุ้มครองที่สูงเกินไป จะทำให้คุณ
มีภาระค่าเบี้ยประกันชีวิตสูงตามไปด้วย ดังนั้น เพื่อไม่ให้การจ่ายเบี้ยประกันชีวิตต้องเป็นภาระ
ทางการเงินมากเกินไปนัก คุณอาจใช้เกณฑ์เบื้องต้น ดังนี้
จากตัวอย่างก่อนหน้านี้ แสดงว่าสมศักดิ์ไม่ควรจ่ายเบี้ยประกันชีวิตเกินปีละ 50,000 บาท ทั้งนี้ จะต้องพิจารณา
ภาระทางด้านการเงินด้านอื่นๆ ประกอบด้วย หากมีภาระหนี้สินและภาระค่าใช้จ่ายสูงอยู่แล้ว ก็ให้ปรับลดวงเงินประกัน
ตามความเหมาะสม สำหรับการทำประกันชีวิตที่เป็นสัญญาระยะยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ปัจจุบันรัฐบาลอนุญาตให้นำ
เบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี

จำนวนเบี้ยประกันที่เหมาะสมสำหรับคุณปีละเท่าใด?
จัดการประกันชีวิตอย่างไรในช่วง “เงินช็อต”
ในชีวิตคุณอาจมีบางช่วงที่เงินช็อตกะทันหัน หรือดวงตก ไม่มีงาน ไม่มีเงิน ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้
ี้ทำงานอยู่ดีๆ บริษัทก็เจ๊งไปซะเฉยๆ ที่เคยใช้เงินมือเติบกลับต้องเขียมแบบสุดๆ อะไรตัดได้เป็นตัด พอเห็นบิล
เรียกเก็บค่าประกันเข้าอีกหนึ่งรายการ... ลมแทบจับ
ตัดใจโยนกรมธรรม์ที่จ่ายเบี้ยเป็นเงินแสนทิ้งไปดีกว่าอดตาย หรือยอมกัดฟัน
จ่ายอีกงวด พร้อมคิดในใจว่าคงไม่ตกงานไปทั้งชาติหรอกน่า!!!

ถ้าเข้าตาจนอย่างนี้... ไม่ต้องคิดมาก แค่คุณเดินเข้าไปหาตัวแทนประกันของคุณ ให้เขาจัดการ “กู้เงิน” จากมูลค่าเงินสดในกรรมธรรม์มาจ่ายค่าเบี้ย ซึ่งมูลค่าเงินสด
จะเกิดขึ้นเมื่อคุณส่งเบี้ย 2 ปีขึ้นไป ยิ่งคุณส่งเบี้ยมาแล้วหลายปีจะมีมูลค่าเงินมากขึ้น
อาจจะพอให้คุณกู้จ่ายค่าเบี้ยเอาตัวรอดไปได้สักปี หรืออาจจะมีแค่ส่วนต่างเล็กน้อยที่
ี่คุณต้องโปะเพิ่มบางส่วน หลังจากนั้นเมื่อมีรายได้คุณค่อยไปจ่ายเงินกู้ค่าเบี้ยพร้อมดอกเบี้ย
อีกประมาณ 8% เท่านี้กรมธรรม์ของคุณก็ไม่ขาดอายุ
คุณมีวิธีจัดการอย่างไรไม่ให้ “เงินช็อต”?
ประกันสุขภาพ... ซื้อที่ “ส่วนเกิน”
เมื่อซื้อประกันชีวิตหลักไว้เรียบร้อยแล้ว จะเป็นการดีหากคุณพ่วงประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ หรือฆาตกรรม
เข้าไปด้วย เพราะไม่ว่าคุณจะแข็งแรงปานใด แต่ก็ไม่สามารถแน่ใจได้หรอกว่าสักวันหนึ่งคุณจะไม่ล้มหมอนนอนเสื่อหรือ
นอนหยอดน้ำข้าวต้มในโรงพยาบาล ยิ่งเดี๋ยวนี้ค่าห้อง ค่าหมอ ค่ายา แพงอย่าบอกใคร หากไม่อยากเปลี่ยนให้ฐานะ
จนลงเพราะค่ารักษาพยาบาล ก็ควรมีประกันสุขภาพอย่างน้อยสักฉบับก็ยังดี
แต่การเลือกซื้อประกันสุขภาพ คุณควรซื้อแค่ “ส่วนเกิน” ของสวัสดิการประกันสังคม
และสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่เจ้านายคุณจ่ายเท่านั้น เพราะประกันสุขภาพ เป็นการ
จ่ายเบี้ย “แบบทิ้งเปล่า” ปีต่อปี ถ้าปีไหนไม่เจ็บไข้ได้ป่วยต้องหามส่งโรงพยาบาล
ก็อย่าหวังจะได้แอ้ม

เวลาซื้อประกันสุขภาพมี 2 ตัวที่ต้องคำนึงถึง คือ “ค่ารักษาพยาบาล”กับ "ค่าห้อง"
ถ้าคุณพอใจจะมีเพื่อนคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ คุณก็ไม่จำเป็นต้องเสียสตางค์ซื้อ
ประกันสุขภาพเพิ่ม แต่ถ้าห้องรวมมันแออัดเหลือเกิน คุณก็ต้องยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีกนิด
เพื่ออัพเกรดสิทธิเป็นห้องเดี่ยวในโรงพยาบาล

แต่โปรดรู้ไว้... คุณไม่จำเป็นต้องซื้อประกันสุขภาพเต็ม 100% ของค่าห้องที่คุณพอใจ เอาแค่ครอบคลุม
สัก 80% ก็พอส่วนที่เหลืออีก 20% ไว้ค่อยจ่ายตอนที่คุณเข้าไปนอนในโรงพยาบาลก็แล้วกัน
คุณเคยสำรวจสวัสดิการที่มีอยู่บ้างหรือเปล่า... ว่าครอบคลุมค่าใช้จ่ายแค่ไหน?
ประกันอัคคีภัยแบบไหนดี???

คุณรู้หรือไม่... ในการทำประกันภัยบ้าน คุณควรเลือกซื้อ “กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
สำหรับที่อยู่อาศัย”
แทนกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยแบบธรรมดา

อ๊ะอ๊ะ!!! สงสัยละสิว่าทั้ง 2 กรมธรรม์ต่างกันอย่างไร ในเมื่อเป็นประกันอัคคีภัยเหมือนกัน

ต่างกันแน่นอน... เพราะถ้าคุณซื้อประกันอัคคีภัยธรรมดา คุณจะได้รับความคุ้มครอง
ที่แคบกว่า เฉพาะไฟไหม้ ฟ้าผ่า และแก๊สระเบิดเพียง 3 ภัย แต่หากคุณซื้อกรมธรรม์ประกัน
อัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย คุณจะได้ความคุ้มครองครอบคลุมถึง 6 ภัย อันได้แก่

ภัยจากไฟไหม้ รวมถึงไฟไหม้ป่า พุ่มไม้ พงรก และการเผาป่าเพื่อปราบพื้นที่
ฟ้าผ่า รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรเนื่องจากฟ้าผ่า
การระเบิดทุกชนิด
ภัยจากการชนโดยยานพาหนะ รวมถึงช้าง ม้า วัว ควาย แต่ต้องไม่ใช่ยานพาหนะของผู้เอาประกันภัย
ภัยจากการชนหรือตกใส่จากอากาศยาน เครื่องบิน จรวด เฮลิคอปเตอร์ อากาศยานทุกชนิด
ภัยจากน้ำ เกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุจากการปล่อย รั่วไหล ล้นจากท่อน้ำ ถังน้ำ แต่ไม่รวมถึงน้ำท่วม
และท่อประปาที่แตกนอกตัวบ้าน

ตอนนี้บ้านคุณทำประกันอัคคีภัยแบบไหนอยู่?




วัยเกษียณ


จะเกษียณตอนอายุเท่าไหร่? หลังเกษียณอยากใช้ชีวิตแบบไหน? อยากทำอะไร? หลายคนวาดฝันถึงชีวิต
ในบั้นปลายไว้เป็นอย่างดี แต่หลายคนก็ยังไม่เคยนึกถึงเรื่องนี้เลยสักครั้ง โดยเฉพาะหนุ่มสาวที่เพิ่งก้าวเข้าสู่วัยทำงาน
อาจคิดว่าเป็นเรื่องของอนาคตอันยาวไกล ยังมีเวลาอีกตั้ง 20–30 ปี เอาไว้อายปลายๆ เลข 4 หรือขึ้นเลข 5 ค่อยเตรียมตัว
ก็คงทัน

ไม่ผิดหรอก... ถ้าคิดว่ายังมีเวลาเหลือเฟืออีกหลายปี แต่คุณคิดว่าตัวเองจะมีเรี่ยวแรงทำงานและมีรายได้อย่าง
สม่ำเสมอไปอีกนานเท่าไหร่? เพราะไม่ว่าใครก็ต้องมีช่วงวัยเกษียณด้วยกันทั้งนั้น และนั่นหมายถึง
“การหยุดทำงานประจำ
+ ไม่มีรายได้หลักอีกต่อไป”
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า... เมื่อเกษียณอายุแล้วคุณจะหยุดใช้ชีวิตหยุดใช้เงิน
ทุกๆ วันที่เหลืออยู่ คุณยังต้องกินต้องใช้ ยิ่งอายุยืนยาวเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งต้องใช้เงินมากขึ้นเท่านั้น


ลองคิดดูเล่นๆ ก็ได้... ถ้าคุณเกษียณตอน 60 และพิจารณาจากอายุขัยของญาติพี่น้องแล้ว ก็คาดว่าจะอยู่ถึงอายุ 80 ปี
เท่ากับคุณต้องใช้ชีวิตหลังเกษียณโดยไม่มีรายได้ราวๆ 20 ปี สมมติคุณมีค่าอาหาร 100 บาทต่อวัน หรือ 37,000 บาทต่อปี
แสดงว่าคุณต้องเตรียมค่าอาหารหลังเกษียณไว้สูงถึง 7 แสนกว่าบาทเลยทีเดียว นี่ขนาดยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่าง
ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางท่องเที่ยว ฯลฯ ยังต้องใช้เงินเยอะขนาดนี้ แล้วคุณจะเอาเงินมาจากไหนเพื่อ
ให้เพียงพอใช้ไปตลอดชีวิต

บางคนบอกไม่เห็นต้องทำอะไรมากมาย เดี๋ยวลูกหลานก็เลี้ยงดู ให้กินให้อยู่อย่างสุขสบาย บางคนบอกไม่ต้องห่วงเลย
ก็ได้ ยังไงรัฐก็มีสวัสดิการตั้งมากมายมอบให้ผู้สูงอายุอยู่แล้ว

เรื่องของอนาคต... คงไม่มีใครฟันธงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าจะเป็นไปตามที่เราคาด หากเรามองโลกในแง่ดีจนเกินไป
เกิดวันหนึ่งรัฐบาลไม่พร้อมจะช่วยเหลือ แถมลูกหลานก็มีภาระรัดตัว ชีวิตเรามิต้องเคว้งคว้างไร้คนดูแลหรอกหรือ?

ฉะนั้น “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” นั่นแหละ... ดีที่สุด เพราะชีวิตคนเราเกิดมาทั้งทีแก่ได้แค่ครั้งเดียว คงจะดีไม่น้อย...
หากในช่วงบั้นปลาย เราได้ใช้ชีวิตตามที่ปรารถนาโดยไม่ต้องพึ่งพาใคร แถมมีเงินเลี้ยงตัวเองได้อย่างสบายๆ จนถึงวันสุดท้าย
ของชีวิต

มาถึงตรงนี้ หลายคนคงสงสัย... แล้วต้องมีเงินเท่าไหร่จึงจะพอใช้สบายๆ ไปตลอดชีวิต? จริงๆ มันขึ้นอยู่กับ
ปัจจัยหลายอย่าง แต่เอาเป็นว่า... ถ้าคุณจะเช็คเงินออมที่ต้องมีคร่าวๆ แบบที่ยังสามารถรักษาไลฟ์สไตล์ การใช้ชีวิตแบบเดิมๆ
เอาไว้ได้้ก็ลองใช้สูตรนี้

ตัวอย่างเช่น เพลินใจตั้งใจจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณอายุไปอีก 20 ปี ถ้าเพลินใจ
มีค่าใช้จ่ายปัจจุบัน 30,000 บาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณของเพลินใจจะเท่ากับ 21,000 บาทต่อเดือน
(70% x 30,000) หรือราวๆ 252,000 บาทต่อปี

จากนั้นก็นำไปคูณกับจำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุ ซึ่งก็คือ 20 ปี นั่นหมายความว่าเพลินใจควรมีเงิน
ประมาณ 5,040,000 บาท ตอนอายุ 60 ปี (252,000 x 20) ซึ่งก็ถือว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม หลังเกษียณแล้ว... คุณอาจมีเงินออมหรือเงินลงทุนบางส่วนที่สะสมไว้และสามารถนำมาใช้ตอนเกษียณ
อายุได้โดยที่คุณคาดไม่ถึง เช่น การทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์หรือแบบบำนาญ เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินจาก
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) รวมถึงเงินจากการลงทุนส่วนตัวหรือรายได้จากช่องทางอื่นๆ ฯลฯ แต่โดยทั่วไป
เงินออมเหล่านี้มักไม่มากพอที่จะทำให้คุณมีชีวิตที่สุขสบายหรือวิ่งตามความฝันในวัยเกษียณได้

ดังนั้น หากไม่อยากลำบากตอนแก่ ก็เริ่มคิดและออกแบบชีวิตในวัยเกษียณซะตั้งแต่วันนี้... ว่าต้องมีเงินเท่าไหร่
่ ถึงจะพอใช้ไปตลอดชีวิต ถ้าขืนมานึกขึ้นได้ว่าต้องเก็บออมตอนอายุย่างเข้าเลข 5 เค้าลาง “โคม่า” และ
“ลำบากแสนเข็ญ” คงลอยมาอยู่ตรงหน้าตั้งแต่ยังไม่เกษียณเลยด้วยซ้ำ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณต้องเตรียมตัวไว้ก่อน พร้อม “ลงมือออมให้เร็ว
ที่สุด”
เพื่อความมั่งคั่งและมั่นคงของตัวคุณเอง
เพียงเท่านี้... ก็เกษียณอย่างสุขกาย สบายใจ แถมสบายกระเป๋าสตางค์ในวัยเกษียณได้แล้ว!!!
คุณพร้อมหรือยัง... สำหรับวันเกษียณอายุ
เมื่อพูดถึงคำว่า “เกษียณอายุ” หลายคนอาจมองว่าเป็นการสูญเสียบางสิ่งบางอย่างไปจากชีวิต และไม่อาจยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ แต่ในทางตรงกันข้าม หากมีความพร้อมและลองมองโลกในแง่ดี ก็อาจพบว่า...
ถึงเวลาแล้วที่คุณจะได้พักผ่อนและแสวงหาความสุขให้กับชีวิตได้อย่างเต็มที่เสียที ลองมาดูแนวทางในการก้าวสู่ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุขกัน
เตรียมใจ ช่วงหลังเกษียณอายุจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม
ตลอดจนฐานะทางการเงิน การเตรียมใจไว้ก่อนล่วงหน้าจะช่วยให้คุณสามารถปรับตัวและใช้ชีวิต
ได้อย่างมีความสุขในวัยเกษียณ
เตรียมกาย เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเตรียมตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ซึ่งการมีสุขภาพดีย่อมหมายถึง
การใช้เวลาที่เหลืออย่างมีประโยชน์ ลดการเป็นภาระแก่ผู้อื่น มีอารมณ์และสุขภาพจิตที่ดี
เตรียมแผนการใช้เวลา เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายได้อย่างมีเป้าหมาย รู้ว่าช่วงเวลาใด
จะทำอะไร เช่น เวลาทำงาน เวลาตรวจสุขภาพ เวลาท่องเที่ยวพักผ่อน เวลาออกกำลังกาย ฯลฯ
เตรียมครอบครัว ความผูกพันในครอบครัวระหว่างสามีภรรยาหรือพ่อแม่ลูก เป็นเครื่องบ่งชี้
ในระดับหนึ่งว่าเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจะมีความเอื้ออาทรระหว่างกัน ช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน
เตรียมเพื่อน รักษาสัมพันธภาพกับเพื่อนไว้ให้มั่นคง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนใหม่ เพื่อนเก่า เพื่อนบ้าน
หรือ เพื่อนร่วมงาน เพราะเพื่อนจะช่วยให้เกิดกำลังใจและมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตมากขึ้น
เตรียมแผนการใช้เงิน เพื่อให้คุณสามารถบริหารจัดการเงินก้อนสุดท้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเตรียมความพร้อมทั้ง 6 ประการ เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะหากคุณไม่มีการวางแผนหรือ
เตรียมความพร้อมใดๆ คุณอาจต้องพบกับคำว่า “สายเกินไป” ที่จะเตรียมการในด้านต่างๆ เพื่อชีวิตหลังเกษียณ
ได้อย่างทันท่วงที
คุณพร้อมหรือยังสำหรับวันเกษียณอายุ?
วางแผนเกษียณทั้งที... มีอะไรต้องคิดบ้าง
การที่คุณจะวางแผนและบริหารเงินออมเพื่อการเกษียณอายุของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรืออย่างน้อยก็ให้พอเพียง
กับการดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข ควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้
ระยะเวลาแห่งช่วงชีวิต (Longevity)
เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นว่าคุณจะต้องใช้เงินออมของคุณไปอีกกี่ปีหลังจากเกษียณ โดยในปัจจุบัน
ช่วงชีวิตโดยเฉลี่ยของผู้ชายคือ 72 ปี และของผู้หญิงคือ 75 ปี ซึ่งเทคโนโลยีการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้น
อาจทำให้มนุษย์มีอายุยืนยาวกว่าค่าเฉลี่ยนั้น และเมื่อมีอายุยืนยาวขึ้น จำนวนเงินที่ต้องการใช้
ยามเกษียณอายุก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
อัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าน่าจะเป็นไปในช่วงเวลาของการเกษียณอายุ (Inflation)
เงินเฟ้อเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุม และเป็นสิ่งที่ทำให้เงินออมที่คุณหามาด้วยความยากลำบาก
ในแต่ละปีต้อง “ด้อยค่า” ลงไปอย่างช่วยไม่ได้ ยิ่งระดับอัตราเงินเฟ้อสูงมากขึ้นเท่าใด เงินออม
ของคุณก็ด้อยค่าลงมากเท่านั้น
วิถีชีวิต (Life Style)
โดยทั่วไปคุณจะต้องการเงินประมาณ 70% ของรายจ่ายปัจจุบัน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายยามเกษียณอายุ ซึ่งจำนวนเงินนี้อาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิต ปัญหาสุขภาพ ภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ
รวมถึงกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่แต่ละคนวางแผนเอาไว้
สุขภาพ (Health)
หากเกิดปัญหาสุขภาพไม่ว่าก่อนหรือหลังเกษียณ เงินออมเพื่อการเกษียณของคุณย่อมที่จะ
ประสบปัญหาอย่างแน่นอน ซึ่งทางเดียวที่จะช่วยบรรเทาปัญหาสุขภาพได้ก็คือ “การออกกำลังกาย”


ประเด็นทั้ง 4 หัวข้อที่กล่าวมาข้างต้น อาจถูกกำหนดได้ง่ายกว่าหากคุณอยู่ในช่วงใกล้จะปลดเกษียณ
แต่การประมาณการไว้คร่าวๆ ก่อนปลดเกษียณซัก 20 - 30 ปี ก็เป็นสิ่งที่คุณน่าจะลองทำดู
คุณคาดว่าจะมีชีวิตยืนยาวถึงเท่าไหร่?
5 ขั้นตอนเตรียมเกษียณบนกองเงิน
กำหนดอายุที่ต้องการจะเช่น 60 ปี 55 ปี หรือจะ early ที่อายุ 45 ปี เพื่อจะได้รู้ว่า... เรามีเวลา เตรียมตัว เตรียมการ เตรียมสตางค์ อีกนานเท่าไหร่
ประมาณช่วงระยะเวลาหลังเกษียณ เช่น 20 ปี 25 ปี หรือ 30 ปี เพื่อให้รู้ว่าเราจะต้องใช้เงิน
หลังเกษียณไปอีกกี่ปี โดยประเมินจากญาติพี่น้องในครอบครัวว่าส่วนใหญ่เสียชีวิตที่อายุประมาณ
เท่าไหร่ ประกอบกับความแข็งแรงสมบรูณ์ของร่างกายและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราว่าเสี่ยงมาก
เสี่ยงน้อยแค่ไหน
ประมาณการค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ ประเมินจาก Lifestyle ที่ออกแบบไว้จะท่องเที่ยว พักผ่อน ฯลฯ แต่อย่าลืมคำนึงถึง “เงินเฟ้อ” ด้วย โดยประมาณเป็นรายเดือน แล้วคำนวณเป็นปี จากนั้นก็คำนวณตามช่วงอายุหลังเกษียณ
ประมาณการรายได้หลังเกษียณ เช่น เงินบำเหน็จบำนาญ เงินรับจากกองทุนประกันสังคม
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รายได้จากการลงทุน การประกันชีวิต ฯลฯ
วางแผนการออมในปัจจุบัน จากประมาณการค่าใช้จ่ายและรายได้หลังเกษียณ เราก็จะรู้ว่าต้องเก็บเงินเพิ่มอีกเท่าไร และจะสามารถวางแผนการออม การลงทุนอย่างเหมาะสมได้

ลองประมาณการค่าใช้จ่ายรายเดือนและรายปีที่คุณต้องการใช้หลังเกษียณ?


แหล่งเงินได้หลังเกษียณ
คุณรู้หรือไม่... หลังเกษียณเรามีรายได้จากแหล่งใดบ้าง
กองทุนประกันสังคม
หากเราจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมา 15 ปี พออายุ 55 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญ
ชราภาพ ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน คิดจากเพดานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท
ตามข้อกำหนดของกองทุน และถ้าจ่ายสมทบเกินกว่า 15 ปี ก็จะได้โบนัสอีกปีละ
1.5% สมมติเราจ่ายสมทบมา 30 ปีก่อนเกษียณ จะได้โบนัส15 ปีหรืออีก
3,375 บาท รวมเป็น 6,375 บาทต่อเดือน ซึ่งยังไม่ได้ปรับด้วยเงินเฟ้อ

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรณีเป็นข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุน จะได้รับเงินบำนาญ = (เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x อายุราชการ)
/ 50 แต่ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย หรืออาจเป็นเงินบำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ
ตามเงื่อนไขทางราชการ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่ลูกจ้างและนายจ้างสมัครใจร่วมกันสมทบเข้ากองทุน ถ้าเราเริ่มทำงานและสะสมเงินเข้ากองทุนนี้ ตั้งแต่อายุ 25 ปี โดยสะสม 3% ของเงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท ถ้าเงินเดือนเพิ่มขึ้นปีละ 5% นายจ้างสมทบให้ 3% และกองทุนได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4% เมื่ออายุ 60 ปี เราจะมีเงินประมาณ 1.2 ล้านบาทจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

แต่ถึงแม้ว่า... เราจะมีเงินได้จากกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ หรือเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินจาก กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้วก็ตาม หากพิจารณาตัวเลขอย่างรอบคอบและปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้น ก็จะพบว่าเงินที่คาดว่าจะได้เหล่านั้น
น่าจะยังไม่พอใช้จ่ายหากเราต้องการรักษามาตรฐานการใช้ชีวิต
ไว้ในระดับเดิม
เราจึงควรวางแผนการลงทุนและทำประกันชีวิตระยะยาวเพิ่ม เพื่อเป็นแหล่งเงินได้สำหรับการใช้จ่าย
ในวัยเกษียณด้วย ซึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ได้แก่

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “RMF” ซึ่งจะช่วยสร้างวินัยในการลงทุนให้เราได้ เพราะเป็นการลงทุนระยะยาวที่ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง และเรายังได้รับประโยชน์ทางภาษีในช่วงที่ลงทุนอีกด้วย ปัจุบันมี
กองทุนรวม RMF มากมาย ให้เราเลือกได้ตามนโยบายการลงทุนที่ต้องการ

การทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพยแม้ว่าผลตอบแทนที่แท้จริงจากการทำประกันชีวิตจะไม่มากมายนัก
แต่การทำประกันชีวิตแบบระยะยาว มีข้อดีก็คือ สร้างวินัยทางการเงินให้เราได้ มีให้เลือกหลายแบบ มีวงเงินคุ้มครองกรณีเสียชีวิต และยังได้ประโยชน์ในทางภาษีด้วย
คุณจะมีแหล่งเงินได้จากไหนบ้างสำหรับการเกษียณอายุ?
เคล็ด (ไม่) ลับ... สู่การเกษียณอย่างมั่งคั่ง
การมีอิสรภาพทางการเงินในขณะที่ยังมีสุขภาพที่แข็งแรงนั้น นับเป็นชีวิตที่น่าปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจาก
คุณจะมีความมั่นคงทางการเงินจนไม่จำเป็นต้องทำงานหาเงินเพื่อเลี้ยงชีพอีกต่อไป คุณยังมีเวลาทำในสิ่งที่รักหรือ ต้องการ ซึ่งนั่นก็ถือว่าเข้าข่าย “เกษียณ” ได้เช่นกัน แต่การเกษียณอายุก่อน 60 ปี และมีความมั่งคั่งทางการเงินนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย คุณต้องมีการวางแผนทางการเงินที่ดี ลองมาดูเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณมีความมั่งคั่งตอนเกษียณ

เริ่มออมอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ตอนอายุน้อยๆ เพราะยิ่งเราเริ่มต้นออมช้าเท่าไหร่ ภาระในการเก็บออมต่อเดือน
ก็จะยิ่งทวีคูณมากขึ้นเท่านั้น ดีไม่ดีอาจมีเงินไม่พอใช้ตอนเกษียณด้วย
อายุที่เริ่มต้นออม
เงินออมรายเดือน (%ของเงินเดือน)
เริ่มทำงาน - 39 ปี
10% - 15%
40 - 49 ปี
20% - 25%
50 - 54 ปี
45% - 50%
55 - 59 ปี
80% - 85%

รู้จักเลือกลงทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ เช่น กองทุนรวม พันธบัตร หุ้นกู้
หุ้นสามัญ ฯลฯ โดยคำนึงถึงผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ฉลาดซื้อ รู้จักเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่จำเป็น คุ้มค่า และคุ้มประโยชน์ใช้งาน
ฉลาดใช้ รู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด รักษาสิ่งของต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะกับการใช้งานได้นานๆ
รวมถึงการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม สุขกาย สุขใจ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยอีกด้วย
นอกจากนี้แล้วคุณยังมีวิธีอื่นๆ อีกหรือไม่?
ออม/ลงทุนตั้งแต่วันนี้... เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะมีเงินเก็บไว้ใช้มากพอในวัยเกษียณ
คุณเชื่อหรือไม่... การออมและการลงทุนตั้งแต่วันนี้ จะช่วยให้คุณมีเงินก็บมากพอไว้ใช้ในวัยเกษียณ
ลองไปดูตารางข้างล่างนี้กัน

หากคุณมีเงินเก็บอยู่ 1 ล้านบาท คุณมีความจำเป็นต้องทยอยนำเงินเก็บก้อนนี้ออกมาใช้ประมาณ 10% ต่อปี
เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตภายหลังเกษียณอายุ โดยคุณไม่มีการออม/ลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนเพิ่มเติมใดๆ
นั่นหมายความว่า คุณจะต้องทยอยนำเงินออกมาใช้ปีละประมาณ 100,000 บาท (10% x 1,000,000)
ซึ่งเงินเก็บ 1 ล้านบาทของคุณ จะถูกนำออกมาใช้จนหมดภายในระยะเวลา 10 ปี (1,000,000 / 100,000)

แต่หากคุณนำเงินไปออม/ลงทุนเพื่อหาดอกผลเพิ่มเติม โดยได้รับผลตอบแทนประมาณ 5% ต่อปี นั่นหมายความว่า คุณจะสามารถยืดระยะเวลาในการใช้เงินออกไปได้อีก 4 ปี (ดูแกนตั้งที่ 5% และแกนนอนที่ 10%) ที่เป็นเช่นนี้... เพราะคุณจะใช้เงินเก็บของตนเองเพียง 5% ส่วนอีก 5% มาจากผลตอบแทนที่คุณได้รับจากการออม/ลงทุน

เห็นอย่างนี้แล้ว... คุณคิดว่าจะเริ่มออมและลงทุนเพื่อเกษียณได้หรือยัง?
ข้อผิดพลาด 5 ประการในการเกษียณที่ควรหลีกเลี่ยง
การไม่ได้วางแผน หลายคนประสบความสำเร็จในการวางแผนว่าจะใช้วันหยุดสุดสัปดาห์อย่างไร
แต่กลับล้มเหลวในการวางแผนการเงินเพื่อเกษียณอายุ ทั้งที่มันมีความสำคัญยิ่งในชีวิต
การหวังพึ่งพาเงินบำนาญ เงินสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินทดแทนสำหรับพนักงานเพียงอย่างเดียว
เป็นกลยุทธ์ที่ไม่ฉลาดเลย เกือบทุกครั้งที่เงินเก็บเหล่านี้ไม่เพียงพอสำหรับใช้ในเวลาเกษียณของคุณ
การลังเลที่จะเริ่มโปรแกรมการเก็บออมเงิน “เวลา” เป็นได้ทั้งมิตรและศัตรูของคุณ ถ้าคุณเริ่ม
เก็บเงินสำหรับการเกษียณตั้งแต่เนิ่นๆ คุณก็จะมีเวลาใช้เงินทำงานให้กับคุณได้มากขึ้น
ดอกเบี้ยทบต้นถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์สิ่งที่ 8 ของโลก จงใช้มันให้เต็มที่ เริ่มเก็บเงินออมทรัพย์รายเดือน
เสียตั้งแต่วันนี้

ความหลากหลายของสินทรัพย์ลงทุนเพื่อการเกษียณ มีความจำเป็นต่อการลดความเสี่ยง
และช่วยรักษามูลค่าทรัพย์สมบัติของคุณ จงจัดการกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนของคุณให้ดี เพื่อบรรลุถึง
เป้าหมายทางการเงินที่คุณต้องการ
คุณล่ะ... มีข้อผิดพลาดข้อไหนบ้าง?
 
 
ที่มา :: http://www.tsi-thailand.org/
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น